13 ม.ค. 2021 เวลา 15:29 • การศึกษา
ความกลัว vs ความเข้าใจ
“แมงมุม” คงเป็นสัตว์ที่หลายๆคนกลัวจนบางครั้งเมื่อเจอแมงมุมที่ไหนร่างกายก็จะหยิบคว้าอะไรขึ้นมาอย่างอัตโนมัติและลงแรงกระหน่ำฟาดลงไปจนแมงมุมตัวนั้นแบบเป็นอนึ่งอันเดียวกันกับพื้นดิน(สายโหด) หรือถ้าเจอแมงมุมแล้วทำอะไรไม่ถูกได้แต่ยืนอยู่กับที่(สายช็อค)โดยผมเองก็เป็นหนึ่งคนที่กลัวแมงมุมเหมือนหลายๆกลัวแมงมุมเช่นกันครับ
“แต่”ในความกลัวนั้นก็ยังมีวิธีการจัดการความกลัว โดย ใช้ความเข้าใจ ในการสังเกตลักษณะนิสัยของแมงมุม
-แมงมุมมักจะใช้ใยในการทำรังและล่าเหยื่อโดยมักจะเคลือนไหวได้รวดเร็วเฉพาะในขอบเขตใยของแมงมุมตัวนั้น
-ในกรณีที่แมงมุมอยู่ในใยถ้าถูกรบกวนแมงมุมมีกจะหนีเข้าไปข้างในสุดของใยหรือรังก่อนเสมอ(ไม่รวมแมงมุมดิน)
-แมงมุมมักจะไม่ออกจากใยหรือรังของตัวเองเว้นแต่จะโดนสัตว์อื่นหรือคนไปรบกวนจนรังพังถึงจะวิ่งแตกออกมาแบบไร้ทิศทาง
-ถ้าหากไม่เป็นเพราะเดินไปเหยียบหรือตั้งใจไปแหยแมงมุมก็จะไม่ทำอะไรเรา(ต่างคนต่างอยู่)
จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวของแมงมุมนั้นจะมีขอบเขตการเคลื่อนไหวที่จำกัดครับ ดังนั้นถ้าใครเห็นใยแมงมุมอยู่ข้างหน้าหรือตามทางแล้วกลัวว่ามันจะวิ่งออกมาจากใยแล้วกระโดดใส่แบบในหนังแล้วสบายใจได้เลยครับ เป็นไปได้ยากถึงเป็นไปไม่ได้เลย^^
เมื่อเข้าใจลักษณะนิสัย การใช้ชีวิตของแมงมุมแล้ว นำมาปรับใช้ในชีวิตของเราให้อยู่ร่วมกันได้ บางครั้งอาจจะกลายเป็นหลงรักเจ้าสัตว์8ขานี้เลยก็ได้ครับ
แต่ถ้าหากใครยังกลัวก็ขอให้โพสต์นี้ได้ช่วยให้เข้าใจนอสัยของแมงมุมและได้ช่วยจัดความกลัวได้ ไม่มากก็น้อย
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงหนึ่งประสบการณ์ในการสังเกตการเลี้ยงแมงมุมของผมในกลุ่มของแมงมุมชนิดทำใย ที่ไม่ใช่แมงมุมดิน(ทารันทูล่า)โดยโพสต่อๆไปจะมาต่อกับแมงมุมชนิดนี้นะครับ
โฆษณา