Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดร.ธีร์รัฐ บุนนาค
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2021 เวลา 05:53 • ครอบครัว & เด็ก
#คำขวัญวันเด็ก 2562 (เด็กแท่งแก้ว) repost
“รักวัวให้ผูก..รักลูกให้ตี”
สุภาษิตโบราณ ถูกต้องแล้ว .. รักลูกให้ตี..ไม่ล้าสมัยนะครับ..
นี่ไม่ได้ส่งเสริมให้ตีลูก หรือส่งเสริมการคุ้มครองเด็กด้วยการไม่ตีนะ..
ตี หรือไม่ตีเด็ก.. ไม่ใช่เรื่องสำคัญ..
แต่การเป็นพ่อแม่ที่ดีได้ ก่อนอื่นนั้น ต้องมีความรักความเมตตาลูกเป็นหลัก..
เมื่อมีความรักแล้ว.. เขาจะตีหรือไม่ตี.. ก็เป็นเรื่องภายในครอบครัวเขา และไม่ใช่ปัญหาของเราอีกต่อไป..
ไม่ใช่ปัญหาของรัฐที่จะยื่นมือเข้าไปยุ่งเกี่ยว..
ลูกทำตัวดี.. พ่อแม่ก็ไม่ตี.. ลูกทำตัวไม่ดี ถึงระดับที่ต้องทำโทษเพื่ออบรมให้เป็นคนดี ..
การตี ด้วยความหวังดี.. ก็อาจเป็นขั้นตอนที่เหมาะสมในการอบรมเลี้ยงดูลูกภายในครอบครัวเขาก็ได้..
พ่อแม่ที่ดี ย่อมมีวิจารณญาณในการเลือกวิธีอบรมสั่งสอนลูกของตัวเองได้ว่า ควรจะใช้วิธีใด..
เพราะพระอรหันต์ ทำอะไรก็ไม่ผิด และไม่มีโทษ..เนื่องจากมีเจตนาบริสุทธิ์..
พ่อแม่ที่ดี เปรียบดั่งพระอรหันต์ของลูก.. ในอดีตการตีลูกเพื่ออบรมสั่งสอน.. จึงไม่มีความผิดทางอาญาเช่นเดียวกัน..
โบราณ เห็นว่า พ่อแม่หลายคนรักลูกมากจนไม่กล้าตี.. จึงสอนให้อบรม สั่งสอน และลงโทษลูกบ้าง.. เพื่อต่อไป ลูกจะได้ไม่สร้างปัญหาให้แก่สังคม..
ผมจึงว่า โบราณนั้น สอนถูกแล้ว..
พ่อแม่ ที่ไม่มีความเมตตา หรือไม่รักลูก.. ไม่อบรมลูก..
ก็คงไม่ตีลูกเพื่ออบรม..
นั่นคือ การปล่อยปละละเลย.. ทำให้เด็กไม่เรียนรู้กฎกติกาของสังคม..
พ่อแม่เหล่านั้น หากจะตี.. ก็คงไม่ได้ตีด้วยความรัก..
แต่ตีด้วยโทสะ..ด้วยความโกรธแค้น.. ด้วยความไม่พึงพอใจ .. ด้วยการประชดประชัน.. เพื่อระบายอารมณ์ร้ายในใจ..
ไม่ใช่ด้วยความรัก..
พ่อแม่แบบหลังนี่แหละ.. ที่ทำลายคำสุภาษิตพังเพยข้างต้น..
เพราะเขาตีด้วยความมีอกุศลในใจ.. จึงไม่สมควรเรียกว่า.. เป็นพระอรหันต์ของลูก..
การตีแบบนี้.. เป็นการทำร้ายเด็ก ไม่ใช่อบรมสั่งสอน..
รัฐจึงต้องเข้ามาแทรกแซงความสัมพันธ์ในครอบครัว.. ด้วยการกำหนดกฎหมายบังคับ.. ห้ามมิให้ทำร้ายเด็ก..ห้ามคุณครูตีเด็ก..
ข้อดีคือ.. เรามีกฎหมายคุ้มครองเด็ก. เอาไว้ใช้กับคุณครูบางคนที่ไม่ใช่ปูชนียบุคคล..
เรามีกฎหมายคุ้มครองเด็ก เอาไว้ลงโทษพ่อแม่บางคนที่ไม่สมควรเป็นพระอรหันต์ของลูก..
แต่ข้อเสียคือ.. เราออกกฎหมายโดยไม่คำถึงถึงคำโบราณ.. ไม่คำนึงถึงพ่อแม่ที่เป็นพระอรหันต์ของลูก.. ไม่คิดถึงคุณครูที่เป็นปูชนียบุคคล..
ที่ยังต้องอบรมสั่งสอนและลงโทษเด็กบางคน.. ด้วยการตี..
ผมเคยเห็นโปสเตอร์ติดในรถเมล์ที่ต่างประเทศ เพื่อรณรงค์การไม่ใช้ความรุนแรงกับเด็กว่า..
“Word hits as hard as fist.” หมายความว่า แม้ไม่ได้ลงมือลงไม้.. แต่การทำร้ายด้วยคำพูดนั้น ก็มีผลรุนแรงได้ไม่แพ้กัน..
โปสเตอร์แบบนี้ เขาเอาไว้ปราม.. เอาไว้ห้าม.. พ่อแม่ หรือคุณครูที่ไม่ดี.. ที่มีเจตนาทำร้ายเด็ก ระบายอารมณ์..โดยอ้างว่าเป็นการอบรมสั่งสอน..
พ่อแม่และคุณครูแบบนี้ เรียกได้ว่า เป็นข้อยกเว้นของพ่อแม่และคุณครูทั่วไปที่มีความรักลูก มีความเมตตาต่อศิษย์เป็นพื้นฐาน..
จงอย่าเอาข้อยกเว้น..มาใช้กับหลักทั่วไป..
ถ้าเป็นน้ำ.. ไม่ต้องทำอะไรเลย.. ใส่ไปในภาชนะใด เขาเป็นแบบนั้น.. อบรมสั่งสอนอะไร สิ่งแวดล้อมเป็นแบบใด.. เขาเป็นแบบนั้น..
ถ้าเป็นไม้อ่อน.. เราดัดได้ ด้วยมือ.. ด้วยความอ่อนโยน..ด้วยคำพูดจาที่นุ่มนวล.. ใช้เหตุใช้ผล.. ชี้ข้อดี ให้เห็นข้อเสียได้เลย..
ถ้าเป็นแท่งแก้ว.. เราดัดด้วยความอ่อนโยน.. ด้วยความนุ่มนวลไม่ได้.. ถ้าฝืนดัดด้วยมือ..มันจะหัก..
เด็กที่มีบุคลิกลักษณะแบบแท่งแก้ว.. เราดัดด้วยความอ่อนโยนไม่ได้..
เราต้องใช้ไฟ.. ต้องใช้ความร้อนเพื่อหลอมละลาย.. แล้วค่อยเป่า ค่อยดัด..
วิธีการอบรมสั่งสอนเด็ก จึงมีรูปแบบวิธีที่แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน..
ในโลกนี้.. ไม่มีตำราสอนการอบรมสั่งสอน ..ไม่มีรูปแบบหรือวิธีการอย่างเดียวที่สามารถใช้กับเด็กได้ผลเหมือนกันทุกคน..
“ไม้อ่อน”.. ที่ถูกดัดด้วยความรุนแรง.. มันหักได้..
เช่นเดียวกับ “แท่งแก้ว”.. ถ้าดัดด้วยความอ่อนโยน มันก็ไม่ได้ผล..
วิธีการอบรมและลงโทษที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะของเด็กต่างหากที่เราควรให้ความสำคัญ.. มากกว่า มาคิดว่า..
“ควรตี หรือไม่ควรตีเด็ก”
เด็กที่ไม่ได้รับการอบรม.. หรือได้รับการสั่งสอนที่ผิดวิธีเหล่านี้แหละ..
คือ ผู้กระทำความผิดในอนาคต..
ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยที่ไม่ได้รับการลงโทษอย่างเหมาะสมกับลักษณะของเขานี้เเหละ..
คือ อาชญากรร้ายแรงในอนาคต..
ขอฝากข้อคิดในวันเด็กว่า..
“ทุกวันนี้ เรารักเด็กมั้ย.. เราเมตตาต่อเขามั้ย.. เราอบรมเด็กเพื่อการสั่งสอน.. เราลงโทษเขาด้วยวิธีการที่เหมือนๆกันมั้ย.. ลองคิดดู..
ทุกวันนี้ เรามีความเมตตาและความเข้าใจจำเลยที่กระทำผิดมั้ย.. เราจำแนกมั้ยว่า เขาเป็นผู้ก้าวพลาด.. หรือเป็นผู้กระทำผิดติดนิสัย.. เราดูสาเหตุแท้จริงที่เขาเลือกที่จะทำผิดมั้ย..
เราลงโทษเขาด้วยความสะใจ.. หรือด้วยเจตนาให้เขาสำนึกผิด..
และเราลงโทษจำเลยที่ทำผิด.. ด้วยการใช้ “คุก” เหมือนกันหมด โดยไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกับเขาและวิธีการใช้ชีวิตของเขามั้ย..
ลองคิดดู..
แล้วคิดลองต่อไปว่า.. ถ้าเราไม่เปลี่ยนความคิด.. ยังไม่แก้ไขกฎหมายให้เหมาะสม..ยังอบรมเด็กด้วยแนวคิดที่ใช้ในปัจจุบัน..และยังลงโทษคนทำผิดด้วยวิธีแบบเดิมๆ..
ในอนาคต.. สถิติการกระทำผิดและอาชญากรของเรา.. จะลดลงหรือจะเพิ่มขึ้น..
คงไม่เครียดเกินไปนะครับ..
เป้าหมายที่แท้จริงของศาลเยาวชนฯ จึงไม่ใช่การบำบัดฟื้นฟู แทนการลงโทษอย่างเดียว..
แต่ต้องเลือกใช้วิธีการปฎิบัติ และแก้ไขฟื้นฟูให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน..
นั่นคือ ไม่ใช่ใช้วิธีการละมุนละม่อม จูงใจ แบบอ่อนโยนต่อเด็กทุกคนเหมือนกัน..
ต้องดูว่าเขาเป็นเด็กที่เป็นน้ำ.. เป็นขี้ผึ้ง.. เป็นไม้.. เป็นแท่งแก้ว.. หรือว่าเป็นเหล็ก..
แล้วเลือกใช้วิธีการปฎิบัติและลงโทษ ที่เหมาะสมกับเขา ที่ไม่ละเมิดสิทธิเด็กจนเกินไป.. โดยมีเป้าหมายหลักคือ ให้เขาได้สำนึกในความผิด และให้กลับเป็นคนดีของสังคมให้ได้..
สุดท้าย ขอฝาก คำขวัญวันเด็ก..ที่ใช้ได้ทุกปี ตลอดไป..
“เด็กดีในวันนี้.. คือสังคมที่ดีในวันหน้า..
เด็กไม่ดีในวันนี้.. (ถ้าเราแก้ไขเขาไม่ได้) .. คือ สังคมที่อุดมไปด้วยอาชญากรในวันข้างหน้า..”
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย