.
“ #การประกาศแตกพาร์ของหุ้นหนึ่งๆกระทบมูลค่าบริษัทหรือราคาหุ้นตัวนั้นๆมากเพียงไหน? “
.
.
ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า “แตกพาร์” เผื่อใครยังไม่เข้าใจก่อนนะครับ
- ราคาพาร์ (Par Value) คือ ราคาหุ้น 1 หุ้นที่กำหนดไว้ตอนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (ส่วนราคาที่เราซื้อขายอยู่ทุกวัน เรียกว่าราคาตลาด หรือ Market Value นะครับ)
- การแตกพาร์ คือ การแบ่งราคาพาร์ที่กำหนดไว้เดิมให้ลดลง เพื่อให้มีจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบง่ายๆ คือ ราคาพาร์เดิมเหมือนส้มผลหนึ่ง การแตกพาร์คือแบ่งผลส้มนั้น ออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำให้ส้มลูกนั้น กินได้หลายคนมากขึ้น โดยที่มูลค่าส้มลูกนั้นยังคงเท่าเดิม
.
ส้ม 1 ลูก = 5 บาท
ประกาศแตกพาร์ จาก 5 บาท เหลือ 1 บาท
เท่ากับว่า แบ่งส้มลูกนั้นออกเป็น 5 ส่วน ส่วนละ 1 บาท
ดังนั้น ส้มลูกนี้จะมี 5 ส่วน (ทานได้ 5 คน) โดยที่จ่ายคนละ 1 บาท
คล้ายๆ กับการแบ่งส้มเพื่อขาย ครับ
มูลค่าส้มผลเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลง
.
.
.
หากถามว่า แล้วหุ้นจะแตกพาร์เพื่ออะไร?
.
คำตอบคือ
เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายครับ
ส่วนใหญ่ การประกาศแตกพาร์ของหุ้น จะเกิดขึ้นในหุ้นที่มีราคาตลาด (Market Value) ที่ค่อนข้างสูงมากแล้ว ส่วนใหญ่จะราคาเกิน 100 บาท/หุ้น
.
ซึ่งเมื่อราคาหุ้นแพงมากๆ นักลงทุนจะซื้อขายน้อย (เห็นว่าราคาต่อหุ้นสูง เลยไม่สนใจซื้อมากนัก) บริษัทเลยมักมีการประกาศแตกพาร์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง พูดง่ายๆ คือทำให้ราคาหุ้นต่อหน่วยลดลง เพื่อจูงใจให้นักลงทุนสนใจซื้อขายมากขึ้น
.
ข้อสังเกตุคือ การแตกพาร์ไม่ได้ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นโดยตรงนะครับ แต่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้หุ้นนั้นๆ เป็นที่สนใจเข้าซื้อขายมากขึ้น จนราคาหุ้นอาจเพิ่มขึ้นได้ครับ
.
.
.
“ แตกพาร์มีผลให้ราคาขึ้นเพิ่มขึ้นจริงมั้ย? “
.
อันนี้ผมไม่ขอฟันธงนะครับ แต่ผมขอรวบรวมประวัติการแตกพาร์ของหุ้นเท่าที่ผมหาข้อมูลได้ (โปรดใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์นะครับ อดีตไม่ได้การันตีนะครับ ว่าอนาคตหุ้นอื่นที่ประกาศแตกพาร์จะได้ผลลัพธ์ต่อราคาหุ้นเหมือนกัน)
.