13 ม.ค. 2021 เวลา 02:28 • สิ่งแวดล้อม
หลายวันมานี้เมืองไทยเริ่มมีอากาศหนาวเย็น จนทำให้บางคนอดนึกถึงหิมะไม่ได้ จึงนำเกร็ดน่ารู้สั้นๆ เกี่ยวกับการเกิดหิมะมาฝาก
การเกิดของ หิมะ จะเกิดในเขตหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
โดยเกิดจาก ไอน้ำหรือหยดน้ำ ภายในเมฆที่มีอุณหภูมิประมาณ -40 องศาเซลเซียส
แต่จะไม่แข็งตัวเนื่องจากหยดน้ำที่เกิดในเขตหนาวจะไม่แข็งตัวในอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส
ซึ่งเรียกสถานะนี้ว่า "น้ำเย็นยิ่งยวด" เมื่อน้ำเย็นยิ่งยวดกระทบกับอนุภาคเล็ก ๆ ที่อยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่น ควัน จะทำให้ระเหิดกลับไปเป็นผลึกน้ำแข็ง ทำให้ไอน้ำที่อยู่รอบ ๆ เข้าจับตัวกับผลึกน้ำแข็งจนมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่นี้ชนกันเองจะรวมตัวเป็น เกล็ดหิมะ จนมีขนาดใหญ่พอที่จะตกลงมาสู่พื้นผิวโลก
ซึ่งต้องมีอุณหภูมิใต้ฐานเมฆไปจนถึงพื้นดินต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส จะทำให้คงสภาพเป็น หิมะ นั่นเอง แต่หากอุณหภูมิใต้ฐานเมฆมากกว่า 0 องศาเซลเซียสก็จะทำให้กลายเป็น 'น้ำฝน'
(ส่วนสำหรับเมืองไทยนั้นการพบเจอหิมะคงเป็นเรื่องแทบเป็นไปไม่ได้ด้วยลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการเกิดหิมะ)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.hilight. kapook.com
โฆษณา