Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอไทยมีคำตอบ
•
ติดตาม
17 ม.ค. 2021 เวลา 16:12 • สุขภาพ
สมาธิบำบัด ดีจริงหรือ ?
หลายท่านคิดว่าการฝึกสมาธิเป็นเรื่อของศาสนา หรือเป็นเรื่องที่ไม่มีผลต่อสุขภาพแต่การฝึกสมาธิมีผลต่อสุขภาพโดยตรงเพราะการฝึกสมาธิ โดยการพิจารณาลมหายใจเข้า หายใจออก
หรือทางคำพระเรียกว่าการอยู่กับ ”ลมหายใจ” หากเจียรนัยดูแล้วจะพบว่าลมหายใจของเรานั้นมีหลายลักษณะ อาทิเช่น ลมหายใจสั้น ลมหายใจยาว ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด
พระประธานในอุโบสถวัดใหญ่ชัยมงคล
ในความรู้ทางแพทย์แผนไทย แบ่งลมไว้หลายจำพวกตามแต่บริบทของคัมภีร์ ในที่นี้ขอยกลมหกจำพวกหรือ “ฉกาลวาโย” มาอธิบายพอสังเขป ดังนี้
1.อุทธังคมาวาตา คือ ลมบัดขึ้นเบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าตลอดศีรษะ
2.อโธคมาวาตา คือ ลมบัดลงเบื้องล่างตั้งแต่ศีรษะตลอดถึงปลายเท้า
3.กุจฉิสยาวาตา คือ ลมพัดในท้องแต่นอกลำไส้
4.โกฏฐาสยาวาตา คือ ลมสำหรับพัดในลำไส้และในกระเพราะอาหาร
5.อังคมังคานุสาริวาตา คือ ลมสำหรับพัดทั่วสรรพางค์กาย
6.อัสสาสปัสสาสวาตา คือ ลมหายใจเข้าออก
จะเห็นว่ามีลมอัสสาสปัสสาสวาตาหรือที่เราเรียกว่า”ลมหายใจเข้า-ออก” รวมอยู่ในลมทั้งหกจำพวกด้วย และเมื่อเราหายใจเข้ารับก๊าซออกซิเจน( อาหารใหม่ ) หายใจออกนำคาร์บอนไดออกไซด์ (อาหารเก่า ) เป็นกระบวนกการแลกเปลี่ยนแก๊ส แต่ทางศาสตร์ของแพทย์แผนไทยคือการขับมละธาตุหรือของเสียออกจากร่างกาย (อาหารใหม่) และนำธารณธาตุ (อาหารใหม่ในที่นี้คือ ออกซิเจน) เข้าไปย่อยในระดับเซลล์เปลี่ยนเป็นตรีธาตุ เสมหะ ปิตตะ วาตะ ทั้งสามสิ่งนี้จะส่งผลต่อระบบสุขภาพอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างของ วาตะคือลม ทั้งกองละเอียดและหยาบที่ไหลเวียนเคลื่อนอยู่ทุก ๆ อนูของกาย ส่งผลให้มีอาการปวดหัว เวียนศีรษะ มีอาการเมื่อยขบ เป็นต้น การใช้สมาธิบำบัดสามารถลดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้เพราะเป็นการบริหารลมหายใจหากควบคุมลมหายใจได้ถูกต้องจะส่งผลให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่ต้องหมั่นทำอย่างสม่ำเสมอถ้าการทำเพียงครั้งเดียวไม่อาจเห็นผลได้ ต้องทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ท่านจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวท่านเอง
การทำสมาธิบำบัดเบื้องต้น
ท่านผู้อ่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ข้าพเจ้าคิดว่า ท่านเริ่มสนใจในการดูแลสุขภาพด้วยวิธีการง่าย ๆ หรือสมาธิบำบัด
แรกเริ่มนั้นต้องฝึกสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ให้เต็มปอดและปล่อยลมหายใจออกให้ท้องแฟบ นี่คือขั้นแรกของการฝึก
ต่อมาคือการรู้ที่ตั้งของจิต มีการวางที่ตั้งของจิตอยู่หลายที่แล้วแต่ครูบาอาจารย์แต่ละสายที่สั่งสอน ไม่ว่าจะเป็น ตั้งจิตที่ระหว่างคิ้ว ที่ปลายจมูก ที่ใจ ที่ท้อง สุดแล้วแต่ท่านจะเลือกซึ้งไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว แต่จุดที่จะแนะนำมีสองตำแหน่งคือ บริเวณปลายจมูกและบริเวณท้อง เพราะเราสามารถรับรู้ลมหายใจได้ชัดเจน สามารถทราบถึงระดับการหายใจว่าลึกหรือตื้น หยาบหรือละเอียด
ขั้นสุดท้ายต้องลงมือปฏิบัติ จะอยู่ในท่านั้ง นอน เดิน หลับตา ลืมตาสุดแล้วแต่ท่าน แต่สิ่งสำคัญคือการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ให้สม่ำเสมอ
ในครั้งแรกให้ฝึกอย่างน้อยวัน 10 นาที ในเวลาที่สะดวกหรือยามว่าง ถือเป็นการใช้เวลาว่างเพื่อประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง ขอให้ท่านผู้อ่านลองฝึกตามดูว่ามีผลดีต่อตัวท่านหรือไม่เพราะถ้าไม่ลองสัมผัสแล้วมิอาจรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือเลว อย่าพึ่งเชื่อให้ลองพิสูจน์ดูก่อน
หากมีข้อมูลผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องประการใดข้าพเจ้าขออภัยมา ณ ที่นี้
#หมอไทยมีคำตอบ
1 บันทึก
2
3
1
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย