ในเทศกาลฮาโลวีนปี 2017 นักวิทยาศาสตร์จาก MIT Media Lab เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถแต่งเรื่องราวสยองขวัญได้ในชื่อ Shelley โดย AI ตัวนี้จะเขียนเรื่องราวสยองขวัญแปลกประหลาดมากมายผ่านบัญชีทวิตเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า@shelley_ai (ลองไปหาอ่านกันดูนะมุยย)
Shelly ซึ่งตั้งขึ้นตามชื่อของ
Mary Wollstonecraft Shelly ผู้แต่งวรรณกรรมคลาสสิก เรื่อง แฟรงเกนสไตน์ โดยมีแนวคิดในการวิเคราะห์จากความหวาดกลัวของมนุษย์ที่มีต่อความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ในโลกอนาคต
การสื่อสารระหว่างคนปกติกับคนพิการในปัจจุบันยังมีปัญหาอยู่มาก จึงเป็นสิ่งที่ให้ Google คิดริเริ่มเทคโนโลยีด้านเสียงให้ผู้มีความบกพร่องดังกล่าวสามารถเข้าถึงในการสื่อสารกับผู้คนได้
จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของ Euphonia คือการเก็บข้อมูลเสียงจากผู้มีความบกพร่องด้านการพูด เพื่อช่วยแก้ปัญหา AI ของ Google Assistant ที่ถูกสร้างมาเพื่อโต้ตอบกับเสียงส่วนใหญ่จึงอาจใช้งานไม่ได้กับเสียงส่วนน้อย
อย่างผู้มีปัญหาด้านการออกเสียง ทาง Google จึงแก้ปัญหานี้โดยการขอให้คนทั่วโลกส่งตัวอย่างเสียงของตนมา เมื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้มาได้ก็จะนำไปพัฒนาอัลกอริทึมและอัพเดต Google Assistant
7 ) Edmond de Belamy ปัญญาประดิษฐ์ที่วาดภาพได้ด้วยตัวเอง
.
.
.
บริษัทประมูลชื่อดังของโลกอย่าง Christie’s ได้เปิดประมูลภาพที่วาดโดยปัญญาประดิษฐ์เป็นครั้งแรก ภาพวาดดังกล่าวมีชื่อว่า Portrait of Edmond Belamy
และเป็นผลงานของปัญญาประดิษฐ์นามว่า GAN ที่ถูกพัฒนาโดย Obvious Art Studio กลุ่มศิลปินและนักวิจัยจากฝรั่งเศส พวกเขาสร้าง Edmond de Belamy ขึ้นมาโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่เรียกว่า GAN (Generative Adversarial Network)
เครื่อง GAN มีองค์ประกอบสองส่วนคือส่วนผู้สร้างสรรค์ (the creator) และส่วนนักวิจารณ์ (the discriminator) ส่วนแรกจะวาดภาพโดยประมวลผลจากฐานข้อมูลที่ได้ศึกษาไป
และส่วนที่สองจะเปรียบเทียบหาความต่างของการวาดภาพระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ เพื่อให้ AI เกิดการวาดเลียนแบบให้เหมือนมนุษย์มากขึ้น