Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Career Fact
•
ติดตาม
18 ม.ค. 2021 เวลา 02:08 • ธุรกิจ
ทำไม 90% ของ Startup ไปไม่รอด?
5
ใน 1 ปีมีสตาร์ทอัพเกิดใหม่กว่า 100 ล้านบริษัททั่วโลก แต่มีเพียง 1 ใน 10 บริษัทเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ
9 ใน 10 บริษัททำพลาดตรงไหน? ถ้าอยากทำสตาร์ทอัพบ้างต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ? เรารวบรวมสาเหตุยอดฮิตและวิธีป้องกันไว้ให้ที่นี่แล้ว
4
#ไม่ศึกษาความต้องการของตลาด
7
สาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้สตาร์ทอัพล้มเหลวคือขยันสร้างโปรดักต์เพื่อมาแก้ปัญหาที่ตัวเองคิดว่า ‘น่าสนใจ’ แทนที่จะสร้างมาเพื่อแก้ปัญหาที่ตลาดต้องการ มีสตาร์ทอัพถึง 42% เลยทีเดียวที่ติดกับดักนี้จนไปต่อไม่ได้ในที่สุด
22
ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อโฟกัสแต่สิ่งที่ตัวเองสนใจก็คือ พอเราคิดว่าไอเดียของเราดี เราก็จะกลัวการรับฟังคำติเตียน ไม่กล้ารับฟีดแบคด้านลบ สนใจแต่คำชมจนหลงระเริงไปว่ายังไงธุรกิจนี้ก็ต้องสำเร็จแน่นอน และสุดท้ายก็ตัดสินใจเริ่มเดินหน้าทำไปโดยไม่ได้นึกถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค
16
สถานการณ์ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักจะเป็นแบบนี้
4
ผู้ก่อตั้งนึกไอเดียเจ๋งๆ ออก -> คิดหนทางแก้ปัญหา (ที่ไม่มีใครมองว่าเป็นปัญหาแต่แรก) -> พยายามขายไอเดียนั้น แต่ไม่มีใครซื้อ -> เงินทุนหมด -> สตาร์ทอัพล้มละลาย
19
Steve Blank นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้คิดหลักการ Customer Development หลักการของเขาที่ทำให้สตาร์ทอัพมีอัตราการประสบความสำเร็จสูงขึ้นบอกไว้ว่า
3
1. คุณหาความจริงจากในบริษัทไม่ได้: การจะเดินหน้าพัฒนาโปรดักต์ต่อได้ สิ่งที่ต้องทำคือคุยกับ User และศึกษาความต้องการของคนเหล่านี้ให้มากที่สุด
6
2. ไม่มีธุรกิจอะไรที่สร้างมาเพื่อทำสิ่งที่ ‘มีไว้ก็ดี’: ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จล้วนสร้างสิ่งที่ขจัดปัญหา เรื่องยุ่งยาก และความหงุดหงิดให้ลูกค้า ไม่ใช่อะไรที่มีก็ดี แต่ไม่มีก็ได้
36
3. ต่อให้วางแผนดีแค่ไหน ลงสนามจริงก็ใช้ไม่ได้สักแผน: เพราะงั้นก็ไม่ต้องเสียเวลากับการวางแผนมาก ใช้เวลาเขียนไอเดียที่นึกออกลง Business Canvas สัก 5 นาทีแล้วลองทดสอบเลยว่าเวิร์คไหม
27
#หลุดโฟกัส
5
คุณกำลังทำสิ่งที่คิดว่า ‘ควรทำ’ ไปงั้นๆ โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไปทำไมอยู่หรือเปล่า?
27
ตัวอย่างเช่น เสียเวลาไปกับการ PR บนโซเชี่ยลมีเดียโดยที่ยังไม่แน่ใจว่ากลุ่มเป้าหมายคือคือใคร นัดทานข้าวดื่มกาแฟกับคนที่มีแววว่าจะให้เงินลงทุน หรือมัวคิดฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ลูกค้า
7
ถ้าหากบริษัทยังอยู่ในระยะสตาร์ทอัพ สิ่งที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญก็มีแค่ 2 อย่าง
1. ลูกค้าหรือผู้ใช้งาน (User)
2. โปรดักต์
เพราะปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้ธุรกิจสร้างกำไรได้ก็มาจาก 2 อย่างนี้นั่นล่ะ
9
#ทีมไม่ครบ
7
มีงานวิจัยว่า ยอดผู้ใช้งานของทีมที่บาลานซ์ระหว่างสายเทคฯ และธุรกิจได้ดีจะเติบโตสูงกว่าทีมที่มีคนในทีมเทไปทางสายใดสายหนึ่งถึง 2.9 เท่า แต่น่าเสียดายที่สตาร์ทอัพส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบกรณีหลัง
1
สตาร์ทอัพสายเทคฯ ที่มีแต่คนเก่งด้านเทคโนโลยีก็จะสามารถผลิตโปรดักต์เจ๋งๆ ออกมาได้ แต่ต่อให้โปรดักต์เจ๋งแค่ไหน ถ้าไม่รู้ว่าจะโปรโมตความเจ๋งของมันอย่างไร หรือไม่รู้ว่าจะทำเงินจากมันอย่างไร สุดท้ายเงินทุนก็จะหมดไป การมีทีมที่ประกอบไปด้วยคนเก่งหลายด้านจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสตาร์ทอัพ
6
หากในทีมมีคนไม่ครบ ทางแก้ก็คงไม่พ้นหามาให้ครบอย่างน้อยด้านละ 1 คน
โดยสตาร์ทอัพทั่วไปมักประกอบไปด้วยคน 3 ประเภทคือ คนออกแบบผลิตภัณฑ์ คนทำผลิตภัณฑ์ และคนโปรโมตผลิตภัณฑ์
10
แต่การจะเป็นทีมที่ดีได้ บางครั้งแค่เก่งอย่างเดียวไม่พอ เพราะการเป็นคนเก่งไม่ได้แปลว่าจะทำงานร่วมกันได้ นอกเหนือจากทักษะแล้วสิ่งที่ควรมองหาในตัวคนที่จะมาร่วมทีมคือ ‘ความเชื่อ’ เพราะถ้าไม่เชื่อว่าธุรกิจจะสำเร็จคนเหล่านี้เวลาเจออุปสรรคก็จะอยู่ได้ไม่นาน ทำให้เสียเวลาต้องคอยหาคนใหม่เรื่อยๆ
6
#ขยายตัวตอนไม่พร้อม
2
บริษัทขยายตัวฟังดูเป็นเรื่องดี แต่ปัญหาอยู่ที่ระยะเวลาที่เหมาะสม รายงานจาก Startup Genome ระบุว่า สตาร์ทอัพ 70% ขยายตัว ‘เร็วเกินไป’ เช่น จ้างคนมากเกินจำเป็น ทำการตลาดที่ต้องใช้เงินเยอะ หรือการพยายามขยายฐานลูกค้าทั้งที่กลุ่มเดิมก็ยังไม่แน่นพอ
2
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าสตาร์ทอัพพร้อมขยายกิจการตอนไหน? ลองสำรวจเช็กลิสต์ 3 สัญญาณที่บ่งบอกว่าธุรกิจคุณพร้อมขยายกิจการแล้วก่อนจะตัดสินใจ
3
1. ค่าใช้จ่ายที่ทำให้ได้ลูกค้ารายใหม่มาหนึ่งราย (Customer Acquisition Cost) ต่ำกว่ามูลค่าที่ลูกค้าคนนั้นสร้างให้ธุรกิจตลอดระยะเวลาที่เป็นลูกค้า (Customer Lifetime Value)
5
2. ธุรกิจดำเนินไปตาม Economies of Scale คือยิ่งมีลูกค้าเยอะเท่าไหร่ ต้นทุนการผลิตก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น
3
3. โมเดลธุรกิจเกิดการ ‘ทำซ้ำ’ คือการที่สามารถหาลูกค้าใหม่ได้เรื่อยๆ ด้วยโมเดลธุรกิจเดิม
6
ถึงอัตราของสตาร์ทอัพที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นจะสูงจนน่าใจหาย แต่หากลองสังเกตดีๆ ก็จะพบว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากสาเหตุไม่กี่อย่าง และมักจะเป็นสิ่งที่คนเรามองข้าม แต่ในเมื่อเราเห็นความผิดพลาดของคนอื่นแล้ว สิ่งที่ควรทำจึงไม่ใช่กลัวจนตัดโอกาสในการทำธุรกิจทิ้ง แต่เป็นการเรียนรู้และระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดแบบเดียวกัน
2
“Career Fact เพราะทุกอาชีพมีเรื่องราว”
2
#careerfact
………………
สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ ต่อได้ที่ Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว (อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเท้นท์ดีๆ)
2
Subscribe Career Fact -
https://bit.ly/CareerFactYT
Facebook -
https://bit.ly/CareerFactFB
Blockdit -
https://bit.ly/CareerFactBD
อ้างอิง
https://bit.ly/3mylrGJ
https://bit.ly/2Wu0lP2
https://bit.ly/38bMu5w
https://bit.ly/2WrKUa9
503 บันทึก
554
18
674
503
554
18
674
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย