Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ปกรณัมกรีก
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2021 เวลา 12:41 • ประวัติศาสตร์
เฮดีส หรือ ฮาเดส ( Hades ) เทพแห่งความตาย
ในตำนานกรีกโบราณ ได้กล่าวถึงเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอำนาจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โพเซดอน เทพองค์นี้มีชื่อว่า ฮาเดส หรือ ที่ชาวโรมันเรียกว่า พลูโต สัญลักษณ์ของพระองค์คือหมวกล่องหนและอาวุธสองง่าม
2
ฮาเดส ทำหน้าที่ดูแลเมืองบาดาล หรือยมโลกและคนตายทั้งหมด โดยคำว่า”พลูโต” มีความหมายถึง เทพแห่งทรัพย์ เพราะนอกจากจะดูแลยมโลกแลัว ฮาเดสยังทำหน้าที่ครองมวลธาตุล้ำค่าที่อยู่ภายใต้พื้นพิภพอีกด้วย บางทีจึงมีชื่อว่า ดีส (Dis) ที่หมายความว่า ทรัพย์ นั่นเอง (บางตำนานอาจกล่าวว่า ฮาเดสทำหน้าที่ครองเมืองยมโลกและคนตายเท่านั้น)
ในขณะที่ เทพที่ทำหน้าที่ครองความตายอีกองค์หนึ่ง มีชื่อเรียกในภาษากรีกว่า ธานาทอส (Thanatos) เทพองค์นี้เป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hipnos) เทพแห่งการหลับ (เป็นเทพผู้ช่วยของฮาเดส)
แม้ว่าเทพฮาเดสจะเป็นหนึ่งในเทพแห่งโอลิมปัส แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ออกจากยมโลกเพื่อเสด็จขึ้นไปยังเขาโอลิมปัสมากเท่าไรนักและก็ไม่ค่อยอยากมีใครยินดีต้อนรับ เทพองค์นี้เสียเท่าไร เพราะส่วนใหญ่ล้วนแต่เกรงกลัวในอำนาจของพระองค์ทั้งสิ้น เนื่องด้วยพระองค์เป็นเทพที่ปราศจากความปรานี เต็มไปด้วยความยุติธรรม และ ฮาเดสก็มีหมวกวิเศษใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมผู้นั้นหายตัวไปได้เลยทันที
1
ชาวกรีกโบราณเชื่อว่า ภายในยมโลกจะเป็นที่อยู่ของดวงวิญญาณทุกดวงที่สิ้นชีวิต ไปแล้ว วิญญาณเหล่านี้จะถูกนำไปรับฟังคำพิพากษาจากคณะเทพสภาในยมโลกซึ่งอยู่ใต้พื้นพิภพ และเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้การปกครองของเทพฮาเดสผู้นี้
โดยเฮอร์เมสจะมีหน้าที่นำพาดวงวิญญาณคนตายลงไปยังเมืองบาดาล ซึ่งถูกกล่าวถึงกันว่าอยู่ใต้สถานที่อันแสนเร้นลับของโลก ซึ่งไม่มีผู้ใดทราบถึงสถานที่ที่แน่นอน บ้างก็ว่าทางลงอยู่ที่ขอบพิภพโดยต้องข้ามมหาสมุทรไป บ้างก็ว่าทางลงนั้นอยู่แถว แม่น้ำแห่งความวิปโยค ที่มีนามว่า แอกเครอน (Acheron) ซึ่งแม่น้ำสายนี้จะไหลไปสู่แม่น้ำโคไซทัส (Cocytus) ซึ่งเป็นแม่น้ำอีกสายหนึ่งที่เรียกกันว่าแม่น้ำแห่งความกำสรวล ตรงส่วนที่แม่น้ำทั้งสองสายบรรจบกัน จะมีเครอน (Charon) ซึ่งเป็นคนพาย เรือจ้างแก่ ๆ คนหนึ่งที่ทำหน้าที่คอยรับวิญญาณทุกดวงข้ามฟากไปสู่ยังสถานที่ที่ หนึ่ง ที่นี่จะประตูแข็งแกร่งราวเหล็กเพชรเป็นปากทางเข้า ที่เรียกว่า ทาร์ทารัส (Tartarus) ส่วนเขตชั้นนอกจะเรียกกันว่า เอรีบัส (Erebus) เครอนจะทำหน้าที่รับดวงวิญ- ญาณลงเรือแต่ดวงวิญญาณนั้นจะต้องมีเงินติดปากไปด้วยเป็นค่าผ่านทาง ทำให้พิธีกรรมของชาวกรีกจะต้องมีการนำเอาเงินใส่ปากคนตายก่อนการฝังไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งทุกวันนี้นี้ประเพณีดังกล่าวก็ถูกทำตามๆกันในหลายเชื้อชาติ
ที่หน้าประตูทางเข้า ทาร์ทารัส จะมีสุนัขตัวหนึ่งที่เรียกว่า เซอร์เบอรัส (Cerberus) ทำหน้าที่เฝ้าประตูไว้อยู่เสมอ สุนัขตัวนี้จะมีหัวสามหัว และมีหางคล้ายมังกร มันจะ ยินยอมให้วิญญาณของทุกคนผ่านเข้าประตูไปได้ แต่จะไม่ยอมให้วิญญาณเหล่านี้รอดกลับออกมาอีกเป็นอันขาด
หลังจากนี้ วิญญาณแต่ละดวงจะถูกพาไปเจอกับสามเทพสุภาเพื่อรับคำพิพากษา โดยสามเทพ ได้แก่ ราดาแมนทีส ไมนอส และไออาคอส หากเป็นดวงวิญญาณที่ชั่วร้ายหรือก่อกรรมทำผิดก็จะถูกพิพากษาให้ต้องชดใช้กรรม และทน ทุกข์ทรมานอยู่ ในขุมนรกทาร์ทารัสไปตลอดกาล แต่สำหรับดวงวิญญาณที่ทำดี ก็จะได้รับคำพิพากษาให้ นำตัวไปยังทุ่งอีลิเซียน ซึ่งเป็นดินแดนสุขาวดีของกรีก
นอกจากนี้ ยังมีแม่น้ำอีกสามสายที่ทำหน้าที่คั่นแดนบาดาลไว้ให้ห่างหากจากพิภพ เบื้องบน สายที่หนึ่งมีชื่อว่าเฟลจีธอน (Phlegethon) เป็นแม่น้ำไฟ สายที่สองมีชื่อว่า สติกส์ ( Styx ) เป็นแม่น้ำที่เทพทั้งปวงล้วนมาสาบาน และสายที่สามมีชื่อว่า ลีธี (Lethe) แม่น้ำแห่งการลืมหรือแม่น้ำที่ใช้สำหรับล้างความทรงจำ ดวงวิญญาณในขุมนรกทาร์ทารัสจะต้องดื่มน้ำจากแม่น้ำสายนี้ เพื่อละทิ้งความทรงจำที่เคยมีในชาติก่อนให้หมดสิ้นไป
1
นอกจากคณะเทพสุภาแห่งยมโลกแล้ว ยังมีคณะเทวีทัณฑกรซึ่งเป็นคณะที่สำคัญคณะหนึ่งที่ประจำอยู่ในดินแดนยมโลกเช่นกัน คณะที่ว่านี้มีชื่อว่า อิรินนีอิส (Erinyes) พวกเขาจะมีหน้าที่ทำโทษดวงวิญญาณที่กระทำตัวผิดทำนองคลองธรรมในมนุษย์โลก เดิมที เทวีทัณฑกมีเทพดูแลอยู่หลายองค์ แต่ในที่สุดก็ถูกลดเหลือเพียงแค่สามองค์ ได้แก่ ไทสิโฟนี (Tisiphone) มีจีรา (Megaera)และ อเล็กโต (Alecto) ซึ่งแต่ ละองค์มีรูปร่างลักษณะที่น่ากลัว ดุร้าย และที่เศียรก็มีงูพันไว้ยั้วเยี้ย ใครก็ตามที่ทำ บาปกรรมไว้ในครั้งที่เป็นมนุษย์ ก็จะมาใช้กรรมด้วยฝีมือของเทวีทั้งสามซึ่งมีชื่อเรียกนี้รวมๆกันอีกชื่อหนึ่งว่า The Furies
5
เทพฮาเดสจ้าวแห่งแดนบาดาล มีอุปนิสัยที่ค่อนข้างจะเย็นชา และแข็งกร้าว ไร้ซึ่ง ความเวทนาปรานีแก่ผู้ใด แต่พระองค์ก็ทรงตัดสินความถูกผิดไปด้วยความยุติธรรม ตลอดเวลาจึงเป็นเหตุทำให้ฮาเดสไม่สามารถหาสตรีมาเป็นคู่ครองบัลลังก์ในปรโลก ร่วมกันได้เสียที ครั้งหนึ่งเมื่อฮาเดสเสด็จขึ้นมาบนพื้นโลก และได้พบเจอกับหญิง งามมีชื่อว่า เพอร์เซโฟนี (Persephone) ผู้เป็นธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์ ด้วยความงามที่นางมี จึงทำให้ฮาเดสลืมไปว่านางคนนี้ก็คือหลานแท้ๆของตนเอง เนื่องจากดีมิเตอร์ถือเป็นน้องนางของพระองค์ จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงได้ไปฉุดเอาตัวของเพอร์เซโฟนีลงไปเป็นคู่ครองในดินแดนใต้พิภพแม้ตัวนางเองจะไม่ได้เต็ม ใจเลยสักนิด
3
เทพซุสได้ทรงเข้ามาตัดสินความให้เทพฮาเดสส่งตัวเพอร์เซโฟนีคืนแก่พระมารดา แต่เทพฮาเดสก็ใช้เล่ห์กลอุบายเพื่อล่อลวงให้นางต้องเดินทางมาหาฮาเดสปึละ 3 เดือนทุกๆปีไป ทำให้ในปึหนึ่งๆ ฮาเดสจะเป็นเทพพ่อม่ายนาน 9 เดือนและมีเวลาได้ร่วมรักกับมเหสีอีกเพียงปีละ 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งช่วงเวลา 9 เดือนที่เดียวดายไร้มเหสีเคียงคู่นี้ เทพฮาเดสก็พิสูจน์พระองค์ว่าเป็นสวามีที่ซื่อสัตย์พอสมควร เพราะตลอด เรื่องราวที่กล่าวในประวัติของท้าวเธอ ปรากฏเรื่องราวที่เทพฮาเดสนอกใจชายาของตนเพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้น
2
ครั้งที่หนึ่งที่นอกใจเป็นเพราะเทพฮาเดสทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรที่มีชื่อว่า มินธี (Minthe) แต่ความรักครั้งนี้ก็ไม่ได้ยาวนาน ด้วยเหตุผลเพราะพระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีทรงร้ายกาจเป็นอย่างยิ่ง แม้จะไม่ชอบหน้าเทพฮาเดสสักเท่าไร แต่เมื่อทราบว่าฮาเดสจะนอกใจธิดาของตน เจ้าแม่ก็ทรงโกรธเกรี้ยวเป็นอย่างยิ่ง และได้จนไล่กระทืบนางมินธีผู้น่าสงสารจนสิ้นใจตายคาบาทของดีมีเตอร์เอง ด้วยความเวทนาสงสารนางอัปสรผู้น้อย แดนบาดาลจึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายมาเป็นพืชชนิด หนึ่ง ซึ่งมีกลิ่นหอม และถือเป็นพืชประจำพระองค์ด้วยตลอดมา
ในขณะที่การนอกใจครั้งที่สอง เกิดขึ้นเพราะ เทพฮาเดสทรงไปรักชอบพอกับนางเลอซี (Leuce) ผู้เป็นธิดาของเทพไททันโอเชียนัส แต่นางเลอซีก็มีบุญน้อย เพราะสุดท้ายนางก็ป่วยตายเสียก่อนที่จะโดนสังหารด้วยน้ำมือของเจ้าแม่ดีมิเตอร์หรือเพอร์เซโฟนีเทวี ซึ่งภายหลังจากการตายของนาง นางก็ได้กลายร่างเป็นต้นพ็อปลาร์ขาว ซึ่งเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกใช้ในพิธีการลึกลับ ณ เมืองอีเลอซีส ในขณะที่ต้นไม้ใหญ่ที่เป็นต้นไม้ประจำองค์ของเทพฮาเดสกลับเป็นเพียงแต่ต้นสนเศร้า (Cypress)
ผู้คนในสมัยโบราณจะนิยมสักการะบูชาเทพฮาเดสด้วยแกะดำ ทำให้พิธีกรรมบูชาดู เร้นลับ ซึ่งต่อมาการบูชาแด่เทพแห่งมรณะหรือเทพแห่งความชั่วร้ายอื่น ๆ ก็นิยมใช้แพะหรือแกะที่เป็นสีดำด้วยเช่นเดียวกัน
อ้างอิงจาก :
https://sites.google.com/site/1230historygreece/god/theph-ha-des-god-hades
11 บันทึก
6
14
11
6
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย