18 ม.ค. 2021 เวลา 15:46 • การศึกษา
คำไทยสมัยโบราณ บทที่ 8.
เล่าเรื่องเมืองสุพรรณบุรี “สามชุก”
อำเภอสามชุกในจังหวัดสุพรรณบุรี วิกิพีเดียกล่าวถึงที่มาของ
อ.สามชุกใว้ว่า “บันทึกคนรุ่นเก่ากล่าวไว้ว่า สามชุกในอดีตเป็นแหล่งรวม
ของการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยชาวกะเหรี่ยง ชาวลาว และชาวละว้า
จะนำเกวียนบรรทุกของป่ามาขายแลกกับสินค้าที่ชาวเรือนำมาจากทางใต้
ที่บริเวณท่าน้ำ เป็นตลาดมีเรือมาจอดมากมายเพื่อรับส่งข้าว
จากโรงสีต่าง ๆ สินค้าที่ชาวบ้านนำมานั้นบรรจุอยู่ใน "กระชุก"
ซึ่งทำจากลำไม้ไผ่ จึงเป็นที่มาหนึ่งของชื่อ "สามชุก"”
หากว่าอำเภอสามชุกเป็นชื่อเดี่ยวๆ ไม่มีสถานที่อื่นที่มีชื่อคล้ายๆกัน.
ความหมายของอำเภอสามชุกก็คงมีความหมายตามบันทึกคนรุ่นเก่ากล่าวไว้
บังเอิญที่หมู่บ้านในท้องถิ่นสุพรรณบุรี มืชื่อสถานที่ที่มีชื่อขึ้นต้น
ด้วยคำว่า “สาม,สำ” อยู่หลายที่ เช่น สามจุ่น สามนาก สามทอง สามหน่อ
สำเพ็ง(สามเพ็ง) ทำให้เกิดความสงสัยถึงที่มาและความหมายของ
คำว่า สามชุก ว่าจะมีความหมายตามที่คนรุ่นเก่าบันทึกใว้หรือไม่.
คำว่า สาม ตามสำเนียงภาคกลางแปลว่าสามหรือหมาย 3 แต่คำนี้ตามสำเนียง
สุพรรณบุรีออกเสียงว่า ซ่าม สำเนียงเผ่าไทโบราณคำที่ออกเสียงว่า ซ่าม,สำ
แปลว่าดี,ละเอียด.สำเนียงภาคกลางว่าซาม(ทราม) และภาคใต้ว่าซาม
ราชบัณฑิตยสถานแปลคำนี้ ทราม[ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม จิตทราม, เสื่อม
เช่น ปัญญาทราม แต่ในขณะเดียวกัน คำว่า ทรามวัย [ซาม-] น. แปลว่า
หญิงสาววัยรุ่น,ว. กำลังรุ่น, กำลังน่าจะทะนุถนอม.คำว่าทราม[ซาม] ที่แปลว่า เลว
ไม่ดี กับคำว่า ซาม(ทรามวัย)หญิงสาววัยรุ่น คำไทโบราณเป็นคนละคำกัน.
สามนาก เราคุ้นเคยกับคำว่า นาก.นากคือโลหะผสมที่นิยมนำมาทำเป็น
เครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ เข็มขัด.
สามทอง คำว่า "ทอง"หมายถึงทองคำ ที่เราคุ้นเคยกันดี
สามจุ่น คำว่า "จุ่น"ภาษาเผ่าไทโบราณหมายถึงตะกั่ว
สามชุก คำว่า "ชุก"แปลว่าอะไร."ชุก" แปลว่าถ้วย.
สามชุก จึงแปลว่าถ้วยคุณภาพดี,สามจุ่น แปลว่าตะกั่วคุณภาพดี,สามทอง แปลว่า
ทองคุณภาพดี,สามนาก แปลว่านากคุณภาพดี นี่คือความหมายของภาษาของเผ่าไทโบราณ คำว่าซ่ามที่ออกเสียงเป็นคำว่าสามในสำเนียงปัจจุบัน ยังพบที่จังหวัดชุมพร ซึ่งแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีชื่อเขาสามแก้ว ซึ่งสันนิฐานว่าน่าจะมีความหมายไป
ในลักษณะเดียวกันคือแปลว่า แก้วคุณภาพดี.
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน.
คำไทยโบราณ ๑๘.๑.๖๔
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจคำไทยโบราณ ขอสงวนสิทธิไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปแก้ไข ดัดแปลง ทำซ้ำ แล้วเผยแพร่ในนามตนเอง หากมีความประสงค์จะเผยแพร่บทความด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจก่อน.แต่อนุญาตให้เผยแพร่ความรู้โดยการแบ่งปัน(แชร์.,share)ในblockdit หรือทางเฟซบุ๊กได้โดยไม่ต้องขออนุญาต.
โฆษณา