18 ม.ค. 2021 เวลา 06:21 • การเกษตร
ทำไมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถึงมีความสำคัญ
Arni M. Mathiesen (Assistant Director-General ของ FAO-Fisheries and Aquaculture Department) กล่าวว่าด้วยจำนวนประชากรโลกที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคนในปี 2050 หรืออีก 30 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีอัตราความไม่มั่นคงทางอาหารสูง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับการพัฒนาและปฎิบัติอย่างมีความรับผิดชอบ สามารถมีส่วนอย่างมากในการช่วยให้ความมั่นคงทางอาหารดีขึ้นและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้
ผลผลิตสัตว์น้ำจากการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ตอบสนองการบริโภคอาหารทะเลของนุษย์ ภายในปี 2030
การผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 47.2 ล้านตันในปี 2006 เป็น 93.6 ล้านตันในปี 2030 ขณะที่ผลผลิตจากการทำประมงคาดว่าจะลดลงจาก 64.5 ล้านตัน เป็น 58.2 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกัน การเลี้ยงดูประชากรโลกที่กำลังเพิ่มขึ้น ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องเพิ่มอีก 46.4 ล้านตันจึงจะเพียงพอตอบสนองความต้องการบริโภคอาหารทะเลของโลกได้
อาหารโปรตีนจากปลาที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถึง 62% ในปี 2030
เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถึง 46.4 ล้านตัน ภายในปี 2030
ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีกว่า
ปลามีประสิทธิภาพในการแปลงเปลี่ยนเป็นโปรตีนได้มากกว่าไก่ จากแผนภูมิเปรียบเทียบอัตราส่วนการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (Feed Conversion Ratio หรือ FCR) ของปลาที่เลี้ยงในฟาร์ม สัตว์ปีก ปศุสัตว์ ฯลฯ แสดงให้เห็นว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (aquaculture) เป็นวิธีการผลิตอาหารโปรตีนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด
แหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่แตกต่างกันไปในอาหารของเรานั้น มีความต้องการทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกันไปด้วย การวัดค่าอย่างหนึ่งคือ “อัตราส่วนการเลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (Feed Conversion Rate)” เป็นค่าประมาณการของอาหารที่ให้ในการเพิ่มมวลหรือเนื้อของร่างกาย 1 ปอนด์ ด้วยการประมาณการดังกล่าว การเลี้ยงปลาแซg]เลี้ยงสัตว์ให้ได้เนื้อหรือมวลของร่างกาย 1 ปอนด์ ด้วยการวัดค่าดังกล่าวนี้ การเลี้ยงปลาแซลมอลมีประสิทธิภาพดีกว่าการเลี้ยงวัวถึง 7 เท่าตัวทีเดียว
ประมาณการค่า FCR เปรียบเทียบในปลา-ไก่-หมู-และวัว
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ลองเปรียบเทียบประสิทธิผลของการผลิตโปรตีนจากสัตว์น้ำเทียบกับสัตว์บกในมุมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดูบ้าง
การศึกษาทั้งหมดได้พบว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาหารของคนที่กินเนื้อสัตว์อยู่ระหว่าง 46%-51% สูงกว่าคนที่กินเนื้อปลา อยู่ระหว่าง 50%-54% สูงกว่าคนที่กินมังสวิรัติ (vegetarians) และ อยู่ระหว่าง 99%-102% สูงกว่าคนที่กินเจ (vegans)
ประสิทธิผลของการผลิตโปรตีนจากสัตว์น้ำเทียบกับสัตว์บกในมุมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยสรุป
การทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นแหล่งสำคัญของอาชีพและการจ้างงาน เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชุมชนประมงรายย่อย แต่ภัยคุกคามจากการระบาดของโรคสัตว์น้ำระดับใหญ่ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถเปลี่ยนแปลงผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้มากทีเดียว จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตและลดความเสี่ยงจากความเสียหายของผลผลิต และการลงทุน ซึ่งจะนำมาเสนอในบทความถัดไป
โฆษณา