17 ม.ค. 2021 เวลา 12:41 • ปรัชญา
[การเดนทางสู่การมีอิสรภาพทางการเงิน] EP.2 The Beginning
จาก Episode ที่แล้ว ไม่ได้บอกว่าแล้วจะเริ่มต้นยังไง Episode นี้จะมาพูดถึงการเริ่มต้นเดินทางสู่การมีอิสรภาพทางการเงินกันครับ
ในการเริ่มต้นนั้นเราจะต้องคุยกับตัวเองให้จบก่อนว่าเราต้องการที่จะมีอิสรภาพทางการเงินไปเพื่ออะไร
การที่เรารู้ว่าเราอยากอยากได้ไปทำไมนั้นสำคัญกว่าการรู้วิธีการ เพราะเมื่อเรารู้ว่าเราต้องการทำไม วิธีการที่จะไปจุดหมายนั้นก็จะมาเอง
จุดมุ่งหมายในการบรรลุอิสรภาพทางการเงินของเราแตกต่างกัน ดังนั้นวิธีการจึงมีความแตกต่างกันในการบรรลุ รวมถึงการเดินทางระหว่างนั้นด้วย
การมีอิสรภาพทางการเงินนั้นไม่ใช่การที่อยู่เฉย ๆ แล้วมีเงินใช้เข้ามาตลอดเวลา
หลายคนเข้าใจไปเองว่าการมีรายได้ Passive Income นั้นสบาย เราไม่ทำอะไรก็มีเงินใช้ ขอบอกไว้ตอนนี้ก่อนนะครับ “ตื่นสักทีเถอะครับ”
ไม่มีงานอะไรที่เราอยู่เฉย ๆ แล้วได้เงินแน่นอนครับ ขอบอกไว้ตรงนี้ เน้นย้ำกันอีกสักครั้ง
ถ้าใครคาดหวังว่าผู้เขียนจะมีคำตอบว่าจะต้องทำอะไรถึงจะอยู่เฉย ๆ แล้วมีเงินเข้ามาในบัญชี แนะนำให้ตื่นจากฝันก่อนนะครับ
เพราะไม่ว่าจะเป็นอะไร เราก็ต้องมีการลงมือทำก่อน ทุกงานหรือทุกทรัพย์สินที่เราลงทุน
ไม่มีใครที่จะโยนมาให้เราแบบฟรี ๆ ไปตลอดชีวิต
การมีอิสรภาพทางการเงินนั้น ทำให้เราไม่ต้องไปพะวงหน้าพะวงหลังเรื่องเงินอีก เราจะสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่เรื่องเงินเป็นข้อผูกมัดใจเรา
ดังนั้น การมีอิสรภาพทางการเงินนั้นจึงไม่เกี่ยวว่าคุณยังทำงานประจำอยู่ หรือรับจ้างทั่ว ๆ ไป ถ้าอาชีพหรืองานนั้นตอบโจทย์ชีวิตของเรา เราก็ทำงานนั้นต่อไป เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะทำอะไร โดยที่ไม่มีข้อผูกมัดเรื่องเงิน และเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง
สำหรับความหมายในทางเศรษฐศาสตร์นั้น อิสรภาพทางการเงิน จะหมายถึง การที่เรามีทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ให้เรามากกว่ารายจ่ายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ฟังดูอาจจะง่าย แต่เดินทางนั้นแสนยากและยาวไกล
สำหรับผู้ที่มีรายจ่าย มีความอยาก มีความต้องการในชีวิตมาก ๆ อยากได้สิ่งต่าง ๆ ทุกสิ่งที่บอกว่า “ของมันต้องมี” การที่มีอิสรภาพทางการเงินสำหรับบุคคลประเภทนี้ดูจะเป็นอะไรที่ยากที่จะทำให้มีอิสระขึ้นมา
เพราะเรามีความอยากได้ อยากมี อยากเป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ตลอดเวลา ซึ่งถ้าเราต้องตอบสนองความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้ได้รับการเติมเต็ม ความอยากเปรียนเสมือนหลุมดำ ไม่ว่าจะเติมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม แต่ถ้าเราสามารถกำหนดความอยากของเราได้ ลองคิดดูว่าจะเป็นอย่างไร
0% 10 เดือน ก็ไม่มีภาระอะไรที่ต้องจ่าย รายจ่ายลดลงทันที ของที่มีอยู่ก็ยังใช้ได้ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อใหม่ เมื่อเราสามารถกำหนดรายจ่ายให้ต่ำลงได้ เราก็ไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินที่ทำให้เงินให้เรามากมายขนาดนั้น เราก็จะบรรลุเป้าหมายอิสรภาพทางการเงินได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
เมื่อเรารู้ความต้องการที่แท้จริงของเราแล้วว่าเราต้องการอะไร ในขั้นที่ค้นหาความต้องการนั้นแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นคงให้คำตอบไม่ได้ว่าควรจะตั้งเป้าหมายอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เพราะขนาดตัวเรา ที่อยู่กับตัวเองนานที่สุดยังไม่รู้ความต้องการของตัวเองก็ไม่รู้ว่าคนอื่นจะรู้ความต้องการของตัวเองได้อย่างไร
การสมดุลระหว่างความอยากได้ อยากมี อยากเป็น กับเงินที่หามาได้จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายอิสรภาพทางการเงินได้ช้าหรือเร็วขึ้นได้เช่นกัน
โฆษณา