15 ม.ค. 2021 เวลา 10:32 • หนังสือ
60 ข้อควรรู้ก่อนอายุ 30 จากหนังสือ Atomic Habits
1. ความสำเร็จเป็นผลมาจากนิสัยที่ทำเป็นกิจวัตร ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งเดียวในชีวิต
.
2. สร้างนิสัยดีๆให้ตัวเองเพียงวันละ 1% เราจะพัฒนาตัวเองไปมากถึง 37 เท่าใน 1 ปี
.
3. นิสัยเหมือนดอกเบี้ย มันจะทบต้นไปเรื่อยๆ ถ้าเราสั่งสมแต่ความเครียด เราก็จะกลายเป็นคนขี้หงุดหงิดและเสียสุขภาพในที่สุด แต่ถ้าเราสั่งสมแต่ความรู้ จากการอ่านหนังสือ หรือฟังคนสำเร็จ เราก็จะมีไอเดียดีๆตุลไว้มาก โลกทัศน์ของเราก็จะกว้างไกล และโอกาสต่างๆก็จะลอยมาหามากกว่าคนอื่น
.
4. ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการสะสมจะเกิดขึ้นได้ถ้าเราทำจนผ่านจุด trigger point จุดหนึ่ง ระหว่างนั้นผู้เขียนเล่าว่ามันเป็น ภาวะแห่งศักยภาพที่ซ่อนเร้น เราจึงต้องอดทนจนกว่าศักยภาพของเราจะผ่านจุดนั้นและได้มีโอกาสปลดปล่อยออกมาจริงๆ
.
5. ตั้งเป้าหมายไว้ แล้วลืมไปซะ โฟกัสไปที่กระบวนการในการทำให้มันเกิดแทน โฟกัสไปที่นิสัยเล็กๆในแต่ละวัน
.
6. อะตอมเป็นเพียงสิ่งเล็กๆของโมเลกุลที่ใหญ่กว่า นิสัยก็เป็นสิ่งเล็กๆสำหรับผลลัพธ์ที่ยิง่ใหญ่กว่าเช่นกัน
.
7. การเปลี่ยนนิสัยอย่างมีประสิทธิภาพคือ การให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราอยากจะเป็น ไม่ใช่เพียงสิ่งที่เราต้องการเฉยๆ
.
8. การเปลี่ยนแปลงนิสัยในระดับที่ลึกที่สุดนั้น คือการเปลี่ยนความเชื่อที่เรามีต่อตัวตนของตัวเราเองได้
.
9. นิสัยคือ พฤติกรรมที่แสดงออกซ้ำ นานพอที่จะกลายเป็นการกระทำอย่างอัตโนมัติ
.
10. จุดประสงค์ของการมีอยู่ของนิสัยคือ การใช้มันแก้ปัญหาชีวิตโดยใช้พลังและความพยายามอย่างต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
.
11. นิสัยทุกรูปแบบมี 4 กระบวนการที่เหมือนกันคือ ปัจจัยประตุ้น ความปราถนา การตอบสนอง และรางวัล
.
12. กฎ 4 ข้อของการเปลี่ยนแปลงนิสัยคือ การทำให้ชัดเจน การทำให้น่าดึงดูด การทำให้เป็นเรื่องง่าย การทำให้น่าพึงพอใจ
.
13. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องเริ่มจากการมีสติรู้ตัวเสมอ เราต้องรู้ตัวก่อนว่านิสัยเดิมของเราคืออะไร ก่อนจะลงมือเปลี่ยนมัน
.
14. สูตรลัดในการสร้างนิสัยใหม่ให้สำเร็จคือ การใช้กลยุทธ์จับคู่นิสัยใหม่กับเวลา และสถานที่ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
.
15. อีกสูตรลัดสู่การนิสัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพคือ การจับคู่นิสัยใหม่ให้เข้ากับนิสัยเดิมที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน
.
16. จงจัดปัจจัยกระตุ้นนิสัยใหม่ที่ดีไว้ในสภาพแวดล้อมที่เห็นได้อย่างชัดเจน
.
17. นิสัยของเราไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยประตุ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นกับบริบทแวดล้อมด้วย
.
18. กลวิธีในการกำจัดนิสัยแย่ๆ คือ การทำให้นิสัยแย่ๆนั้นคลุมเครือ เห็นไม่ชัดเจน
.
19. การควบคุมตัวเองเป็นกลวิธีที่ได้ผลในเวลาสั้นๆ แต่ไม่ใช่ในระยะยาว
.
20. ความคาดหวังว่าจะได้รางวัลเป็นสิ่งที่ทำให้เราแสดงพฤติกรรมออกมา ไม่ใช่รางวัลจากการกะทำนั้น เพราะนี่เป็นกลไกการหลั่งโดปามีน
.
21. ใช้วิธีจับคู่พฤติกรรมที่เราอยากทำ กับพฤติกรรมที่เราต้องทำ เพื่อเพิ่มความน่าดึงดูดให้พฤติกรรมที่เราต้องทำ
.
22. ยิ่งพฤติกรรมนั้นน่าดึงดูดเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการเกิดนิสัยนั้นๆมากขึ้นเท่านั้น
.
23. วัฒนธรรมที่เราอยู่ คนรอบตัว คนส่วนใหญ่ และคนมีอำนาจ มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมและการแสดงออกของเราโดยไม่รู้ตัว
.
24. เคล็ดลับในการสร้างพฤติกรรมที่เราพึงประสงค์คือการพาตัวเองไปอยู่ในวัฒนธรรมที่มีบรรดัดฐานในการทำพฤติกรรมเหล่านั้น หรือยกย่องให้คุณค่ากับพฤติกรรมที่เราพึงประสงค์จะมีว่าเป็นที่ยอมรับทั่วไปของสังคม
.
25. เพราะถ้าพฤติกรรมใดน่ายกย่องนับถือ เราจะมีแนวโน้มเลียนแบบการทำพฤติกรรมนั้นโดยไม่รู้ตัว
.
26. ทุกพฤติกรรมทีแรงจูงใจอยู่ในระดับผิวเผิน และมีความปราถนาที่อยู่ในระดับลึกลงไป
.
27. นิสัยใดๆก็ตามจะน่าดึงดูดเมื่อมันถูกนำมาเชื่อมโยงกับความรู้สึกในทางบวก และจะไม่น่าดึงดูดถ้ามันถูกเชื่อมโยงกับความรู้สึกในทางลบ เราจึงต้องเลือกจับคู่นิสัยและความรู้สึกให้เหมาะสม
.
28. รูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การฝึกฝน ไม่ใช่การวางแผน
.
29. จงให้ความสำคัญกับการดำเนินการ ไม่ใช่การอยู่ระหว่างการดำเนินการ
.
30. ระยะเวลาที่เราทำพฤติกรรมใดๆก็ตาม ไม่สำคัญเท่าจำนวนครั้งในการทำพฤติกรรมนั้นๆ
.
31. เพราะการทำพฤติกรรมเดิมๆซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เราทำพฤติกรรมนั้นโดยอัตโนมัติสร้างขึ้นมาเป็นนิสัย
.
32. สร้างสภาพแวดล้อมที่จะช่วยให้พฤติกรรมอันพึงประสงค์เกิดได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
.
33. สร้างสภาพแวดล้อมที่จะขัดขวางให้พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์เกิดได้ยากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
.
34. ลดอุปสรรคขัดขวางการทำพฤติกรรมที่ดี คนเรามักเลือกทำในสิ่งที่ทำได้ง่ายสุดก่อนเสมอ
.
35. ใช้กฎ 2 นาทีเริ่มต้นฝึกนิสัยที่ทำได้ง่ายที่สุดก่อน เช่นถ้าอยากวิ่งมาราทอน ก็เริ่มจากการเดินให้ได้วันละ 10 นาที แต่ทำต่อเนื่องทุกวัน
.
36. ยิ่งเราเริ่มต้นทำพฤติกรรมอันพึงประสงค์ได้ต่อเนื่องมากเท่าไหร่ เราจะมีความตั้งใจทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
.
37. สร้างมาตรฐานของตัวเองให้ได้ก่อน ที่เราจะก้าวข้ามระดับความยากขึ้นไปอีกขั้น
.
38. การตัดสินใจอะไรเพียงครั้งเดียว อาจเป็นตัวกำหนดนิสัยที่ดีของเราได้ในระยะยาว เช่น การซื้อที่นอนเพื่อสุขภาพ หรือการตัดบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ
.
39. การนำเทคโนโลยีมาช่วยให้การกระทำเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างพฤติกรรมอันพึงประสงค์ได้
.
40. กฎสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคือ สิ่งใดได้รับรางวัลทันทีจะถูกทำซ้ำ แต่สิ่งใดได้รับการลงโทษทันทีจะถูกหลักเลี่ยง
.
41. การจะทำนิสัยหนึ่งให้ได้ต่อเนื่อง เราต้องรับรู้ถึงความสำเร็จในการฝึกนิสัยนั้นแบบทันที แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม
.
42. อย่าหยุดหรือล้มเลิกการฝึกนิสัยใหม่กลางคัน โดยไม่จำเป็น
.
43. ใช้การติดตามวัดผลการสร้างนิสัยใหม่ เช่นการกากบาทลงในปฏิทินเพื่อดูว่า เราทำพฤติกรรมนั้นได้ต่อเนื่องหรือไม่
.
44. การเห็นผลลัพธ์เชิงประจักษ์เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะเราจะได้เห็นหลักฐานอันชัดเจนของพัฒนาการของตัวเรา
.
45. หากเราหยุดทำพฤติกรรมครั้งแรกไปแล้ว พยายามอย่างเต็มที่ที่จะหลีกเลี่ยงการหยุดเป็นครั้งที่ 2
.
46. หาพยานที่จะมาช่วยเป็นคนคุมพฤติกรรมของเรา อาจเป็นเพื่อน คนรอบตัว เพราะคนเรามักจะแคร์ว่าคนอื่นคิดกับเรายังไง และไม่อยากให้คนอื่นมองเราในด้านไม่ดี หรือทำอะไรไม่สำเร็จ
.
47. การสร้างพันธะสัญญาในการทำอะไรอย่างหนึ่ง จะช่วยเพิ่มบทลงโทษทางสังคมได้ เราจึงอาจเขียนสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับพยานที่เรากำหนดขึ้นให้ช่วยเฝ้าดูพฤติกรรมของเรา
.
48. การรู้ว่ามีคนอื่นเฝ้าดูเราอยู่ เป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้เราฝึกนิสัยต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
49. เลือกสนามแข่งขันที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อสร้างความได้เปรียบ และโอกาสในการชนะการแข่งขันนั้น
.
50. เลือกสร้างนิสัยที่เหมาะสมกับตัวเราเอง เพราะความสอดคล้องกับธรรมชาติของตัวเราจะช่วยทำให้นิสัยนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายโดยธรรมชาติ
.
51. พันธุกรรมจะสร้างความได้เปรียบอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย แต่จะกลายเป็นจุดอ่อนร้ายแรงในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
.
52. พันธุกรรมไม่ได้ช่วยให้เราเลิกทำงานหนัก แต่จะบอกว่าเราควรจะทุ่มเทพลังงานที่มีให้กับการทำอะไร
.
53. ประยุกต์ใช้กฎของโกลดิล็อกส์ที่กล่าวว่า คนเราจะเกิดแรงกระตุ้นสูงสุดก็ต่อเมื่อได้ทำสิ่งที่ต้องดึงศักยภาพสูงสุดที่ตัวเองมีออกมา ไม่ง่ายจนเกินไป และไม่โหดจนเกินไป
.
54. อุปสรรคที่สำคัญที่สุดต่อการสร้างความสำเร็จ ไม่ใช่ความล้มเหลว แต่คือความเบื่อหน่าย
.
55. ความแตกต่างจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราสามารถทำสิ่งๆหนึ่งได้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอแม้จะเกิดความเบื่อหน่าย เพราะไม่ว่าใครก็ทุ่มเททำงานหนักได้เสมอถ้ามีแรงจูงใจที่มากพอ
.
56. การทำนิสัยได้อย่างอัตโนมัติ + การฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง = ความเชี่ยวชาญ
.
57. ข้อเสียของนิสัยคือ บางครั้งเรามักจะมองข้ามความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นได้
.
58. การวิเคราะห์ย้อนกลับคือกระบวนการทำให้เรามีสติอยู่กับการทำสิ่งๆนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
.
59. อย่ายิดติดในอัตลักษณ์ผิวเผินที่เราเป็น เพราะถ้าเราไปยึดติดกับอัตลักษณ์เฉพาะด้านมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งก้าวหน้าได้น้อยลงเท่านั้น
.
60. ใช้กระบวนการ ทำให้เห็นชัดเจน ทำให้น่าดึงดูด ทำให้เป็นเรื่องง่าย ทำให้น่าพอใจอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่เรื่อยๆ และอย่าลืมมองหาหนทางที่เราจะดีขึ้นได้วันละ 1 เปอร์เซ็นต์
ซื้อหนังสือได้ที่
.
#100เล่มควรอ่านก่อนอายุ30 #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30 #หลังอ่าน
โฆษณา