Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Foodaholic กินเพื่ออยู่(ดี)
•
ติดตาม
16 ม.ค. 2021 เวลา 03:35 • อาหาร
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต🥗🥗
โรคไตถือเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของสาธารณะสุขไทยในปัจจุบันค่ะ เพราะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นค่ารักษาพยาบาลก็มีราคาที่สูงโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ระยะไตวาย
สาเหตุที่ทำให้อัตราผู้ป่วยโรคไตสูงขึ้น เนื่องจากคนไทยมีนิสัยบริโภคเค็มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ซอสปรุงรสและซอสหมักจากพฤติกรรมการกินอาหารปิ้งย่างมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตในไทยถึง 8 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วยถ้าไม่มีการให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมค่ะ
เป้าหมายของการปรับพฤติกรรมการกิน คือ
- เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
- คุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ควมคุมปริมาณไขมันในเลือด
ซึ่งทั้งสามข้อข้างต้นก็เป็นการช่วยลด ชะลอการทำงานของไต ไม่ให้ทำงานหนักเกินไปค่ะ
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ขึ้นอยู่กับระยะของโรคไต ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น stage ต่างๆ ดังนี้ค่ะ
Stage 1-3a ค่า GFR <90 - 45 %
เป็นช่วงที่ระบบการทำงานของไตลดลง แต่ว่าค่า GFR ที่ลดลง เราสามารถดูเเลตัวเอง และทำให้เพิ่มสูงขึ้นได้ค่ะ เรียกว่าช่วง “gold stage”
ช่วงนี้ผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้ปกติ ในเรื่องของสารอาหารที่ต้องการก็เท่ากับคนปกติทั่วไปแต่ควรเลือกทานอาหารที่ low sodium หรือลดเค็มนั่นเองค่ะ เป็นคำที่ได้ยินบ่อย ดูเหมือนทำง่าย แต่ไม่ง่ายเลยค่ะ เนื่องจากผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาหารที่ทานนั้น จืด ไม่มีรสชาติ และลงเอยด้วยการ ปล่อยเลยตามเลยค่ะ ซึ่งวันนี้แนนมีเทคนิคในการลดเค็ม มาฝากกันค่ะ
1. หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
2. เลือกอาหารปรุงสุก ทานเลย
3. ใช้สมุนไพร เพิ่มรสชาติแทนการเติมน้ำปลา ซีอิ๊ว
4. ลดการซดน้ำซุป เพราะในน้ำซุปนี่มีแต่ซอสปรุงรสทั้งนั้นเลย
Stage 3 b ค่า GFR 30-44%
ทานอาหารแบบ “low protein diet” อาหารโปรตีนต่ำ
ช่วงนี้เป็นช่วงที่เข้าสู่ภาวะโรคไตเรื้อรัง ไตทำงานได้น้อยลง ควรเน้นอาหารที่มีปริมาณโปรตีนต่ำ 0.6-0.8 กรัม/น้ำหนักตัว/วัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ หรือ นักโภชนาการแนะนำด้วยค่ะ
เเต่เพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอต่อวัน ผู้ป่วยอาจทานแป้งที่ไม่มีส่วนประกอบของโปรตีน เช่น วุ้นเส้น เส้นเซี่ยงไฮโซ แทนแป้ง ข้าว ทั่วไป เพื่อลดปริมาณโปรตีนที่ทานในแต่ละวันค่ะ
Stage 4-5 ค่า GFR 44 - <15%
เนื่องจากไตทำงานได้เเย่ลงมากๆ จึงอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของ อิเล็กโทรไลต์
ในเลือด เช่น มีโพเเทสเซียมและฟอสฟอรัส ในเลือดสูง ดังนั้น
การทานอาหารควร หลีกเลี่ยง อาหารที่มี โพแทสเซียมสูง เช่น
- อาหารกระป๋อง
- อาหารตากแห้ง
- ผลไม้บางชนิด เช่น กล้วย ส้ม แคนตาลูป มะละกอ
- ผักบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ฟักทอง มันฝรั่ง
หลีกเลี่ยงอาหารที่มี ฟอสฟอรัสสูง ซึ่งส่วนมากจะพบในสารเจือปนอาหาร เช่น
- อาหารแปรรูป
- อาหารแช่แข็ง
- อาหารในรูปแบบพร้อมทานต่างๆ
หลังจาก stage ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ถ้าผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้มีการล้างไต หรือเปลี่ยนถ่ายไต ซึ่งในเรื่องอาหารการกิน จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนักโภชนาการมากกว่านี้ค่ะ
โรคไตเป็นโรคที่น่ากลัวมากๆ แต่เป็นโรคที่เราสามารถดูแลได้ด้วยการปรับเปลี่ยนการกินให้เหมาะสมค่ะ ดังนั้น เมื่ออ่านจบแล้ว อย่าลืมนำไปปรับใช้หรืออาจนำไปแนะนำคนรอบข้างเพื่อให้ห่างไกลโรคไตกันด้วยนะคะ
แล้วพบกันค่ะ☺️
ขอบคุณข้อมูลจาก
สสส.
1 บันทึก
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย