15 ม.ค. 2021 เวลา 03:38 • การศึกษา
#15 ดินแดนคนตาบอด
ณ ดินแดนคนตาบอด
คนตาเดียวคือพระราชา จริงหรือ ? และ
คนตาดี นั้นเหนือกว่า คนตาบอด ใช่หรือไม่?
ว่าด้วยเรื่อง นักสำรวจตาดีคนหนึ่งได้ประสบอุบัติเหตุ ตกลงไปในดินแดน ที่มีแต่คนตาบอด
แล้วเขาจะใช้ชีวิตอย่างไร เป็นดั่งพระเจ้าหรือไม่ หรือเป็นเพียงพวกไร้ค่า ที่ได้แต่เพ้อฝัน
ถึงอิสระ เสรีภาพของการได้มองเห็น
##########################
หนังสือเล่มนี้ ทำให้เราขบคิดเป็นอย่างมาก
และยังซ่อนแนวคิด ล้ำลึกไว้ได้อย่างมหัศจรรย์
ขึ้นอยู่ว่าเราจะตีความ และเปรียบเทียบกับสิ่งใด
ถ้าอยู่ในกฎกติกาของคนตาดี
แน่นอนคนตาบอดย่อมพ่ายแพ้
กลับกันถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมของคนตาบอด
มั่นใจไหมว่า คนตาดี จะเหนือกว่า ?
แล้วการที่ต้องเป็นคนตาดี ต้องมีค่าใช้จ่าย
อะไรบางในดินแดนคนตาบอด?
หนังสือได้บอกกล่าวทั้ง ดี เสีย ในแต่ละด้าน
ทั้ง 2 ด้าน ล้วนต่างก็มี มุมมองที่ให้เราเห็นถึงความไม่สมบูรณ์ ทั้งคู่
ความคิด จินตนาการ ความเชื่อ
วัฒนธรรม หรือกระทั่ง ความกลัว
นั้นก็แตกต่างกันในแต่ละมุมมอง
แต่สิ่งหนึ่งที่เลวร้ายที่สุด ก็คือ
การเป็นคนตาดี แต่ต้องอยู่ในสังคมที่มืดบอด
ที่ยึดถือระบบและคุณค่าอันบิดเบี้ยว
########################
เราเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ทั้ง 2 ฝ่าย
ต่างก็มีความโง่เขลาและความบกพร่อง
เมื่อใดที่คิดแต่ว่า เราเหนือกว่า สติปัญญา
ดีกว่า สมบูรณ์กว่า จนบางครั้งก็ลืม
ที่จะค้นหาความบกพร่อง
สุดท้ายแล้วก็จะนำมาซึ่งหายนะ
ที่เกิดจากความคิดในตน มืดบอดในจิตใจ
เราจะเชื่อสิ่งใดก็ย่อมได้
เราอยากจะเห็นหรือมิเห็นก็ย่อมได้
เราอยากจะตัดสินใคร อย่างไรก็ย่อมได้
การไม่ต้องสงสัย ตั้งคำถาม หรือ
ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ก็ย่อมได้
แต่อย่าลืมว่า จงมีความกรุณา เมตา
ให้โอกาส และ เข้าใจในความต่าง
มิเช่นนั้นแล้ว เราอาจต้องเป็นดังคำว่า
เข้าเมืองตาบอด ต้องตาบอดตาม หรือ
การเป็นคนมีตา แต่โดนด่าว่า
ตาบอด (ต่อความเป็นจริง) หรือไง?
- เขาเริ่มประจักษ์แก่ใจแล้วว่า คนเราไม่อาจต่อสู้หักหาญกับเพื่อนร่วมโลกที่มีพื้นเพความคิดจิตใจเป็นคนบะแบบกับเราอย่างสิ้นเชิง
- มนุษย์ถ้ำ ผู้ไม่เคยเห็นโลกแห่งความเป็นจริง ที่งมงายกับเงาที่ตัวเองจ้องมาตลอดชีวิต ครั้งวันหนึ่งต้องเผชิญหน้ากับ แสงสว่างและวัตถุ (หรือข้อมูลหลักฐาน) จริงๆ เป็นครั้งแรก ย่อมจะตกใจงุงงง ดิ้นรนขัดขืน ไม่อยากเชื่อ
- หากการหลงคิดว่าภาพเงาคือความจริง สามารถเปรียบเทียบอีกชั้นหนึ่งได้ถึงการตาบอด
- สิ่งที่มนุษย์มองเห็นและเรียกขานชื่อหาใช่ความจริงไม่ เพราะความจริงของสรรพสิ่ง ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสอันเปรียบเสมือนโซ่ตร่วน แต่มนุษย์จะเข้าถึงและเข้าใจ ของสิ่งต่างๆ ได้ด้วยการครุ่นคิดใช้เหตุผล -เพลโต
- คำว่าเห็น มิได้หมายถึงเพียงการเห็นด้วยดวงตา
เขียน : H.G.Well
แปล : มโนราห์
โฆษณา