17 ม.ค. 2021 เวลา 17:05 • ประวัติศาสตร์
เบื้องหลังผู้พิชิตอุโมงค์ขุนตาน
พ.ศ. 2461 ลำปาง - ลำพูน
ในปี พ.ศ.2448 สมัยรัชกาลที่ 5
สยามได้วางรางเปิดการเดินรถไฟ
จากกรุงเทพฯถึงปากน้ำโพ
การสร้างทางรถไฟสายเหนือ
มีความคืบหน้าเป็นระยะๆ
จุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่
ต้องเจาะอุโมงค์ลอดใต้ภูเขา
ยาว 1,352.10 เมตร เพื่อให้รถไฟ
ลอดผ่านไป เลือกพื้นที่ภูเขาบริเวณ
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน
ระหว่างอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2450
1
โดยการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม
มีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยาการ
กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่าง
ชาวเยอรมันชื่อ เอมิล ไอเซน โฮเฟอร์
เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
.
เมื่อขุดเจาะไปได้ 4 ปี
ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
ทำให้การก่อสร้างยาวนาน
แล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2461 ใช้เวลาทั้งสิ้น 11 ปี
.
ในการขุดเจาะอุโมงค์นั้น
ใช้แรงงานจากคนล้วนๆ โดยเจาะรูเล็กๆ
โดยใช้สว่าน หรือใช้แรงคนตอกสกัด
ให้เป็นรูเพื่อนำดินระเบิดไดนาไมต์
ฝังเข้าไปในรูเพื่อระเบิดให้เป็นอุโมงค์ใหญ่
ส่วนการขนดิน และหินออกจากอุโมงค์
ก็ใช้คนงานขนออกมา
การขุดเจาะเริ่มจากปลายอุโมงค์ทั้ง 2 ข้าง
เข้ามาบรรจบกันตรงกลาง
ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี อุโมงค์จึงทะลุถึงกันได้
และใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อผูกเหล็ก เทคอนกรีต
ทำผนัง และหลังคาเพื่อความแข็งแรง
ป้องกันน้ำรั่วซึมจนอุโมงค์แล้วเสร็จ
เบื้องหลังความสำเร็จ
มีแรงงานชาวจีน ชาวอีสาน และไทยใหญ่
แบ่งหน้าที่การทำงาน
แรงงานพวกหนึ่งเป็นพวกเร่ร่อน
ไม่มีทางเลือกในชีวิตและยังติดฝิ่นอีกด้วย
การมาสร้างอุโมงค์
เปิดโอกาสให้การสูบฝิ่นไม่ผิดกฏหมาย
จึงทำให้เป็นที่ชื่นชอบ และมีกรรมกรขุดเจาะ
ทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง
โดยแบ่งกะเป็นผลัด
แต่ละผลัดนั้นมีคนงานประมาณ 120 คน
ขุดเจาะอุโมงค์ทั้งสองฝั่ง
.
ในบันทึกของ เอมิล ไอเซน โฮเฟอร์
วิศวกรใหญ่ ระบุว่าการสร้างทางรถไฟช่วงนี้
ใช้คนงานจีน ทำงานเกี่ยวกับดิน
ส่วนการขุดเจาะอุโมงค์
ใช้คนงานจากภาคอีสาน
เนื่องจากคนงานจีน
ไม่ยอมเข้าไปทำงานในอุโมงค์
เพราะมีความเชื่อว่าในอุโมงค์
มีภูตผีปีศาจสิงอยู่ จึงเกิดความหวาดกลัว
ส่วนคนงานผูกเหล็ก ทำผนัง เป็นชาวไทยใหญ่
.
การเข้าไปทำงานกลางป่าทึบ
ทำให้คนงานต้อง เป็น โรคมาลาเรีย
คร่าชีวิตคนงานอยู่เป็นระยะๆ
อีกทั้งโรคปอดที่เกิดจากการสูดฝุ่นหิน
เข้าไปขณะทำงาน ควันพิษจากการระเบิดหิน
ในขณะที่เวลากลางคืนก็มักมีเสือ
มาคาบเอาคนงานไปกินเป็นอาหาร
รวมทั้งม้าที่นำมาไว้ใช้แรงงาน
.
หลังจากอุโมงค์ขุนตานสำเร็จ
มีการวางรางเรียบร้อย จึงเปิดเดิน
รถไฟสายเหนือตลอดถึงเชียงใหม่
อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2464 ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
เป็นเส้นทางรถไฟที่ใช้เวลาถึง 3 รัชกาลด้วยกัน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและภาพ :
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, การรถไฟแห่งประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ ภูเก็ตสาระ
เข้าชมภาพในลิงค์
โฆษณา