Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าจากร่างกาย
•
ติดตาม
16 ม.ค. 2021 เวลา 12:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมรูจมูกของคนเรามักจะตันข้างนึง ?
4
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน
7
มีใครเคยรู้สึกไหมครับว่า
จมูกของเราหมือนจะหายใจได้ทีละข้าง คือ จะมีข้างนึงหายใจได้โล่งกว่าอีกข้าง ? (อันนี้ถามจริง ๆ แบบอยากให้ช่วยแชร์คำตอบ เพราะผมไม่รู้ว่ามีคนที่หายใจโล่งทั้งสองข้างมากน้อยแค่ไหน)
6
แล้วอาการจมูกตันแบบนี้ ก็มักจะสลับข้างกันเป็น
บางครั้งรูจมูกข้างซ้ายก็โล่งกว่า
บางครั้งเป็นรูจมูกขวาที่โล่งกว่า
17
ถ้าเคยเป็นแบบนี้นะครับ อาจะไม่ได้แปลว่าคุณเป็นโรคภูมิแพ้ แต่คุณกำลังสัมผัสกลไกที่น่าสนใจของร่างกายที่มีชื่อเรียกว่า nasal cycle
16
คำถามคือ จมูกเราสลับข้างกันทำงานเพื่ออะไร ?
2
แรกสุดเลยนะครับ เราต้องรู้ก่อนว่า เวลาที่เรารู้สึกว่าจมูกมันตันข้างนึงนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เนื้อเยื่อที่บุภายในโพรงจมูกมันบวมขึ้น ผลคือ ช่องที่ลมจะผ่านได้มีขนาดเล็กลง
11
ดังนั้น ลมก็จะเข้ารูจมูกอีกข้างมากกว่า
1
กลับมาที่คำถามว่า จมูกเราสลับข้างกันทำงานเพื่ออะไร ?
7
คำอธิบายที่เชื่อกันมากที่สุดในปัจจุบันคือ
การทำงานแบบนี้ของจมูกมีประโยชน์อย่างน้อย 2 ข้อด้วยกัน
8
หนึ่ง ให้รูจมูกข้างหนึ่งได้พัก
สอง ทำให้การรับกลิ่นทำงานดีขึ้น
25
คืออย่างนี้ครับ
6
ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจหน้าที่ของจมูกกันก่อน
หน้าที่หนึ่งของรูจมูกคือ ทำหน้าที่เป็นเครื่องปรับอากาศและกรองอากาศ ให้เหมาะสมก่อนที่อากาศจะไหลผ่านลงไปสู่ปอดทั้งสองข้าง
4
ปอดของเราจะมีความเรื่องมากเกี่ยวกับอากาศนิดนึง คือ ฝุ่นก็ไม่ชอบ อากาศเย็นไปก็ไม่ชอบ แห้งไปก็ไม่ได้
7
จมูก (และโพรงไซนัส) จึงคอยปรับอากาศที่หายใจเข้าไปให้ อุ่น ชื้นและปราศจากฝุ่นใหญ่ ๆ และนี่ยังอธิบายว่าทำไมเวลาเราหายใจทางปากนาน ๆ เราจะรู้สึกคอแห้ง แสบ เพราะอากาศที่ยังไม่ถูกปรับจะทำให้เยื่อบุในลำคอแห้ง (และเย็นถ้าหายใจในเมืองหนาว)
14
แต่จมูกก็ทำงานได้แค่ระดับหนึ่งถ้าทำงานมากไป (เจออากาศที่แห้งและเย็นมาก ๆ) ผิวที่บุจมูกก็จะแห้งแตก (แสบจมูก อาจจะมีเลือดกำเดาไหล)
14
แต่ร่างกายก็จะมีกลไกป้องกัน คือ ก่อนที่จมูกจะแห้งเพราะทำงานมากไป ระบบประสาทอัตโนมัติก็จะทำให้เยื่อบุจมูกมีเลือดมาคั่งเพิ่มขึ้น
เลือดที่อุ่น ๆ จะทำให้ผนังที่บุด้านในของโพรงจมูกบวมขึ้น จนอากาศผ่านเข้าได้ลดลง จนเรารู้สึกว่าจมูกข้างนั้นตัน จมูกอีกข้างก็จะรับภาระงานเพิ่มขึ้นแทน
29
โดยสรุปก็คือ ว่า การสลับกันทำงาน เป็นกลไกให้จมูกแต่ละข้างทำงานหนักเกินไป โดยเฉพาะเมื่อเราต้องหายใจเอาอากาศที่แห้งและเย็น (เช่น ฤดูหนาว หรือในห้องแอร์)
8
คราวนี้มาถึงประโยชน์ข้อที่สอง นั่นก็คือ การรับกลิ่นที่ดีขึ้น
1
ปกติเวลาเราพูดว่า เราได้กลิ่น จริงๆ มันก็คือ สารเคมีที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไปจับกับ 'ตัวจับ' ที่อยู่ภายในช่องจมูก
7
แต่สารเคมีในอากาศที่ทำให้เกิดกลิ่นนั้น แต่ละตัวก็มีคุณสมบัติต่างกันไป บางตัวจับกับตัวจับ ได้ง่าย บางตัวจับกับตัวจับ ได้ยาก
5
สารเคมีที่จับกับ 'ตัวจับ' ยาก ร่างกายก็จะอยากให้สารเคมีนั้นไหลผ่านจมูกช้า ๆ อยู่ในจมูกนาน ๆ ถ้าลมผ่านจากจมูกลงไปที่ปอดได้เร็ว เราจะได้กลิ่นสารนั้นไม่ดี หรือ อาจจะพูดง่ายๆว่า จมูกจับกลิ่นไม่ทัน
6
สารเคมีที่จับกับ 'ตัวจับ' ได้ง่าย ร่างกายก็จะอยากให้สารนั้นเข้าจมูกได้เร็ว เพื่อให้ผ่านเข้าไปในด้านในลึก ๆ ของรูจมูก ที่มีตัวจับหนาแน่นกว่า
5
ดังนั้นการที่จมูกเรา ตันข้างนึง โล่งข้างนึง จึงช่วยให้เราดมกลิ่นของสารเคมีทั้งสองแบบที่มีลักษณะต่างกัน ได้ดีทั้งสองแบบนั่นเอง
4
ได้คำตอบกันแล้วนะครับว่าทำไมจมูกเราบางครั้งจึงตันข้างนึง โล่งข้างนึง
3
รู้แบบนี้แล้ว มีใครรู้สึกไหมครับว่า จากเดิมที่คิดว่า ร่างกายเราผิดปกติ แต่พอเข้าใจกลไกการทำงานแล้ว รู้สึกขึ้นมาว่า ร่างกายเราฉลาดกว่าที่คิดแหะ
9
แถมอีกนิด ถ้าใครไม่ชอบภาวะจมูกตัน แล้วอยากหายใจโล่ง ๆ เทคนิคง่าย ๆ ที่ทำได้คือ ออกกำลังกายครับ ลองวิดพื้น หรือ squat (ลุกนั่ง) ไปสักระยะ จมูกเราจะโล่งขึ้นเอง เพราะเมื่อเราออกกำลังกาย เรากำลังบอกร่างกายว่า ฉันต้องการออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเพิ่มแล้วนะ
17
เดี๋ยวสักพักจมูกจะเปิดโล่งให้ทั้งสองข้างเองครับ
3
อ้อ แล้วถ้าชอบวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกายแบบนี้นะครับ ลองหาหนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย หรือ 500 ล้านปีของความรัก มาอ่านกันดูนะครับ
4
👉 สามารถซื้อออนไลน์ได้ที่
https://shopee.co.th/cthada
ขอบคุณ Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน ที่ให้การสนับสนุนบทความนี้นะครับ
✅Ocylens คอนแทคเลนส์รายวันใส่สบายเพราะทำจากวัสดุพรีเมี่ยม Etafilcon A
🔥 พิเศษสำหรับแฟนเพจเรื่องเล่าจากร่างกาย ซื้อ 1 แถม 1
เพียงใส่โค้ด OCY11 ในช่องหมายเหตุหน้าชำระเงิน 🔥
(1 สิทธิ์/ท่าน โค้ดมีจำนวนจำกัดนะครับ)สนใจคลิกที่ลิงก์)
1
👉
https://shp.ee/h8crxkh
215 บันทึก
566
37
362
215
566
37
362
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย