Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Climate Change Talk
•
ติดตาม
18 ม.ค. 2021 เวลา 00:30 • สิ่งแวดล้อม
Net zero emissions กับ ทิศทางการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
สิ้นสุดกันไปแล้วในปี ค.ศ. 2020 กับช่วงระยะเวลาของการดำเนินงานตามเป้าหมาย “การดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action) หรือที่เรียกกันติดปากว่า NAMA” #ไม่ใช่ MAMA
การดำเนินงานลดก๊าซฯ รอบใหม่ของประเทศไทย จะเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 2021 นี้ และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2030 เป็นระยะเวลา 10 ปี ภายใต้ “เป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution) หรือ NDC”
แน่นอนว่า การดำเนินงานและเป้าหมายการลดก๊าซฯ ของประเทศไทยที่ต่อเนื่องกันนี้ ยังคงมุ่งเน้นไปที่ภาคพลังงานเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซฯ มากกว่าร้อยละ 70 ของระดับการปล่อยก๊าซฯ ภายในประเทศ
ประเทศไทยคงหนีไม่พ้นกระแสของโลก ในการที่จะเพิ่มความพยายามลดก๊าซฯ ให้ได้มากยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้น ก็คงไม่ได้น่าแปลกใจมากนัก ถ้าในช่วงเวลานี้จะได้ยินคำว่า “ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” หรือ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Emissions)” บ่อยมากขึ้น
แต่การดำเนินงานเพื่อที่จะสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญตามระบบธรรมชาติ
Net-zero Emissions เป้าหมายใหม่ที่จะเพิ่มความมุ่งมั่นและความพยายามในการต่อสู้กับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาคมโลก ประเทศสวีเดนเป็นประเทศแรกที่มีการกำหนดให้ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” ภายในปี ค.ศ. 2045 เป็นเป้าหมายตามกฎหมาย ตามมาด้วย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ฮังการี จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ที่มีเป้าหมายของ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” ภายในปี ค.ศ. 2050
เป็นความน่าสนใจอีกไม่น้อยเหมือนกันเมื่อได้รับทราบข้อมูลว่า “ภูฏาน” ประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ และ “ซูรินาม” ประเทศในแถบอเมริกาใต้ เป็นสองประเทศที่มี “การดูดกลับ” มากกว่า “การปล่อย” ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นประเทศที่มี “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” แล้ว แต่นั่นอาจไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจสำหรับคนที่เคยไปเยือนสองประเทศนี้มาแล้ว เนื่องจากประเทศทั้งสองยังคงมีธรรมชาติและป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก
ธรรมชาติที่ยังคงสมบูรณ์ในประเทศภูฏานและซูรินาม
ก็คงเป็นคำถามสำหรับใครหลาย ๆ คนอยู่ในใจเหมือนกันว่า “เป้าหมายการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยจากนี้จะเป็นอย่างไร” ในเมื่อกระแสของโลกก้าวไปถึงจุดที่จะเข้าสู่ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” กันแล้ว ประเทศไทยจะเพิ่มความท้าทายมากขึ้นไหม... แล้วเราล่ะ พร้อมหรือยังที่จะก้าวไปสุ่จุดนั้น?
#ClimateChangeTalk #ThailandClimateChange #Mitigation #ClimateTechnology
.
บทความโดย CC Talk team
.
ที่มา
1.NS Energy,
https://www.nsenergybusiness.com/news/countries-net-zero-emissions/
2. ขอบคุณภาพจาก My Faces + Places,
https://myfacesandplaces.co.uk/bhutan-beautiful/
3. ขอบคุณภาพจาก Lonely planet,
https://www.lonelyplanet.com/the-guianas/suriname
4. ขอบคุณภาพจาก The Borgen Project,
https://borgenproject.org/why-is-suriname-poor/
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย