16 ม.ค. 2021 เวลา 06:53
เรื่องสัตว์น่าสนใจวันนี้
"ศาสตร์แห่งการกินเนื้อของสัตว์"
สัตว์ที่กินเนื้อคือผู้บริโภคขั้นที่สองและขั้นที่สามของระบบนิเวศ ทุกชนิดต่างมีความสามารถการล่าแตกต่างกัน และที่สำคัญคือ นักล่าเองก็มีศาสตร์แห่งการกินเนื้อเช่นเดียวกับมนุษย์ด้วย นักล่าบางชนิดสามารถล่าเหยื่อได้หลากหลายประเภทตามลักษณะกายภาพที่เหมาะแก่การล่าและระบบนิเวศที่อยู่อาศัย ทีนี้แล้วศาสตร์ของการกินเนื้อมันจะไปสอดคล้องกันอย่างไรกับสัตว์ผู้ล่า มาดูกันครับ
1.เนื้อทำให้กำยำกว่าพืช : ตามหลักแล้วสัตว์กินเนื้อส่วนมากมีร่างกายที่ค่อนข้างปราดเปรียวเพื่อเข้าพิฆาตเหยื่อ แต่นักล่าบางประเภทนั้นมีอุปนิสัยกินได้ทั้งพืชและสัตว์ อย่างหมีกริซลี่ (Grizzly bear) มีทั้งพวกอุปนิสัยกินพืชและเนื้อ ปรากฎว่าพวกหมีที่มีอุปนิสัยกินแต่พืชจะผอมกว่ามากเพราะไม่ได้สารอาหารเพียงพอ ขณะที่หมีกินเนื้อจะมีความกำยำและตัวใหญ่แข็งแรงกว่ามาก !
2.เนื้อที่กินแล้วพอดีกับตัวเอง : นักล่ามีข้อจำกัดปริมาณการล่าเหยื่อ ไม่ใช่ว่าเป็นสัตว์ผู้ล่าแล้วจะล่ากินได้เรื่อยๆตลอดเวลาก็ไม่เชิง เช่นเหยี่ยวหางแดง (Red tailed hawk) กินหนูและสัตว์ขนาดเล็กจำนวน 1-2 ตัวแต่ละครั้งในช่วงที่อยู่ลำพังเท่านั้น แต่เมื่อมีคู่และครอบครัว ปริมาณของเนื้อที่ล่าต้องมากตามสมาชิกอีกด้วยเช่นล่าหนูในปริมาณมากขึ้น หรือล่าเหยื่อตัวใหญ่อย่างกระต่ายป่าเพื่อให้เพียงพอต่อตัวมันเองและลูกๆในรัง
3.สัตว์ใหญ่มีความช่ำเนื้อ : ว่ากันว่าการกินสัตว์ขนาดใหญ่ของสัตว์ผู้ล่าให้ความชุ่มช่ำกว่ากินสัตว์ตัวเล็ก เช่น จระเข้แม่น้ำไนล์ (Nile crocodile) กินม้าลายทั้งตัวที่ทำให้ได้อาหารและน้ำครบถ้วน ทั้งกระดูก เนื้อ และน้ำจากเลือดสัตว์ และที่สำคัญในเนื้อของสัตว์ใหญ่ยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวจากพืชแทรกช่ำในกล้ามเนื้อด้วยทำให้กินแล้วมีมีความช่ำ จระเข้จึงไม่ต้องกินน้ำจากสภาพแวดล้อมแค่ได้น้ำจากอาหารที่กินก็พอ
4.รสชาติของเนื้อที่แตกต่าง : สัตว์ผู้ล่าเลี้ยงลูกด้วยนมเองก็มีความสุขกับลิ้มลองรสชาติเช่นกัน นั้นเพื่อสะดวกในการกินส่วนอื่นๆที่กินยากและรสชาติอ่อนกว่าในภายหลัง เช่นเสือดาว (Leopard) พวกมันชอบกินเนื้อส่วนของสะโพกก่อนจะเครื่องในเสมอเพื่อลิ้มรสส่วนเนื้อที่มีความฟิตและความนุ่มกว่าส่วนอื่นๆที่ต้องใช้เวลาเคี้ยวและกินนั่นเองครับ นอกจากนี้ เนื้อสัตว์ตัวเล็กมีรสชาติอร่อยกว่าเนื้อสัตว์ตัวใหญ่ที่เน้นความช่ำ
5.สัตว์ขนาดเล็กมีสารอาหารสูง : ตามหลักการแล้ว สัตว์ขนาดเล็กมีสารโปรตีนสูงพอให้สัตว์บางประเภทเจริญเติบโตและอยู่รอดได้ เช่น ลิงกอริลล่า (Gorilla) ที่ตัวใหญ่กำยำนั่นมีเมนูอาหารพืชถึง 98% แต่อีก 2% คือปลวกและแมลงแสนอร่อย ซึ่งทำให้ลิงกอริลล่ามีร่างกายแข็งแรงและสารอาหารครบถ้วนได้เช่นกันครับ
Picture CR
ภาพแรก และภาพสาม CaterNews
ภาพสอง John Blakeman
ภาพสี่ Shutterstock
ภาพห้า Limbe wildlife center
โฆษณา