Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าหลังพวงมาลัย
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2021 เวลา 06:59 • ไลฟ์สไตล์
'ต้องพอดี...'
ตอนที่ 1
วันเสาร์ที่ 2 เดือน มกราคม พุทธศักราช 2564
เวลา 10.56 น.
ผู้โดยสารแจ้งมาทางกล่องข้อความ ถึงคนที่จะขึ้นรถเป็นผู้ชายซึ่งระบุว่ายืนรอใต้อาคารคอนโดแล้ว
ทันทีที่ผมเลี้ยวเข้าตึก ก็เห็นผู้ชายผมสีขาวกำลังยืนรออยู่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยช่วยพยุงชายสูงวัยนี้มาขึ้นรถ
"ใช่ๆ...คันนี้แหละลูกสาวบอกมา" ชายสูงวัยเอ่ยต่อยามคนนั้น
ประตูรถถูกเปิดออกจากด้านหลัง
"สวัสดีครับ ไปโรงพยาบาลยันฮีนะครับ" ผมเอ่ยถามผู้โดยสารเพื่อเป็นการทวนเป้าหมาย
"ใช่ครับ"
ขณะที่ผมกำลังจะมุ่งหน้าออกจากคอนโดมิเนียม
"ไปตรวจสุขภาพเหรอครับ"
"ผมไปเช็คกระดูกครับ ตกบันไดจากชั้นสอง"
ผมนิ่งไม่พูดอะไร ในใจครุ่นคิด จะคุยต่อยังไงดี
เรื่องที่เกี่ยวกับข้อบกพร่องทางร่างกาย มันละเอียดอ่อนมากๆ...แล้วเสียงจากเบาะหลังก็ดังขึ้น
2
"ผมเป็นโรคกระดูกพรุน ล้มนิดๆหน่อยๆก็หัก"
ผู้โดยสารเปิดฉากแบบนี้ผมไม่รอช้าครับ แสดงว่าเค้าอยากแชร์ให้ฟัง
"กระดูกพรุนเกิดจากสาเหตุอะไรครับ" ผมยิงคำถามต่อในทันทีที่ประโยคนั้นสิ้นสุดลง
"ผมดื่มกาแฟครั้งละ 5 ช้อนชาไม่ใส่ครีมและน่ำตาล มันหอมมาก" ประโยคที่ผู้โดยสารตอบผม
คืองี้..สรุปใจความสนทนาได้ความว่า
ชายสูงวัยคนนี้ อายุ 60 ปี แกเป็นเซลล์ขายยา ชีวิตวัยทำงานต้องขับรถตะลุยหาลูกค้าต่างจังหวัด นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการดื่มกาแฟเพื่อให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา แต่แกเล่นดื่มกาแฟในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ คือ แกจะใส่กาแฟ 5 ช้อนชาพูนๆ ต่อการดื่มครั้งเดียวในหนึ่งแก้ว
แกเล่าว่า เริ่มดื่มแบบนี้ตอนอายุ 24 ปี จนกระทั่งอายุ 58 ปี เกิดหกล้ม ทำให้แขนหัก พอไปตรวจร่างกายจึงรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
เหตุการณ์นี้เป็นอีกครั้งที่เตือนร่างกายว่ากระดูกเริ่มเปราะแล้ว
อีกครั้งกับการสนับสนุนว่ากระดูกแกพรุนจริงๆ
คือ แกกัดลูกแอปเปิ้ล เจ้ากรรมกระดูกหักกระเด็นในตอนนั้นเลย! ลูกๆเลยให้ถอนฟันหมดทั้งปากแล้วใส่ฟันปลอมแทน
สาเหตุที่ทำให้แกเป็นโรคกระดูกพรุน
ผมขอนำข้อมูลจากโรงพยาบาลมาให้อ่านครับ
การรับประทานอาหาร ถ้าได้รับเกลือมากกว่า 1 ช้อนชา/วัน ชา กาแฟมากกว่า 3 แก้ว/วัน น้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋อง/สัปดาห์ และทานโปรตีนมากกว่า 10 – 15% ในแต่ละมื้อของอาหาร มีความเสี่ยงกระดูกพรุนสูง เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ส่วนอาหารเค็มจัดและคาเฟอีนยังทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากขึ้นอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
WEB : โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่มองไม่เห็น | Bangkok International Hospital
หลังจากกาแฟจบลง เนื้อหาใหม่ที่เกี่ยวกับน้ำตาลก็ตามมาติดๆ
แต่ทำไม!...กลับเป็นหนังคนละม้วน
📍ขอคั่นกลางสักนิด
รบกวนแสดงความเห็นทีครับว่าเรื่องนี้เหมาะสมนำลงตีพิมพ์ได้มั๊ยครับ
ถ้าได้ให้พิมพ์ว่า 'ได้'
ถ้าไม่ได้ช่วย คอมเม้นท์จุดบกพร่องแทนคำว่า 'ไม่ได้'
ขอบพระคุณอย่างสูง📍
โปรดติดตามตอนต่อไป
บันทึก
5
2
5
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย