Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
น้องสาว
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2021 เวลา 03:01 • ไลฟ์สไตล์
ผู้หญิงบางคนไม่มีจิ๋ม และคนมีจิ๋มบางคนก็ไม่ใช่ผู้หญิง
ในการเขียนบทความเล่าเรื่องเพศแบบนี้ เรื่องนึงที่สำคัญมาก ๆ และต้องพูดถึงก็คือ ‘ความหลากหลายทางเพศ’
เพราะโลกใบนี้ไม่ได้มีแค่ชายกับหญิงนะ การเข้าใจเรื่องนี้จะทำให้เข้าใจเพื่อนมนุษย์มากขึ้น เลยอยากให้เปิดใจมาเรียนรู้กัน
ก่อนอื่น ขอบอกว่าเรื่องนี้มันมีคำยิบย่อยอยู่เยอะมาก ๆ แต่อยากแนะนำว่า อย่าไปยึดติดกับ ‘คำ’ จนเกินไป
2
เราจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่าย ๆ แต่อาจจะไม่ได้แตะในทุกคำและทุกเรื่องที่เป็นประเด็นทางสังคมและสุขภาพนะคะ โดยที่จะเล่าแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ปูพื้นฐาน และตัวอย่าง
ขอเริ่มปูพื้นฐานก่อนว่า เพศมันมี 4 มิติ อันได้แก่
▫️เพศกำเนิด
▫️อัตลักษณ์ทางเพศ
▫️การแสดงออกทางเพศ
▫️รสนิยมทางเพศ
ไม่ต้องจำ ‘คำ’ ก็ได้ แค่อยากให้เข้าใจว่าทั้ง 4 เรื่องนี้ มันไม่เกี่ยวข้องกัน อย่าเอามาโยงกันมั่ว
ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันทีละมิติกันเลย ระหว่างอ่านก็ลองทำความเข้าใจแต่ละมิติของตัวเองดู จะดูรูปประกอบไปด้วยก็ได้นะ
“เพศกำเนิด – หมอบอกเป็นเพศอะไร”
เพศกำเนิดคือเพศที่โดนระบุแต่กำเนิด โดยมักจะเป็นหมอที่ระบุว่าเพศอะไร ผ่านการมองอวัยวะเพศภายนอก
หน้าตาเหมือนจู๋ก็บอกผู้ชาย หน้าตาเหมือนจิ๋มก็บอกผู้หญิง หน้าตาที่ดูเป็นทั้งจู๋และจิ๋มก็เรียกว่าอินเตอร์เซ็กซ์ (Intersex)
แต่คนไทยมักไม่ค่อยรู้จัก Intersex กัน เพราะไม่มีช่อง Intersex ให้เลือกตอนแรกเกิด ซึ่งเรื่องนี้ควรแก้ไขอย่างมาก
“อัตลักษณ์ทางเพศ – เราเป็นเพศอะไร”
ในมิตินี้คือ เรารู้สึกว่าเป็นเพศอะไร ให้หลับตาแล้วคิดเลย โดยไม่ขึ้นกับอวัยวะเพศ หรือการแต่งตัวเลยนะ
ให้สมมติว่า ตัวเองเหลือแต่หัว ไม่มีนม ไม่มีจิ๋ม ไม่มีมดลูก ไม่มีรังไข่ ไม่ได้ผมยาว ไม่ได้แต่งหน้า ใบสูติบัตรก็โดนไฟไหม้หายไป
2
คำถามคือ แล้วตัวเรายังรู้สึกว่าเราเป็นเพศอะไร?
อัตลักษณ์ทางเพศก็คือเพศที่เรารู้สึกนั่นแหละ
คำตอบอาจจะรู้สึกว่าเป็นหญิง เป็น queer เป็น non-binary เป็นอะไรอื่น ๆ ก็แล้วแต่เลย
ข้อสำคัญคือ เป็นเพศที่เรารู้สึก ไม่ใช่คนอื่นรู้สึก
“รสนิยมทางเพศ – เราชอบอะไร”
มิตินี้คือเราชอบอะไร คนไหน เพศไหน แล้วแต่ใจเราชอบเลย โดยไม่ได้ขึ้นกับมิติไหนเลย แล้วแต่ใจเราชอบ
เช่น ชอบผู้ชาย ชอบแมน ๆ
ชอบผู้หญิง ชอบหวาน ๆ
ชอบทั้งหญิงและชาย
ชอบเฉพาะผู้หญิงที่ดูแมน
ชอบหมดทุกเพศเลย
ไม่ชอบเพศไหนเลย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเป็นรสนิยมทั้งหมด
ไม่ได้เป็นความผิดปกติอะไร
บางคนรสนิยมในเรื่องความรักกับเซ็กซ์ไม่เหมือนกันด้วย เช่น ชั้นชอบผู้หญิง แต่ก็มีเซ็กซ์ได้กับทั้งชายและหญิง อันนี้ก็เป็นปกติ
ไม่ต้องไปหานิยามหรอกว่า ตัวเองจะเป็น เลสเบี้ยน เป็นไบ เป็นอะไร
และเรื่องนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการนอกใจ หรือนอกกายนะจ๊ะ
คนชอบได้หลายเพศ ไม่ได้แปลว่าจะหลายใจจ้ะ
“การแสดงออกทางเพศ – สิ่งที่คนอื่นเห็น”
มิตินี้คือสิ่งที่คนอื่นมองเห็น เช่น การแต่งตัว ท่าทาง คำพูด
โดยมิตินี้มักจะโดนคนอื่นไปเหมารวมเอาเองว่า
“เราเป็นเพศอะไร” และ “เราชอบใคร”
ซึ่งมันไม่เกี่ยวกัน!
เช่น ผู้หญิงที่ห้าว ๆ ลุย ๆ ใส่กางเกง ก็มักจะถูกเข้าใจว่า เป็นเพศทอมและชอบผู้หญิงแน่ ๆ
จึงขอย้ำอีกทีว่า ทั้ง 4 มิติมันไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยจ้ะ
ตามที่ได้เปรยไว้ต้นบทความว่า “ผู้หญิงบางคนไม่มีจิ๋ม และคนมีจิ๋มบางคนก็ไม่ใช่ผู้หญิง” จะมาเล่าให้เข้าใจมากขึ้น โดยยกตัวอย่างให้ฟังเป็นเรื่อง ๆ ไปนะ
“ผู้หญิงบางคนไม่มีจิ๋ม”
เรารู้สึกว่าตัวเองเป็นเพศหญิง แต่เราอาจจะไม่ได้มีจิ๋มก็ได้ เช่น
1. คนที่โดนน้ำร้อนลวกตรงจิ๋ม จิ๋มหายไป แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้หญิงอยู่ หรือ
2. ผู้หญิงบางคนเกิดมาในร่างของเพศชาย มักเรียกกันว่า ‘หญิงข้ามเพศ’ เค้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้หญิง หรือเป็นหญิงข้ามเพศ หรือเป็นเพศไหน ก็เรื่องของเค้า
1
เรามีหน้าที่แค่เปิดใจยอมรับว่าเค้าเป็นเพศนั้นตามที่เค้านิยามก็พอ
อย่างที่บอก “เป็นเพศอะไร เป็นเรื่องที่เจ้าตัวระบุ คนอื่นไม่เกี่ยว”
2
“คนมีจิ๋มบางคนก็ไม่ใช่ผู้หญิง”
บางคนที่เกิดมาในร่างกายที่มีจิ๋ม แต่เค้าก็อาจจะไม่ได้นิยามว่าตัวเองเป็นผู้หญิงก็ได้
อาจจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชาย เป็น queer เป็น non-binary จะเรียกว่าเป็นอะไรก็เรื่องของเค้า ไม่ต้องไปเถียงเค้า
ถ้าอยากรู้ก็ถามว่าเค้านิยามว่าตัวเองเป็นเพศอะไร ซึ่งบางคนอาจจะไม่นิยามเลยก็มีเหมือนกัน
1
“คำว่า ทอม บอกอะไรบ้าง”
ไม่มีใครเขียนนิยาม ‘ทอม’ ไว้อย่างเป็นสากลว่าคืออะไร
เป็นอัตลักษณ์ทางเพศ?
เป็นการแสดงออกทางเพศ?
หรือรสนิยม?
มันเป็นคำที่ผสม ๆ กันแล้วแต่คนจะปรุง
1
บางคนที่นิยามว่าตัวเองเป็นทอม อาจจะเป็นผู้หญิงที่ดูห้าวและมีรสนิยมที่ชอบผู้หญิง
แต่บางคนก็นิยามต่างออกไป ซึ่งใครจะนิยามตัวเอง จะเรียกตัวเองว่ายังไงนั้น ไม่ค่อยเกิดปัญหา
แต่คำว่า ‘ทอม’ มักจะถูก 'คนอื่น' เอาไปเรียกแทนน่ะสิ และไปใช้เหมารวมจากการแสดงออกทางเพศ
เช่นเห็นผู้หญิงที่ดูห้าว ๆ ผมสั้น ก็ไปเรียกเค้าว่าทอม
ซึ่งจริง ๆ ผู้หญิงที่ดูห้าว ๆ ผมสั้นทุกคน อาจไม่ได้นิยามตัวเองว่าเป็นทอมก็ได้
ตัวเค้าเองอาจจะเรียกว่าตัวเองเป็นผู้หญิง
เป็นเลส หรือเป็นชายข้ามเพศก็ได้
1
และบางที 'คนอื่น' ก็จะเอาไปเหมารวมต่ออีก ว่าต้องมีรสนิยมชอบผู้หญิงแน่ ๆ ซึ่งมันไม่เกี่ยวกันเลยนะ
เค้าอาจจะชอบผู้ชายก็ได้
อาจจะชอบเกย์
หรือชอบผู้หญิงข้ามเพศก็ได้
เค้าจะเรียกตัวเองว่าอะไร ชอบอะไร มันก็แล้วแต่เค้า เราอย่ายุ่งเลย
1
สรุปกันอีกที เราจะรู้สึกเป็นเพศอะไร และเราจะชอบแบบไหน เป็นเรื่องของกู เอ้ย! เป็นเรื่องของเรา ไม่เกี่ยวกับเพศที่หมอบอก และไม่เกี่ยวกับลักษณะภายนอกที่คนอื่นเห็น
1
เค้าจะเป็นแบบไหนก็เรื่องของเค้า อย่าไปยุ่งเลย แค่ยอมรับความแตกต่างของมนุษย์ด้านนึงเท่านั้นเอง
เพราะเรื่องเพศมันก็เป็นเพียงแค่มิติหนึ่งของชีวิตมนุษย์
คนเราแตกต่างกันในตั้งหลายมิติ
1
ขอแค่เปิดใจยอมรับในความหลากหลายของกันและกันก็พอ
*ภาพประกอบ ดัดแปลงจาก Gender Unicorn และ Gender Bread
9 บันทึก
19
10
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความหลากหลายทางเพศ
9
19
10
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย