12 ม.ค. 2021 เวลา 11:30 • เพลง & ซีรีส์ เกาหลี
กรณีศึกษา การบริหารงานของ JYP ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของเกาหลี
เมื่อไม่กี่วันก่อน ถ้าพูดถึงข่าวฮิตติดเทรนด์ในโลกโซเชียล
หนึ่งในนั้นจะต้องมีเรื่องที่ สมาชิกวง GOT7 ทุกคน
ตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้อย่าง JYP Entertainment
2
ทั้งๆ ที่การเป็นศิลปินอยู่ในค่ายดัง น่าจะเป็นความใฝ่ฝัน
และเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องฝ่าฟันกว่าจะก้าวขึ้นไปถึงจุดนั้นได้
เรามาทำความรู้จักกับ JYP ค่ายเพลงรายใหญ่ของเกาหลี
และมาลองดูกันว่า ทำไมในขณะที่คนนอกอยากเข้า คนในจึงอยากออกกัน?
ลงทุนเกิร์ลจะวิเคราะห์ให้ฟังค่ะ
4
ถ้าวัดจากมูลค่าของบริษัท ปัจจุบัน JYP Entertainment จะเป็นค่ายเพลงที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นรองเพียง Big Hit Entertainment ต้นสังกัดของวง BTS เท่านั้น
JYP ก่อตั้งในปี 1997 โดยปาร์ก จินยอง ที่เคยผ่านงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของวงการเพลง จนสามารถผันตัวขึ้นมามีค่ายเพลงเป็นของตัวเอง
1
ซึ่งที่ผ่านมา JYP ก็ได้ปั้นนักร้องชื่อดังหลายคน ที่โด่งดังไปทั่วโลก
ไม่ว่าจะเป็นนักร้องรุ่นใหญ่อย่าง Rain, Wonder Girls, Miss A และ 2PM ที่มีสมาชิกชาวไทยอย่างนิชคุณ
หรือถ้าสมัยใหม่ขึ้นมาหน่อย ก็มี GOT7, TWICE, Day6, รวมถึงวงน้องใหม่อย่าง Stray Kids และ ITZY
8
และถ้าดูในส่วนของผลประกอบการบริษัท JYP Entertainment
2
ปี 2017 มีรายได้ 2,804 ล้านบาท กำไร 444 ล้านบาท
ปี 2018 มีรายได้ 3,424 ล้านบาท กำไร 654 ล้านบาท
ปี 2019 มีรายได้ 4,264 ล้านบาท กำไร 859 ล้านบาท
จากตัวเลขเหล่านี้ เรียกได้ว่าบริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นทุกปี
3
แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับมีศิลปินหลายคนที่ตัดสินใจเดินออกจากค่ายหลังหมดสัญญา
อย่างเช่น นักแสดงหญิงซูจี แทคยอนวง 2PM ปาร์ก จีมิน และซอนมี Wonder Girls ที่อยู่ตั้งแต่รุ่นยุคบุกเบิกบริษัท
รวมถึงกรณีล่าสุด ก็คือ GOT7 ที่สมาชิกทั้ง 7 คน เลือกไม่ต่อสัญญากับทางค่าย
ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าจะมีส่วนทำให้ราคาหุ้นของบริษัทลดลง 4.23% ในวันต่อมา
คิดเป็นมูลค่าบริษัทที่หายไปเพียงวันเดียวถึง 1,557 ล้านบาท
สาเหตุของเรื่องนี้เป็นเพราะ แม้วง GOT7 จะไม่ได้อยู่กับค่าย JYP มาตั้งแต่ยุคบุกเบิก
แต่ก็เป็นวงที่สามารถเพิ่มฐานแฟนคลับชาวต่างชาติให้กับบริษัทได้เป็นอย่างดี
1
เนื่องจากมีสมาชิกวง 3 คนจาก 7 คน ที่เป็นชาวต่างชาติ
คือ แจ็คสันที่เป็นคนฮ่องกง แบมแบมที่เป็นคนไทย และมาร์ก ที่มีสัญชาติไต้หวัน-อเมริกัน
ประกอบกับสมาชิกคนอื่น ก็มีคนที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
จึงช่วยให้แฟนคลับในต่างประเทศ เข้าถึงตัวศิลปินได้ง่ายขึ้น
1
ถ้านับจนถึงปัจจุบัน วง GOT7 เดบิวต์มาเป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้ว
ซึ่งตอนออกอัลบั้มล่าสุดที่ชื่อว่า “Breath of Love: Last Piece”
ก็มีรายงานออกมาว่า ขายหมดตั้งแต่ตอนยังไม่ได้วางจำหน่ายอย่างจริงจังด้วยซ้ำ
2
เรื่องนี้เราอาจมองว่า เป็นเสียงตอบรับที่ดีของแฟนคลับ
แต่ในอีกมุมหนึ่งกลับเป็นเพราะ บริษัทผลิตอัลบั้มในปริมาณที่น้อยมาก
สุดท้ายจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของเหล่าแฟนๆ
1
นอกจากนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วอัลบั้มเพลงของศิลปินเกาหลี ก็มักจะถูกวางขายใน Amazon รวมถึงแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่ชาวต่างชาติเข้าถึงได้ง่ายควบคู่ไปด้วย
1
แต่สำหรับวง GOT7 กลับไม่มีการขายซีดีเพลงผ่านเว็บไซต์เหล่านั้นเลย
ทำให้เป็นอุปสรรคต่อแฟนคลับชาวต่างชาติที่อยากให้การสนับสนุนศิลปิน
นอกจากนั้น JYP ยังถูกมองว่าไม่โปรโมตศิลปินอย่างเต็มที่
อย่างกรณีการปล่อยเพลงล่าสุด หลังจากสมาชิกวงกลับมาร่วมกันทำผลงานอีกครั้ง หรือที่เรียกว่า “การคัมแบ็ก” ก็ได้รับการโปรโมตก่อนหน้าไม่ถึง 1 สัปดาห์เท่านั้น
และยังไม่มีรายละเอียดกำหนดการที่ชัดเจน
จนสุดท้ายกลับต้องเป็นฝ่ายศิลปิน ที่ต้องออกมาโปรโมตด้วยตัวเอง
2
ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้ว เมื่อศิลปินจะปล่อยอัลบั้มใหม่ ทางค่ายมักจะโปรโมตผ่านทางโซเชียลมีเดีย หรือออกรายการเพลง ไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ก่อนที่จะปล่อย MV เพลง
1
ในส่วนของการสนับสนุนความสามารถด้านอื่นๆ ของศิลปินในค่าย
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว กว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นศิลปินของ JYP อย่างเต็มตัว
ต้องผ่านการฝึกซ้อมและการทดสอบหลายต่อหลายครั้ง
1
จึงไม่น่าแปลกใจว่า ศิลปินส่วนใหญ่ของ JYP จะมีความสามารถมากกว่าแค่การร้องและเต้น
โดยบางคนสามารถแต่งเพลง หรือโปรดิวซ์เพลงได้ด้วยตนเอง
แต่คนเหล่านี้ กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางค่ายอย่างเต็มที่
5
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัท JYP มีการกำหนดสไตล์การร้องเพลงที่เป็นเอกลักษณ์
และทางบริษัทเองก็ต้องการผลักดันให้ศิลปินร้องเพลงด้วยแนวทางนี้
แม้ว่าในมุมหนึ่งอาจเป็นการรักษาคุณภาพ
แต่ในอีกมุมก็เหมือนเป็นการจำกัดศักยภาพ และทำให้ศิลปินขาดอิสระในการพัฒนาเพลง
ซึ่งบางครั้งก็ลุกลามไปถึงการไม่โปรโมตศิลปินเหล่านั้นเลย
จนพวกเขาหายจากพื้นที่สื่อเป็นเวลานาน
นอกจากเรื่องของการสนับสนุนศิลปิน
จริงๆ แล้วการจัดการกับกลุ่มแฟนคลับ ก็ควรจะเป็นหนึ่งในหน้าที่ของทางค่ายเพลงเช่นกัน
1
เนื่องจากบางครั้งความชื่นชอบและอยากใกล้ชิดของเหล่าแฟนคลับ อาจมีมากเกินไป
จนกลายเป็นการล่วงเกินความเป็นส่วนตัวของศิลปิน ซึ่งเราจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ซาแซงแฟน”
2
ซึ่ง JYP ก็ไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้อย่างดีพอ จนกลายเป็นปัญหาที่ตกกลับมาอยู่ที่ตัวศิลปิน
1
ที่ผ่านมาเราจึงเห็นว่า มีหลายๆ ครั้งที่แฟนคลับต่างออกมาเรียกร้องให้บริษัทดูแลศิลปินในค่ายให้ดีกว่านี้
2
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในค่าย JYP เท่านั้น
ยังคงมีอีกหลายบริษัทใหญ่ๆ ที่มักจะมองเรื่องของตัวเลขกำไร มากกว่าการดูแลศิลปิน
1
ทั้งที่จริงๆ แล้วทรัพยากรที่สำคัญ และเป็นผู้นำเม็ดเงินมาสู่บริษัทก็คือ “ศิลปิน” เหล่านี้
และเรื่องนี้ก็อาจเป็นสาเหตุว่า ทำไมเราถึงเห็นศิลปินหลายๆ คน ที่ผันตัวมาเปิดค่ายเพลงของตัวเอง..
3
โฆษณา