Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
การลงทุนของฉัน
•
ติดตาม
4 ก.พ. 2021 เวลา 12:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน วันนี้ได้มีโอกาสกลับมาพูดคุยเล่าเรื่องราวกันอีกครั้งนับเป็นช่วงที่ยากลำบากของชีวิตอีกช่วงหนึ่งเลยก็ว่าได้ กับการที่ต้องมาเผชิญกับสถานการณ์โลกในตอนนี้ แต่อย่างไรก็ตามขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนผ่านช่วงนี้ไปด้วยกัน เชื่อว่าอีกไม่นานทุกอย่างจะกลับมาสู่ความเป็นปกติโดยเร็ว
สำหรับเรื่องที่จะนำมาเขียนเป็นบทความให้ได้อ่านกันวันนี้ คือ "การบันทึกข้อมูลการลงทุนสำคัญอย่างไร?" สืบเนื่องมาจากช่วงนี้กระแสการลงทุนกำลังมาแรง Twitter , Facebook รวมไปถึง YouTube ช่วงนี้จะเห็น Content เกี่ยวกับการลงทุนเป็นประจำ ผู้คนต่างให้ความสนใจในด้านการลงทุนกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุน หุ้น หรือแม้แต่กระทั่ง Cryptocurrency หรือที่เรียกๆกันว่า "สกุลเงินดิจิตอล" นั่นเอง
ซึ่งโดยปกติแล้วการซื่อ-ขายทรัพย์สินที่ลงทุนนั้น ผู้เขียนบทความเชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่จะซื้อ-ขายมองผลตอบแทนที่ได้แล้วก็เป็นอันจบเลย หลายคนอาจมองข้ามหรือไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการบันทึกในส่วนของข้อมูลการซื้อ-ขายกันสักเท่าไหร่
วันนี้ผู้เขียนบทความจึงอยากนำเสนอวิธีการบันทึกข้อมูลที่ใช้อยู่มาให้เป็นแนวทางหรือนำไปปรับใช้กันดู เพื่อที่จะได้มองเห็นถึงการเติบโตของ Portfolio ที่ไม่ใช่แค่ในแง่ของผลตอบแทนกันได้ง่ายขึ้น สำหรับสิ่งหลักๆที่ผู้เขียนนำมาใช้ในการบันทึกที่ขาดไม่ได้เลย คือ
- เงินทุน
- การซื้อ-การขาย ทรพย์สินต่างๆ
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ (Fee)
- ผลตอบแทนที่ได้รับ
มาในส่วนของข้อที่ 1 เลยก็คือ “เงินทุน” เงินที่เรานำเข้าไปในพอร์ต นำเข้าไปเท่าไหร่บันทึกไว้ให้หมด เน้นบันทึกเป็นวันที่นำเงินเข้าพอร์ต และจำนวนเงิน บันทึกทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าจากนั้นจะแยกเป็นปีๆ เพื่อที่จะได้มองเห็นว่าในปีนั้นๆมีการนำเงินเข้าไปเท่าไหร่ มากกว่าปีก่อนหรือน้อยกว่าปีก่อนอย่างไร เมื่อถึงสิ้นปีก็จะนำของแต่ละปีไปรวมกันไว้อีกตารางหนึ่ง การบันทึกข้อมูลในข้อแรกนี้จะทำให้เห็นพัฒนาการของตัวเราเองด้วยว่ามีประสิทธิภาพในการออมเพิ่มมากขึ้นเพียงใด
ข้อที่ 2 การซื้อ-ขาย มาในเรื่องของการ "เข้าซื้อ" ก่อนเลยแล้วกัน หลักๆเลยผู้เขียนบทความจะบันทึกเกี่ยวกับการเข้าซื้อที่ช่วงราคาเท่าไหร่ และซื้อไปกี่หุ้น กี่หน่วย กี่เหรียญซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะลงทุนในสินทรัพย์ใด
ตัวอย่างการเข้าซื้อ เช่น
การซื้อครั้งที่ 1 หุ้น A ซื้อที่ราคา 3.00 บาท จำนวน 100 หุ้น
การซื้อครั้งที่ 2 หุ้น A ซื้อที่ราคา 3.25 บาท จำนวน 100 หุ้น
การบันทึกข้อมูลในส่วนนี้จะทำให้เราดูได้ว่าซื้อแพงกว่าหรือซี้อต่ำกว่าราคาที่ซื้อในครั้งก่อนหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะนำมาสู่หนทางในการตัดสินใจที่จะเข้าซื้อได้ง่ายขึ้นตามมานั่นเอง
ในส่วนของ "การขาย" จะใช้หลักการคล้ายกับการเข้าซื้อเลย คือ บันทึกจำนวนสินทรัพย์ที่ขายออก และราคาที่ขายออก ณ ช่วงนั้น
ตัวอย่างการขายออก เช่น
การขายครั้งที่ 1 หุ้น A ขายที่ราคา 3.25 ต้นทุน 3.00 จำนวน 100 หุ้น
การขายครั้งที่ 2 หุ้น A ขายที่ราคา 3.00 ต้นทุน 3.25 จำนวน 100 หุ้น
ประโยชน์ของการบันทึกข้อมูลการขายตรงนี้นั้นจะทำให้เราสามารถรับรู้พฤติกรรมการขายของเราได้อย่างมากว่าส่วนใหญ่แล้วเราขายขาดทุน (Cut loss) หรือขายได้กำไรมากกว่ากัน จะได้นำไปปรับใช้ในการเทรดได้ในครั้งต่อไป
มาถึงข้อที่ 3 "ค่าธรรมเนียมต่างๆ (Fee)" ข้อนี้หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยอาจจะตัดข้อนี้ทิ้งเลยก็ได้ แต่หากลองบันทักรายการดู Fee แต่ละปีก็นับเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนที่เสียไปเหมือนกัน และยิ่งสำหรับใครที่ทำการซื้อขายบ่อยๆแล้วละก็แนะนำให้ลองบันทึกข้อมูลในส่วนนี้ไปด้วยจะช่วยให้รับรู้รายจ่ายในส่วนนี้ได้มากเลยทีเดียว
สำหรับข้อ 4 ข้อสุดท้ายของเราเลยก็คือ ผลตอบแทนที่ได้รับ ข้อนี้ถือว่ามีความสำคัญมากเลยทีเดียวของการลงทุนไม่ว่าจะในสินทรัพย์ใดก็ตาม ผู้ลงทุนทุกคนล้วนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุน ในข้อนี้ผู้เขียนบทความจะแยกบันทึกข้อมูลในส่วนของผลตอบแทนออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ผลตอบแทนที่ได้จากส่วนต่างในการซื้อขาย (การขายเพื่อทำกำไร)
2. ผลตอบแทนในรูปแบบของปันผล
อธิบายในส่วนของข้อที่ 1 ผลตอบแทนที่ได้จากส่วนต่างในการซื้อขายหรือเรียกกันง่ายๆว่าการขายเพื่อทำกำไรของนั่นเอง ผู้เขียนบทความจะทำการบันทึกการขายทุกครั้งซึ่งข้อมูลที่บันทึกหลักๆเลยจะเป็น ราคาต้นทุน (Average Cost) และราคาในช่วงเวลาที่ขายออก (Market Price) ของสินทรัพย์นั้นๆ
ตัวอย่างการบันทึกผลตอบแทนที่ได้จากส่วนต่างในการซื้อขาย
ครั้งที่ 1 หุ้น A ต้นทุน 100 บาท ราคา ณ ตอนขาย 500 กำไร 400 บาท
ครั้งที่ 2 หุ้น A ต้นทุน 500 บาท ราคา ณ ตอนขาย 300 ขาดทุน 200 บาท
ผู้เขียนบทความจะทำการบันทึกทั้งการขายที่มีกำไรและขาดทุน เนื่องจากเป็นการยากนักที่ผู้คนจะสามารถทำกำไรได้อย่างเดียว ดังนั้นควรจะต้องมีจุด Cut Loss ที่กำหนดไว้ในตัวเองเพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจจะมากไปกว่านี้ และเมื่อทำการบันทึกข้อมูลการขายทั้งหมดแล้วจะนำตัวเลขมาคิดเพื่อหาผลตอบแทนที่ได้รับจริงในปีนั้นๆ อย่างในกรณีตัวอย่างข้างต้น ขายครั้งที่ 1 กำไร 2 บาท ขายครั้งที่ 2 ขาดทุน 1 บาท จึงสรุปได้ว่าในปีนี้ผลตอบแทนที่ได้จากส่วนต่างในการซื้อขายเท่ากับ 200 บาท
มาในส่วนของข้อที่ 2 ผลตอบแทนในรูปแบบของปันผลกันบ้าง ในส่วนนี้ผู้เขียนบทความจะบันทึกเหมือนกับตัวอย่างดังนี้ เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการรวบรวมข้อมูลของผลตอบแทนในตอนสิ้นปี
ตัวอย่างการบันทึกผลตอบแทนในรูปแบบของปันผล
หุ้น A 100 หุ้น ปันผล 1 บ./หุ้น จ่าย 100 บ. ภาษี 10% เหลือจ่าย 90 บ.
หุ้น B 100 หุ้น ปันผล 2 บ./หุ้น จ่าย 200 บ. ภาษี 10% เหลือจ่าย 180 บ.
จากตัวอย่างในข้างต้นจึงสรุปได้ว่าในปีนี้ได้ปันผลจากหุ้น A และ B เป็นเงินสุทธิ 270 บาท
จะเห็นได้ว่าการบันทึกข้อมูลต่างๆของการลงทุนไว้นั้นค่อนข้างจะมีความสำคัญมากเลยทีเดียว นอกจากจะทำให้เราได้รับรู้ถึงข้อมูลการลงทุนของเราที่ง่ายขึ้นแล้ว ยังทำให้เราสามารถนำข้อมูลจากตรงนี้ไปปรับใช้กับการลงทุนของเราให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วย
หากชอบบทความของ Stories Of My Investment ของเราสามรถให้กำลังใจและติดตามเราได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
Blockdit:
https://www.blockdit.com/storiesofmyinvestment
Facebook:
https://www.facebook.com/storiesofmyinvestment
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย