Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
NaNaNurse💊💉🩸
•
ติดตาม
16 ม.ค. 2021 เวลา 11:03 • สุขภาพ
เลือดกำเดาไหล ทำไงดี‼️
เลือดกำเดาไหล (epistaxis) หมายถึง การที่มีเลือดออกจากโพรงจมูก ทางด้านหน้า หรือด้านหลังโพรงจมูก อาจออกข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ สามารถพบได้ทุกเพศ และทุกวัย มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ภาวะนี้มักพบในช่วงฤดูที่มีอากาศหนาวมากกว่าฤดูอื่นๆ เนื่องจากในฤดูหนาว มีความชื้นในอากาศที่ลดลง และมีอุบัติการณ์ของหวัด หรือการอักเสบติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้นเพิ่มขึ้น
เนื่องจากภาวะนี้อาจหายได้เอง หรือดีขึ้นได้เองโดยการดูแลรักษาตามอาการโดยไม่ต้องมาพบแพทย์ ซึ่งสาเหตุและการรักษาด้วยตนเองที่บ้านที่เราควรรู้มีดังนี้ค่ะ
สาเหตุของเลือดกำเดาไหล
1.การระคายเคือง หรือบาดเจ็บบริเวณจมูก
เช่น การแคะจมูกบ่อย เมื่อแคะออกจะเกิดแผลถลอก และอาจเป็นแผลเรื้อรังโดยเฉพาะส่วนด้านหน้าของผนังกั้นช่องจมูก, การได้รับแรงกระแทกที่จมูก (ซึ่งอาจมีกระดูกของจมูกแตกหักร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้), การผ่าตัดในโพรงจมูก เช่นการผ่าตัดเยื่อบุจมูก, การผ่าตัดผนังกั้นช่องจมูก, การผ่าตัดโพรงไซนัส, การใส่ท่อช่วยหายใจผ่านทางจมูก, การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือสูดดมโคเคนอย่างไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ, การสั่งน้ำมูกแรง ๆ หรือมีการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างรวดเร็ว เช่นระหว่างขึ้นเครื่องบิน หรือดำน้ำ เป็นต้น สาเหตุดังกล่าวนี้ จะทำให้เลือดออกจากจมูก เนื่องจากมีการฉีกขาดของเยื่อบุโพรงจมูก เลือดที่ออก มักมีปริมาณไม่มาก และออกเป็นระยะเวลาสั้นๆ และ อาจมีเลือดออกซ้ำในช่วงระยะที่กำลังหายได้ การบาดเจ็บบริเวณศีรษะและใบหน้าอย่างรุนแรง (ซึ่งอาจโดนที่จมูกโดยตรงหรือโพรงไซนัส) จะทำให้เลือดออกจากจมูกเป็นปริมาณมากในระยะแรกได้ แต่ถ้ามีเลือดออกจากจมูกหลังจากการบาดเจ็บในระยะเวลาเป็นสัปดาห์นั้น ควรนึกถึงเส้นเลือดโป่งพองที่เกิดจากอุบัติเหตุด้วย ส่วนภาวะอากาศหนาว ความชื้นต่ำ จะทำให้เยื่อบุจมูกแห้ง และ มีแนวโน้มที่จะทำให้มีการระคายเคือง และเลือดออกได้ง่าย
2.การอักเสบในโพรงจมูก
เช่นจากการติดเชื้อไวรัส, โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, ไซนัสอักเสบ, สิ่งแปลกปลอมในจมูก, การสัมผัสกับสารระคายเคืองต่าง ๆ เช่นการใช้โคเคนสูดทางจมูก รวมทั้งการใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า [nasal continuous positive airway pressure (CPAP)] เพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือการให้ออกซิเจนที่มีความชื้นต่ำ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเหล่านี้ จะทำให้มีเลือดคั่งที่เยื่อบุจมูก และ/หรือเยื่อบุไซนัสมากกว่าปกติ และเส้นเลือดแตกได้ง่าย เลือดที่ออกจากสาเหตุนี้มักจะปนมากับน้ำมูก แต่ถ้าความรุนแรงของการอักเสบเพิ่มขึ้น หรือ ผู้ป่วยสั่งน้ำมูกแรงๆ ก็อาจจะมีเลือดออกมากได้
3.ความผิดปกติทางกายวิภาค
เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด หรือมีกระดูกงอก หรือมีรูทะลุ ทำให้เกิดความไม่สมดุลของอากาศที่ผ่านเข้าออก ผู้ป่วยมักมีเลือดกำเดาไหลข้างที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือข้างที่แคบ เนื่องจากข้างที่แคบนั้น มีลมหายใจ หรืออากาศผ่านเข้า-ออก มากและเร็วกว่า ทำให้เยื่อบุจมูกบริเวณดังกล่าวแห้ง มีสะเก็ด และเปราะบาง ทำให้มีเลือดออกได้ง่าย จุดที่มักจะเกิดเลือดออกนั้น มักจะเป็นที่ตำแหน่งทางด้านหน้าของบริเวณที่มีการคดงอ หรือ มีกระดูกงอก
4.เนื้องอก
เช่น มะเร็งในจมูก ไซนัส หรือโพรงหลังจมูก หรือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก อาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกจากจมูกได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการเลือดออกจากจมูกเป็นๆหายๆ หรือเลือดออกจมูกเป็นปริมาณมาก ควรได้รับการส่องกล้องตรวจในโพรงจมูก หรือได้รับการตรวจเอ็กซเรย์ว่า มีเนื้องอกเป็นสาเหตุหรือไม่
5.ความผิดปกติของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงจมูก
เช่น เส้นเลือดโป่งพองที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือ ความผิดปกติของเส้นเลือดแดง และดำที่มาเชื่อมต่อกันจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
6.โรคเลือดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เช่น ฮีโมฟีเลีย , โรคตับแข็ง, การได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด, การขาดวิตามิน K, ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ หรือทำงานบกพร่อง เช่น ได้รับยา aspirin หรือ NSAIDs เป็นต้น
7.โรคของหลอดเลือด เช่นโรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย (hereditary hemorrhagic telangiectasia) หรือผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นเลือดแข็งตัว ซึ่งพบบ่อยในโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
การรักษาเบื่องต้น
1.ขั้นต้นให้ผู้ป่วยเงยหน้ทหรือก้มหน้าลง ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบปากจมกูทั้งสองข้างให้แน่นเป็นเวลา5–10นาทีให้หายใจทางปากแทนอาจวางผ้าเย็นหรือถุงนำ้แข็งบนดั้งจมูกดเวยก็ ได้
2.หลังเลือดกำเดาไหล ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ การแคะจมูก,การกระทบกระเทือนบริเวณจมกู ,การออกแรงมาก,การเล่นกีฬาที่หักโหมหรือยกของหนัก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้
3.ถ้าเลือดหยุดแล้วควรนอนพักยกศีรษะสูงนําน้ําแข็งหรือcoldpackมาประคบบริเวณ หน้าผากหรือคอ อมน้ําแข็งเพื่อให้เลือดหยุด การประคบหรืออมน้ำแข็งควรประคบหรืออม ประมาณ 10 นาที แล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาที แล้วคอยประคบหรืออมใหม่เป็นเวลา10 นาที ทําเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ
4.ถ้าเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อ ปรึกษาแพทย์ทันที่ อาจต้องทำการห้ามเลือดด้วยวิธีจี้บริเวณทเลือดออกด้วยสารเคมีหรือไฟฟ้า การใส่วสัดุห้ามเลือด ในจมูก หรือการผูกหลอดเลอืดแดง เพื่อให้เลือดหยุด หาสาเหตุ แล้วรักษาตามสาเหตุนั้น แม้เลือดหยุดได้เองก็ควรไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย - The Royal College of Otolaryngologists-Head and Neck Surgeons of Thailand
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย