3 มี.ค. 2021 เวลา 05:09 • การศึกษา
CIS คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศไทย
เครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States หรือ CIS รัสเซีย: Содружество Независимых Государств หรือ СНГ) โดยมีอดีตประเทศที่แยกตัวจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต 12 ประเทศ จากทั้งหมด 15ประเทศ และได้ตั้งเป็นกลุ่ม CIS ขึ้นมาได้แก่
1. รัสเซีย
2. คาซัคสถาน
3. ยูเครน
4. อุซเบกิสถาน
5. เบลารุส
6. คีร์กีซสถาน
7. มอลโดวา
8. ทาจิกิสถาน
9.จอร์เจีย ในกรณีของประเทศจอร์เจียนี้ได้มีปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติในดินแดน South Ossetia และ Abkhazia ตั้งแต่ประกาศเอกราชในปี 1991 ซึ่งประเทศรัสเซียเข้าไปเกี่ยวข้องจนเกิดการสู้รบกันและรัสเซียให้การรับรองเอกราชของดินแดน South Ossetia และ Abkhazia ในเวลาต่อมา ทำให้จอร์เจียออกจากการเป็นสมาชิกเครือรัฐเอกราช (CIS) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2008
10. เติร์กเมนิสถาน
11. อาร์มาเนีย
12. อาเซอร์ไบจาน
การจัดตั้งกลุ่ม CIS มีเป้าหมายเพื่อความอยู่รอดของแต่ละประเทศ โดยยึดหลักความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งยังเป็นการเร่งขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การทหาร และการเมือง เพื่อยกระดับสถานะของกลุ่มให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ
สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union : EaEU)
ในปี ค.ศ. 2012 จุดเริ่มต้นจากการนำเสนอแนวความคิดเรื่อง “สหภาพยูเรเชีย” (Eurasian Union) โดยประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการบูรณาการเศรษฐกิจและการค้าระหว่างรัฐต่างๆ ภายในยูเรเชียมากขึ้น และปูทางไปสู่การบูรณาการทางการเมืองในอนาคต โดยมีสหภาพยุโรปเป็นตัวแบบสำคัญ โดยปูตินตั้งเป้าหมายว่าจะบรรลุการเป็นสหภาพยูเรเชียให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2015
(สมาชิกประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ อาร์เมเนีย เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และรัสเซีย EAEU มีจานวนประชากรรวมกันกว่า 182.7 ล้านคน ขนาดพื้นท่ีรวมท้ังหมดมากกว่า 20 ล้าน ตารางกิโลเมตร
กลุ่มประเทศสมาชิกของ EAEU มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ในกลุ่ม Lower Middle Income (รายได้ปานกลางระดับต่า) ได้แก่ อาร์เมเนีย และคีร์กีซสถาน ในขณะที่รัสเซีย เบลารุส และคาซัคสถาน จัดอยู่ในกลุ่มประเทศ Upper Middle Income (รายได้ปานกลางระดับสูง) ข้อมูลจานวนประชากร (Population) รายได้ประชาชาติต่อหัว (GNI per Capita) ปริมาณเงินทุนไหล เข้า (FDI Inflow) และอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business Rankings) ของ ประเทศในกลุ่ม EAEU แสดงดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1
เพื่อเปิดเสรีทางการค้า บริการ และการลงทุนภายในกลุ่ม โดยการพัฒนาเรื่องสหภาพศุลกากร (Customs Union) และกลายเป็นตลาดเดียวกัน (Single Market) มุ่งขจัดอุปสรรคต่อการเปิดเสรีทางการค้า การเคลื่อนย้าย แรงงานและเงินทุนเสรีระหว่างประเทศสมาชิก และส่งเสริมการค้าท่ีเป็นธรรม
ประเทศไทยให้ความสนใจในการสร้างหรือเข้าร่วมเขตการค้าเสรี ร่วมกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียที่นำโดยสหพันธรัฐรัสเซีย (Eurasian Economic Union - EEU) เพื่อนำไปสู่การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย และคาดว่าจะมีการยื่นเอกสารลงนามร่วมกัน และข้อตกลงอื่นๆ อย่างเป็นทางการ ในอนาคตอันใกล้นี้
ประเทศไทยยังสามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่อยู่ในสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (EAEU) โดยประเทศไทยต้องเร่งกระบวนการเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย เพื่อไม่ให้สินค้าของไทยเสียเปรียบประเทศคู่แข่งจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน โดยที่ประเทศเวียดนามได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียแล้ว และในขณะนี้ทางฝ่ายของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Commission: EEC) ได้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับอีก 7 ประเทศ คือ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศอิสราเอล ประเทศอิหร่าน ประเทศอินเดีย ประเทศอียิปต์ ประเทศเซอร์เบีย และประเทศจีน
ปัจจุบันกลุ่มประเทศ CIS ถือเป็นตลาดเกิดใหม่ในเวทีการค้าโลก ซึ่งมีศักยภาพสําหรับไทยในการขยายการค้า และการลงทุนใน อนาคต โดยมีจำนวนประชากรมากกว่า 275 ล้านคน และรายได้ของประชากรในประเทศ ในปี ค.ศ. 2008 มีมูลค่าโดยรวมประมาณ 3.12 ล้านล้านเหรียญสหรฐัฯ นอกจากนี้ประเทศที่มีในกลุ่ม CIS ยังมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย อาทิ ป่าไม้ น้ํามัน น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เหล็ก และโลหะที่สำคัญอื่นๆ อีกด้วย
สภาวะการแข่งขันของตลาดโลกได้เพิ่มขึ้นตามยุคสมัย ในเรื่องของประสิทธิภาพทางด้านเส้นทางขนส่งของแต่ละประเทศใน CIS จึงถือว่าเป็นยุทธ์ศาสตร์ที่สำคัญ ในการเปิดบ้านเพื่อต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ เพราะถ้าประเทศนั้นๆ มีความพร้อมเพื่อด้านระบบการจัดการการส่งสินค้า (logistics) ก็จะเป็นการส่งเสริมด้านจุดแข็งของประเทศนั้นๆ ในการขนส่งสินค้าและบริการ จะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นอีกทางหนึ่งแก่นักลงทุน และอัตราการขนส่งสินค้าคิดเป็นมูลค่าไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าสินค้าขนส่งทั้งหมดสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนประเทศที่กําลังพัฒนาในกลุ่มประเทศ CIS และยังมีระบบการขนส่งที่ยังไม่ได้มาตรฐาน อย่างประเทศทาจิกิสถานด้านอัตราค่าขนส่งสินค้าอาจสูงถึงร้อยละ 50 อีกทั้งยังมีการจํากัดชนิดของสินค้าส่งออกเฉพาะ บางประเภทเท่าน้ันด้วย
แผนที่ แสดงที่ตั้งของกลุ่มประเทศในเครือรัฐเอกราช
แปดในสิบ ประเทศของกลุ่ม CIS เป็นประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล และบางประเทศอย่างประเทศอุซเบกิสถานมีการล้อมรอบโดยธรรมชาติ ด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Doubly Landlocked) ทําให้การขนส่งสินค้าทางบกจะต้องผ่านประเทศอื่นๆ อย่างน้อย 2 ประเทศ จึงจะสามารถขนสินค้าเข้าทางท่าเรือได้ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในประเทศที่เป็นสมาชิก CIS โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางฝั่งของภูภาคเอเชีย มีเส้นทางที่ไกลจากเส้นทางการเดินเรือ จึงส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลานาน และมีค่าขนส่งในอัตราสูงด้วย และการส่งออกสินค้าจะต้องเจอกับอุปสรรคและความเสี่ยงต่างๆ ทั้งจากทางด้านพิธีการศุลกากร การขนสินค้าผ่านด่านในแต่ละประเทศ และการกักเก็บสินค้า ถึงแม้ว่าประเทศนั้นๆ อาจจะมี นโยบายทางการค้าที่เหมือนเอื้ออํานวยแก่นักลงทุนแล้ว ก็ตาม ดังนั้นการเรามีผู้ร่วมงานในพื้นที่ ที่สามารถช่วยเหลือเราและประเทศนั้นๆ ได้ จะสามารถแก้ปัญหาที่อาจจะคาดการณ์ไม่ถึงได้
ลลิตา รวดเร็ว ผู้วิเคราะห์
โฆษณา