Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Food for Thoughts : ขบคิดธุรกิจอาหาร
•
ติดตาม
18 ม.ค. 2021 เวลา 11:31 • ธุรกิจ
#เคยสงสัยมั้ย
#ก็ขายได้นี่นา #แล้วเงินไปไหนหมด
ม่ะ...เล่าก่อน...
จะเตรียมอาหารสักจาน คือถ้านับเริ่มต้นทุนที่เกิดกันจริงๆ
อยากให้นับตั้งแต่ตอนสั่งซื้อกันเลยนะ ผ่านมาจนถึงตอนรับสินค้า – นี่ก็สำคัญมาก
รับสินค้าไปเรื่อย ไม่ตรวจสอบคุณภาพดีๆ เกรงใจ Supplier ไม่กล้าตีของกลับ
#กรอกตาบน
อีกอย่าง อยากรับวัตถุดิบไม่มีคุณภาพเอามาทำอาหารให้ลูกค้าทาน
#จริงๆเหรอ #ถามจริงๆจากใจ
เข้าเรื่อง
(เรื่องรับสินค้านี่ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังวันหลัง)
วันนี้อยากเล่าให้ฟังเรื่องต้นทุนอาหารบางส่วนน่ะ…นี่แค่บางส่วน แต่ก็แบ่งได้ 2 Part แล้ว
ก็รู้แหล่ะ ว่าทำร้านอาหารมาขนาดนี้ ก็คิดต้นทุนเป็นกันแล้ว แค่นี้ ถือว่ากระจอกมาก
...งั้น...คิดซะว่า...มาทบทวนกันเล่นๆ
สมมติ
ซื้อหัวไชเท้ามา 2 หัว กิโลกรัมละ 45 บาท
หนักรวมกันประมาณ 1.738 กิโลกรัม (ไหนบอกประมาณ)
ก็จะราคา 78.25 บาท
ตัดหัว ตัดปลาย ปอกเปลือกออก รวมส่วนที่ไม่ใช้ทั้งหมดเป็น 0.45 กิโลกรัม
ขอตัดเป็น 0.438 แล้วกัน จะได้เหลือตัวเลขกลมๆ หน่อย
(อันที่จริง...ก็ไปซื้อมาจริง มาตัดจริง ปอกเปลือกจริงน่ะแหล่ะนะ)
เหลือที่ใช้ได้จริงเพื่อนำไปปรุงอาหาร ประมาณ 1.30 กิโลกรัม
เพราะฉะนั้น ถามอีกที หัวไชเท้านี้ กิโลกรัมละเท่าไหร่กันแน่?
เพราะเราจ่ายเงินไป 78.25 บาท
แต่ได้หัวไชเท้านำมาปรุงอาหารจริงได้แค่ 1.30 กิโลกรัมเท่านั้น
#กดเครื่องคิดเลขตามนะ
และนี่คือ วัตถุดิบหลักสิบบาทนะ ที่สูญเสียไปประมาณ 26% แล้ว
เรายังไม่ได้พูดถึง ถ้าซื้อปลาแซลมอนมาแล่ซักตัวนึงเลย
และถ้ากับวัตถุดิบหลายๆ อย่างที่เราใส่ลงไปใน 1 เมนูล่ะ?
เพราะฉะนั้น นี่จึงทำให้หลายคน คิด #ต้นทุนอาหารต่อจานผิด
ทำให้ยิ่งคิด #ราคาขายต่อจาน ผิดตามไปด้วย
...แต่ถ้าเป็นคนทำครัวมา มีประสบการณ์ในการคิดต้นทุน เรื่องพวกนี้ก็ดูกระจอกไปเลย...
...แต่ถ้าเป็นคนทำครัวมา แต่ไม่รู้จัก ไปทำความรู้จักซะ
จะได้ไม่ต้องมานั่งนึกว่าขายได้ แต่ #เงินหายไปไหน หมดวะ...
...แต่ถ้าเป็นคนทำครัวมา รู้จักต้นทุนอาหารดี แต่ไม่คิดจะคำนวณออกมาดีๆ? #ยิ้มอ่อน
ถ้าเพิ่มความรู้กันอีกหน่อย
คือ การคิดคำนวณหา วัตถุดิบที่ใช้ได้จริง (หลังจากตัดส่วนที่ไม่ใช้ทิ้งแล้ว)
เราจะเรียกว่า การหาค่า #Yield
ซึ่ง สูตรในการคำนวณค่า Yield คือ
Yield =ปริมาณวัตถุดิบหลังตัดแต่ง / ปริมาณวัตถุดิบก่อนตัดแต่ง x 100
มีหน่วยวัดเป็นเปอร์เซ็นต์
จากตัวอย่าง
หัวไชเท้าสองหัวรวม 1.738 กิโลกรัม ราคา 78.50 บาท
ใช้ได้จริง 1.30 กิโลกรัม
ก็เอามาแทนค่าในสูตร
(1.30/1.738) x 100 = 74.80%
หัวไชเท้า จึงมีค่า Yieldเท่ากับ 74.80%
แล้วถ้าอยากรู้ราคาที่ซื้อมาจริงๆ เท่ากับเท่าไหร่
ก็เอา 78.25/1.30 = 60.19 บาทต่อกิโลกรัม
อ่าว - สรุป – หัวไชเท้ากิโลละ 60 บาท ซะงั้นอ่ะ
โอ๊ย...ตัวเลข ปวดหัว น่าเบื่อ ขี้เกียจคิด คิดยิบคิดย่อย คิดเล็กคิดน้อย น่ารำคาญ!!
อ่ะ สมมตินะ
สมมติไม่คิด
จะเป็นยังไง? กำไรที่ว่าขายได้ๆ น่ะ มันหายไปไหนหมด?
แล้วค่า Yield ที่หาได้ เอามาใช้ยังไง?
เดี๋ยวมาต่อให้นะ สัญญา!!
อยากรู้เรื่องไหน? จัดมา!
#อย่าเกรงใจ
#เดี๋ยวตีตายเลย
ติดตามเรื่องเล่าเกี่ยวกับธุรกิจอาหารได้ทุกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (วันพุธ และวันเสาร์)
ใครๆ ก็เริ่มทำธุรกิจอาหารได้
แต่ใครๆ ก็หายจากไปจากธุรกิจอาหาร
เรามาแชร์ข้อมูล และก้าวผ่านอุปสรรคในธุรกิจอาหารไปด้วยกัน
ติดตามผ่านเพจ
Facebook -
https://www.facebook.com/kobkidfoodbusiness
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย