Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BK WORLD
•
ติดตาม
18 ม.ค. 2021 เวลา 22:49 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แกลเลียม (Gallium) ธาตุโลหะสีเงินที่ละลายได้บนฝ่ามือ
แกลเลียม (Gallium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม เท่ากับ 31 และมีสัญลักษณ์คือ Ga แกลเลียมอยู่ในตารางธาตุหมู่ 31 ซึ่งในธรรมชาติเราจะพบในแร่บอไซต์ (bauxite) และสังกะสี (zinc ores) สารประกอบแกลเลียม อาร์ซิไนด์ ใช้ทำสารกึ่งตัวนำในหลอดไดโอดส์ หรือที่เรามักเรียกกันว่า หลอดแอล อี ดี (LEDs) นั่นเอง
ธาตุแกลเลียม ถูกค้นพบโดย P.E. Lecoq de Boisbaudran นักเคมีชาวฝรั่งเศส ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.1875 โดยเขาได้ศึกษาเส้นสเปกตรัมของ Pyrenean zinc blend ที่ทำให้เข้มข้นแล้ว จนพบเส้นสเปกตรัมอยู่ตำแหน่งตรงกับธาตุที่ขาดหายไปคือธาตุ "eka-alumina" ซึ่งเป็นธาตุอยู่ระหว่าง Al และ In ในตารางธาตุ จากการเตรียมโลหะอิสระได้จากการนำสารของธาตุนี้ในสารละลายเบสมาแยกสลายด้วยไฟฟ้า (electrolysis) และได้ศึกษาสมบัติบางประการของธาตุนี้จนสำเร็จ และได้ตั้งชื่อธาตุนี้ว่า แกลเลียม (Gallium) มาจากภาษาลาตินว่า แกลเลีย (Gallia) ซึ่งเขาได้กล่าวไว้ในบทความของวารสาร the Annales de Chimie ว่าเขาได้เริ่มต้นการค้นหาธาตุนี้มาแล้วกว่า 15 ปี แต่เนื่องจากมีปริมาณวัตถุดิบไม่เพียงพอ จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1874 จึงได้รับแร่จำนวน 52 กิโลกรัมจากเหมือง Pierrefitte และสกัดตัวอย่างออกมาได้จำนวนเล็กน้อย (ประมาณ 1/100 มิลลกรัม) ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม 1875 เวลา 3-4 นาฬิกา จากเครื่องวิเคราะห์แบบสเปกโตรสโคปี แสดงถึงแถบสีม่วงที่ความยาวคลื่น 417.0 แสดงถึงธาตุใหม่ ที่ไม่ตรงกับธาตุใดที่เคยทราบมาก่อน
แกลเลียม (Gallium) ธาตุเคมีที่คนมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปรอทนั่นเอง อาจเพราะลักษณะที่มีสีเงินอ่อนนุ่ม เป็นของเหลวเหมือนปรอทนั่นเอง และที่สำคัญมีจุดหลอมเหลวต่ำอีกด้วย ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ฉะนั้นประเทศเขตร้อนอย่างเมืองไทยบ้านเรา โดยเฉพาะในวันที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส สงสัยแกลเลียมมีโอกาสเป็นของเหลวได้แน่ๆ และที่สำคัญยังสามารถเป็นของเหลวบนฝ่ามือเราได้อีกด้วยเพราะอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์นั่นมากกว่า 30 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียสเจ้าแกลเลียมจะเปลี่ยนเป็นของแข็งขึ้นมาทันที
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
ภาพจาก:
http://periodictable.com/Items/031.7/index.html
Link:
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic2/Ga.html
http://www.chemteam.info/Chem-History/Disc-of-Gallium.html
http://elements.vanderkrogt.net/element.php?sym=ga
http://www.chemicalelements.com/elements/ga.html
VDO Link:
http://www.youtube.com/watch?v=foQhHfsyPIc&feature=player_embedded#
ขอบคุณข้อมูลจาก อพวช. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย