14 ม.ค. 2021 เวลา 08:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คำถามคือ ภาครัฐมีมาตรการการกระตุ้นเงินเฟ้ออย่างไรบ้าง?
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) หรือการนโยบายที่รัฐบาลใช้หารายได้ และรายจ่ายของรัฐบาลซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากการเก็บภาษี โดยนโยบาลการคลังจะถูกนำมาใช้บริหารประเทศ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน เช่น การสร้างถนน ทางด่วน, โรงพยาบาล, สถานที่ต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายการปรับเพิ่มหรือลดภาษีต่างๆ
รวมถึงถูกนำมาใช้เมื่อเกิดวิกฤตฉุกเฉิน เพื่อเป็นการอุ้มระบบเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียน อย่างเช่น การสั่งพิมพ์ธนบัตรที่เรากล่าวไปในบทความที่แล้ว หรือการแจกเงินสดของรัฐบาล (Stimulus Checks) เป็นต้น
 
ส่วนนโยบาลการเงิน (Monetary Policy) จะควบคุมโดยธนาคารกลางใช้ในการควบคุมเงิน อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึง การลด -เพิ่มอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ภาวะเศรษฐกิจมีความสมดุลทางภาคธุรกิจ ยิ่งถ้านโยบายของภาครัฐมีประสิทธิภาพ จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้น หรือ supply เพิ่มขึ้น = กำลังการจ้างงานเพิ่มขึ้น = ต้นทุนการผลิตน้อยลง = ราคาต่ำลง
แต่ในทางกลับกัน ถ้ายิ่งมีกำลังการผลิตจำกัด/น้อยลง แต่ความต้องการใช้เท่าเดิม ราคาก็จะแพง
เช่นเดียวกันกับ อัตราการว่างงาน เราเชื่อว่าหลายๆคนคงคิดว่า ยิ่งมีการจ้างงานมาก แสดงว่าเศรษฐกิจเราดีสุดๆใช่ไหม แต่ความเป็นจริงกลับไม่ใช่อย่างนั้น สมมติว่าในโลกนี้มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ 0% ซึ่งหมายถึง ใครก็ตามที่อยากได้งาน ก็ย่อมได้งานตามที่ใจหวัง..
ลองนึกภาพตามต่อว่า ถ้าสมมติว่า เราต้องการสร้างธุรกิจSMEs ขึ้นมาเป็นของตัวเอง แล้วเราต้องการพนักงานสักคนหนึ่ง การรับพนักงานเพิ่มสักคนจะเป็นสิ่งที่ยากมากๆ ก็ในเมื่อทุกคนบนโลกใบนี้มีงานทำอยู่แล้วนี่นา ดังนั้นสิ่งเราจะทำได้ คือการซื้อตัวพนักงานมาจากบริษัทอื่นๆ แน่นอนว่าการเสนอเงินเดือนก็ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
สิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปก็คือ เมื่อเรารับพนักงาน สมมตินาย A เข้ามาแล้ว บริษัทที่นาย A ลาออกมา ก็จะมีตำแหน่งว่างขึ้นเพิ่มเป็น 1 ที่ ซึ่งบริษัทนั้นย่อมต้องการหาคนงานเข้ามาอุดรอยรั่ว และเมื่อทุกคนมีงานทำ สิ่งที่บริษัทนั้นต้องทำก็คือ การซื้อตัวพนักงานมาจากบริษัทอื่นและจ่ายเงินเพิมมากขึ้นสำหรับพนักงานคนใหม่มากกว่าเดิมอีกเท่าตัว!
กลับไปสมการเดิม ค่าแรง = ต้นทุน (Cost) เมื่อค่าแรงสูง ราคาก็เพิ่มตัวตาม เริ่มเห็นภาพกันแล้วใช่ไหม
แล้วการพิมพ์ธนบัตรส่งผลอย่างไรบ้างกับเศรษฐกิจ?
เคยได้ยินไหมว่า “ยิ่งมีมาก ยิ่งมีค่าน้อยลง”
อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ว่าช่วงหลังๆที่ผ่านมา US Fed และประเทศอื่นๆ แห่พิมพ์เงินกันอย่างบ้าคลั่ง โดยหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการพิมพ์ธนบัตร ทำให้ เงินมี “จำนวน” มากขึ้น แต่ยิ่งมีเงิน “ฟรี” มากขึ้นค่าของเงินจะยิ่งอ่อนตัวลง ทั้งยังทำให้การหมุนของเงินเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย (Velocity of Money)
การหมุนของเงินคืออะไร? คือเงินที่ถูกใช้และเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่าง เรามีเงิน เรานำไปซื้อของที่ร้านค้า ร้านค้านำเงินนั้นไปจ่ายค่าแรงคนงงาน คนงานนำเงินนั้นไปซื้อของต่อ วนไปเรื่อยๆ
การพิมพ์เงิน x การหมุนเงิน = เงินเฟ้อ & (แถมหนี้)
ยกตัวอย่างประเทศ เวเนซูเอล่า รายได้หลักของเวเนซูเอล่ามากจากการส่งออกน้ำมัน แต่เมื่อน้ำดับดิบราคาลดลง รายได้ของเวเนซูเอล่าก็ลดลงตามไปด้วย แต่เมื่อรายจ่ายของภาครัฐยังคงเท่าเดิม สิ่งที่รัฐบาลเลือกทำ คือพิมพ์เงินออกมาเพื่อใช้จ่ายเรื่อยๆ ทำให้เงินด้อยค่าลงไปอย่างมาก แถมเกิดเงินเฟ้ออย่างหนัก!
ดังนั้นการพิมพ์ธนบัตรอาจจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เร็วที่สุด แต่ไม่ว่ารัฐบาลจะพิมพ์เงินหรือแจกเงินมากแค่ไหน สุดท้ายแล้วมันก็อาจจะเป็นแค่มาตรการเยียวยาแค่ชั่วคราวเท่านั้น แต่สิ่งที่จะติดตัวเราต่อไปก็คือ…ภาระหนี้นั่นเอง
โฆษณา