Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ครูพี่ออย-นักจิตวิทยาวัยรุ่น
•
ติดตาม
15 ม.ค. 2021 เวลา 07:12 • ครอบครัว & เด็ก
ยิ่งกล่าวขอโทษเร็วเท่าไร
ความทุกข์จะติดตรึงในใจลูกน้อยลงเท่านั้น
หลายครั้งที่อาจจะปรี๊ดแตกใส่ลูก ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่
ทำเกินกว่าเหตุไป ขว้างปาข้าวของ เราผิดนัด ผิดสัญญา
ทำสิ่งที่ทำให้ลูกกลัว เสียใจ หรืออาจจะพลั้งมือทำร้ายลูก
เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะคุณพ่อคุณแม่ก็มนุษย์คนหนึ่งมีความรู้สึก
มีอารมณ์ ในบางครั้งที่ลูกทำผิด ไม่ทำตามกฎที่ตกลงกันไว้ มันก็หยั่งได้ยาก
เพียงแต่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจะจัดการอย่างไร
ให้ส่งผลกระทบต่อลูกของเราน้อยที่สุด
เพราะสิ่งเหล่านี้จะสร้างความทรงจำที่ไม่ดีและอาจติดตัวเป็นบาดแผลกับลูกไป
ถ้าคุณพ่อคุณแม่ขอโทษและแก้ไข หาวิธีจัดการได้เร็วเท่าไร
ความทรงจำและความทุกข์จะติดตรึงในใจลูกน้อยลงเท่านั้น
งานวิจัยในด้านประสาทวิทยาแสดง
ให้เห็นว่าความทรงจำในวัยเด็กที่ไม่ดีเหล่านี้
จะสร้างความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย
และยังเป็นเหมือนการสร้างสารพิษที่สะสมในร่างกายของลูก
ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั้งในสมอง ร่างกาย
และอาจจะส่งผลเสียต่อภูมิคุ้มกันของลูกในอนาคตได้
ใช่เลยค่ะ มันส่งผลร้ายแรงกว่าที่เราคิด
ถ้าทำให้ลูกกลัว ทำให้เสียใจไปแล้วจะทำอย่างไรดี?
1. เปลี่ยนแปลงความคิดก่อนว่าการขอโทษลูกไม่ใช่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ห้ามทำ หรือเมื่อเราทำไปแล้วจะทำให้ลูกไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังเรา แต่ในทางกลับกันการยอมรับผิดและกล่าวขอโทษจะเพิ่มความเชื่อใจในตัวคุณพ่อคุณแม่
2. ในกรณีที่เราโมโหเพราะลูกทำผิด ให้เราแยกสิ่งที่ลูกทำผิดที่ เป็นต้นเหตุให้เรา
ทำพฤติกรรมเกินกว่าเหตุ กับ พฤติกรรมที่เราโต้ตอบ
เช่น ลูกไม่ยอมล้างจาน คุณแม่ก็พูดหลายรอบ สุดท้ายคุณแม่โมโห เลยเดินเข้าไปในครัว เขวี้ยงจานทั้งหมดลงพื้น พร้อมด่าว่าลูกแบบเกินกว่าเหตุไป
จากเหตุการณ์นี้ พฤติกรรมที่ลูกไม่ยอมล้างจาน
ที่ลูกทำไม่ถูกต้องก็ยังต้องคุย ตกลงหรือลงโทษตามความเหมาะสม
แสดงจุดยืนถึงการมีวินัย ทำตามกฎระเบียบ
ส่วนสิ่งที่เราทำเกินไปก็ขอโทษลูก
บอกว่า “ลูกก็รู้ว่าเราตกลงกันไว้แล้ว พอลูกไม่ทำมันก็ทำให้แม่โกรธ มันยากที่จะควบคุม แต่แม่ขอโทษที่ทำรุนแรง ขว้างจานแบบนั้น มันไม่ถูกต้องเลย”
3. ขอโทษลูกทันที โดยพูดถึงสิ่งที่เราได้ทำผิดพลาด “ แม่ขอโทษนะลูก แม่ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่จริงๆ ขอโทษที่ทำให้หนูกลัว แม่จะไม่ทำแบบนี้อีก
4. หากโกรธมากๆ ควบคุมไม่ไหว ทำให้ยังไม่พร้อมที่จะคุย ให้หายใจเข้าออกยาวๆ จะช่วยให้ ร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล หรือรอคอยจนรู้สึกว่าพร้อมที่จะพูดคุยกับลูก
5. หาทางแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมนั่นไม่ให้เกิดซ้ำๆ
เช่น มีวิธีการจัดการเมื่อลูกทำผิด หาวิธีการลงโทษให้เขาได้รับบทเรียน
และเรียนรู้อย่างเหมาะสม
6. เมื่อแก้ไขแล้วให้ปล่อยผ่าน ไม่คิดซ้ำไปซ้ำมา ไม่โทษตัวเอง
เพราะสุดท้ายมันก็จะไม่ดีกับทั้งตัวเราและลูกเช่นกัน
:)
ครูพี่ออย
นักจิตวิทยาวัยรุ่น
#จิตวิทยาเลี้ยงลูกวัยรุ่น
3 บันทึก
8
3
3
3
8
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย