James Kennett ศาสตราจารย์จาก University of California Santa Barbara ได้วิเคราะห์หลักฐานจากแหล่งอารยธรรมนี้ พบว่าเศษแก้วหลอมที่พบใน Abu Hureyara (ภายหลังเรียกว่า AH glass) เกิดขึ้นภายใต้อุณหภูมิสูงถึง 2,200 องศาเซลเซียส ประกอบด้วยธาตุหายาก ทั้งโครเมียม เหล็ก นิเกล ซัลไฟด์ โดยเฉพาะไทเทเนียม แพลตตินัม และอิริเดียม ซึ่งพบบนผิวโลกได้ยากมากในอุณหภมูิปกติแต่พบในอุกกาบาตเสมอ และมีแร่หลายชนิดที่ก่อตัวได้เมื่อมีอุณหภมูิสูงเช่น กระรน(Corundum จุดหลอมเหลว 2,044°C) มัลไลต์ (Mulliteจุดหลอมเหลว 1,840°C) ซุยไซต์(suessite จุดหลอมเหลว 2300 °C) ในยุคที่มนุษยเพิ่งออกจากถ้ำมาตั้งตั้งถิ่นฐานทำการเกษตรการสังเคราะห์แร่เหล่านี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ในแหล่งโบราณคดีนี้นอกจากพบธาตุที่มาจากดาวหาง ยังพบเศษวัสดุอื่นๆ เช่น เศษดิน ตะกอนและอินทรีย์สารซึ่งหลอมเหลวและเย็นตัวอย่างรวดเร็ว การจะทำให้เกิดขึ้นได้ต้องใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกับมนุษย์ยุคปัจจุบันเช่นการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนปรากฏการที่ทำให้เกิดวัตถุแบบนี้ได้มีแค่การเกิดฟ้าผ่า ภูเขาไฟระเบิด แต่ทีมงานให้น้ำหนักกับข้อสันนิฐานที่ว่าเศษแก้ว AH glass เกิดจากการพุ่งชนขอวัตถุนอกโลกเพราะตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์บนโลกยังมีคุณบัติหลายอย่างต่างจาก AH glass แต่คุณสมบัติเหล่านี้กลับมีความไกล้เคียงกับเศษแก้วที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ถูกพุ่งชน ซึ่งนำมาจากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกเช่น ตัวอย่างจากออสเตรเลียและ อียิปต์ โดยเฉพาะตัวอย่างที่ได้จากชั้นดินที่เรียกว่า Younger Dryas (Younger Dryas Boundary layer: YBD) ซึ่งเป็นชั้นดินพิเศษที่มีแร่ธาตุจากดาวหางกับเศษแก้วหลอมปะปนอยู่ สันนิฐานว่าชั้นดินนี้เกิดจากเศษดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4 กิโลเมตรที่ระเบิดเหนือท้องฟ้าทวีปอเอริกาเหนือในช่วง 12,800 ปีก่อน เศษของดาวหางอาจกระจายไปในรัศมี 14,000 ตารางกิโลเมตร แต่ ศาสตราจารย์ Kennett ได้ให้ความเห็นว่าเศษแก้วที่พบใน Abu Hareyra ไม่น่าจะมาจากการระเบิดครั้งเดียวกับกับที่ทำให้เกิด YBD เพราะความร้อนและเศษแก้วหลอมที่เข้ามาถึงหมู่บ้านน่าจะเกิดจากการะเบิดในระยะใกล้กว่า น่าจะเกิดจากดาวหางที่ระเบิดในบริเวณที่ใกล้กว่า ที่ YBD
Abu hureyra เป็นเพียงหนึ่งในแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบชิ้นส่วนของวัตถุนอกโลก จากศึกษานับทศวรรต James Kennett เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ว่าในยุคเพลโตซีนจะเกิดการระเบิดขึ้นหลายครั้งในสี่ทวีปใหญ่การเชื่อโยงเหตุการณ์แต่ละครั้งอาจทำให้เราเห็นภาพรวมของยุคสมัยซึ่งชุมชนมนุษย์เริ่มการทำเกษตรกรรมแทนการล่าสัตว์และโลกอาจยังโคจรอยู่ในกระแสธารของเศษชิ้นส่วนที่ดาวหางคาบสั้นทิ้งไว้
การระเบิดของดาวหางในชั้นบรรยากาศโลกยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก ดังนั้นหลักฐานที่ค้นพบ AH glass จึงเหมือนกับการสนับสนุนทฤษฏี ที่กล่าวว่าการระเบิดของดาวหางเป็นปัจจัยสำคัญผลักให้มนุษย์เข้าสู่ยุคของการเพาะปลูก และเกษตรกรรม ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ
ปัจจุบัน Abu hureyra กลายเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำของเขื่อน Taqba (เขื่อนยูเฟรตีส:Euphrates Dam) ตัวอย่างทั้งหมดได้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ช่วงที่มีเขื่อนเริ่มสร้าง จึงมีช่วงเวลาสั้นๆที่นักโบราณคณีจะเก็บตัวอย่างก่อนที่จะมีการปล่อยน้ำเข้ามาและฝังแหล่งร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัตศาสตร์ไว้ในทะเลสาป Assad