Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mission To The Moon
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 ม.ค. 2021 เวลา 02:00 • ความคิดเห็น
เปลี่ยนคำว่า ‘พรุ่งนี้ค่อยทำ’ เป็น 4 คำถามหยุดความขี้เกียจ
คุณเป็นคนขี้เกียจทำงานก่อนกำหนดส่ง และชอบเลื่อนงานไปทำวันอื่นๆ หรือเปล่า?
บทความเรื่อง “Want to Stop Procrastinating in 2021?” โดย Jeff Haden ในเว็บไซต์ Inc. ได้เขียนถึงวิธีการเลิกผัดวันประกันพรุ่งไว้อย่างน่าสนใจ โดยเขาได้พูดถึงงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการเป็นคนชอบเลื่อนงานไว้ว่า
‘คนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งบ่อยๆ มีแนวโน้มที่จะมีรายได้น้อย อาจต้องเผชิญกับความวิตกกังวล และยังอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) นั่นเป็นเพราะการเลื่อนกิจกรรมใดๆ ออกไป ไม่ใช่แค่งานนั้นจะเสร็จช้าลง แต่ยังหมายถึงการต้องแบกรับความเครียดที่เพิ่มเข้ามาด้วย’
7
เราจะเลิกขี้เกียจและเลิกผัดวันประกันพรุ่งได้ไหม?
1
การทำงานหรือสร้างสรรค์อะไรสักอย่างของมนุษย์นั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องของ แรงจูงใจ (Motivation) ซึ่งจากผลการศึกษาเรื่อง A Low‐Intensity, High‐Frequency Intervention to Reduce Procrastination ในเว็บไซต์ Applied Psychology ได้เผยแพร่ผลการทดลองที่น่าสนใจ โดยผู้ทำรีเสิร์ชได้ส่งข้อความเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำรายงาน ไปให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งในคลาสจำนวน 2 ครั้งต่อวัน โดยเป็นคำถาม 4 ข้อ คือ
2
- เราพบว่า นักศึกษาเจ๋งๆ ในคลาสนี้มักเริ่มทำรายงานผลแล็บก่อนจะถึงกำหนดส่งเสมอ คุณอยากพิสูจน์ไหมว่ามันจริงหรือเปล่า ให้ลองทำตามดูนะ
- ลองจินตนาการถึงตัวเองในช่วงเวลาก่อนถึงกำหนดส่งงาน ซึ่งคุณยังไม่ได้เริ่มทำมันเลย คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง
- มีงานวิจัยบอกว่าการย่อยงานใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนๆ จะช่วยทำให้คุณรู้สึกอยากทำงานมากขึ้น คุณลองทำดูสิ แล้วบอกหน่อยว่า งานพาร์ทเล็กๆ ที่คุณกำลังจะทำเป็นอันดับต่อไปนั้นคืออะไร
- ถ้าคุณต้องทำสิ่งหนึ่งที่จะทำให้รายงานแล็บเสร็จทันเวลา สิ่งนั้นคืออะไร
ที่ผู้วิจัยเลือกส่งคำถามเหล่านี้ไปหานักศึกษา เพราะอยากให้พวกเขาได้มีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่ม ซึ่งหลังจากส่งข้อความติดต่อกันเป็นเวลาสองสัปดาห์ ปรากฏว่า นักศึกษาที่ได้รับข้อความนั้นเริ่มทำรายงานผลแล็บก่อนกำหนดส่งเร็วขึ้นมากกว่าคนที่ไม่ได้รับข้อความ
1
อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถเกิดได้ทันทีทันใด แต่มันเกิดจากการกระทำซ้ำๆ โดยใช้เวลาประมาณหนึ่ง แต่จากผลลัพธ์ที่ได้ ก็น่าลองเอามาปรับใช้กับการทำงานของเราเอง
จากงานวิจัยข้างต้นนั้น ทำให้เราพอจะได้ไอเดียในการสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองบ้างแล้ว ด้วยการนำคำถามทั้ง 4 ข้อมาปรับใช้ สำหรับใครที่กำลังขี้เกียจและเป็นคนชอบผัดวันประกันพรุ่ง อย่ารอให้เดดไลน์ถามหา มาเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยคำถาม 4 ข้อดีกว่า!
ข้อที่ 1: คนที่ประสบความสำเร็จจะทำยังไงถ้ามีเป้าหมายเดียวกันกับเรา
ข้อแรกนี้เป็นการสวมแว่นตาของผู้อื่น เพื่อใช้มองเป้าหมายของตนเอง ลองคิดเล่นๆ ว่าเพื่อนร่วมงานของเราที่ทำงานรวดเร็วจะทำอะไรอยู่บ้าง ถ้าเขาต้องทำงานนี้ หรือคิดให้สุดโต่งไปเลยว่า บิลเกตต์หรืออีลอน มัสก์จะทำยังไง เพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จ
ข้อที่ 2: ฉันจะรู้สึกยังไง ถ้างานนี้ไม่เสร็จ หรือไม่เหลือเวลาในการทำงานนี้ให้ดี
ตรวจสอบความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง จำลองสถานการณ์ที่เราทำงานนี้ไม่เสร็จ หรือต้องรีบปั่นให้ทันเวลา จนไม่สามารถทำมันให้ยอดเยี่ยม เราจะผิดหวังเสียใจแค่ไหน เราจะนึกเสียดาย รวมถึงเสียโอกาสอะไรไปบ้าง
2
ข้อที่ 3: ถ้าให้เลือกทำสิ่งเดียวที่จะทำให้งานนี้เสร็จทันเวลา สิ่งนั้นคืออะไร
หาขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำงานนี้ให้สำเร็จ ตัดทอนความยุ่งยากทั้งหลายออกไป เพื่อให้ได้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณต้องทำ และยึดถือไว้เลยว่า หากอยากทำงานให้เสร็จทันเวลาต้องทำสิ่งนี้เท่านั้น
ข้อที่ 4: อะไรคือสิ่งแรก (หรือสิ่งต่อไป) ที่ฉันจำเป็นต้องทำ?
คำถามนี้จะช่วยให้คุณแบ่งการทำงานออกเป็นส่วนๆ โดยการเรียงลำดับจากขั้นตอนแรกไปถึงขั้นตอนสุดท้าย และจะได้ลงมือทำไปทีละสเต็ปให้สำเร็จไปเรื่อยๆ จะได้ไม่รู้สึกเหนื่อยหรือรู้สึกว่ายากเกินจะทำได้
นอกจากสี่ข้อที่บทความได้กล่าวไว้แล้ว เราอยากให้เพิ่มอีกหนึ่งคำถามลงไปด้วย นั่นคือ “ถ้างานนี้ไม่เสร็จ ใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบ”
เราอาจต้องทำงานร่วมกับคนอื่น หรือมีอีกหลายฝ่ายที่รองานในส่วนของเรา ลองประเมินดูว่า ถ้าหากงานไม่แล้วเสร็จ จะส่งผลกระทบต่อใคร หรือสร้างความเสียหายอย่างไรบ้าง และเราสามารถรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
คำถามทั้งหมดนั้นไม่ได้ยากเกินจะนำมาถามตัวเอง คุณอาจนำคำถามเหล่านี้มาตั้งเตือนตัวเองสัก 2 ครั้ง/วัน ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และสังเกตดูว่าคุณมีการปรับเปลี่ยนลักษณะการทำงานไปอย่างไรบ้าง
ที่สำคัญคือ เริ่มถามคำถามเหล่านี้เลย อย่าบอกว่า “พรุ่งนี้ค่อยถาม” ล่ะ!
1
แปลและเรียบเรียงจาก:
https://www.inc.com/jeff-haden/want-to-stop-procrastinating-in-2021-new-research-says-just-ask-yourself-same-4-questions.html
#MissionToTheMoonPodcast
74 บันทึก
57
1
52
74
57
1
52
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย