19 ม.ค. 2021 เวลา 14:41 • สุขภาพ
หายนะทางศีลธรรม!!! ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการกระจายวัคซีน
เมื่อวัคซีนคือแสงสว่างที่ประชากรโลกเฝ้ารอกันมาอย่างยาวนาน ทุกคนเชื่อว่าวัคซีนจะทำให้มหันตภัย COVID-19 จบลงและทำให้โลกกลับมาเหมือนเดิม แต่ความจริงอาจจะไม่ได้สวยดั่งฝันเมื่อเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนที่หากแก้ไม่ได้จะมีชิวิตของประชาชนในประเทศที่ยากจนเป็นเดิมพันครับ
วิกฤติศีลธรรมกับการให้ความสำคัญกับตนเองก่อน
ปัจจุบันประเทศที่มีกำลังทรัพย์และมีอำนาจต่อรองมักจะมีการจองวัคซีน COVID-19 จากหลายผู้ผลิต ซึ่งการจองดังกล่าวก็ทำเพื่อให้ประชากรในประเทศของจนปลอดภัย ซึ่งนักวิชาการเรียกแนวคิดดังกล่าวว่า “Me First” หรือนโยบายฉันก่อนนั่นเองครับ
ถึงแม้จะมีการจัดลำดับความสำคัญในการฉีดวัคซีนในแต่ละประเทศ แต่จากการศึกษาพบว่าประชากรหนุ่มสาวที่มีความแข็งแรงพอจะต่อต่างเชื้อไวรัสในประเทศที่ร่ำรวยจะได้วัคซีน COVID-19 ก่อนกลุ่มเสี่ยงในประเทศที่ยากจนเสียอีกครับ ซึ่งการกระจายอย่างไม่เท่าเทียมและเหมาะสมดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติศีลธรรมในการกระจายวัคซีนครับ
1
คุณ Tedros Adhanom Ghebreyesus ได้ออกมาเตือนถึงหายนะทางศีลธรรมนี้ วัคซีนจำนวนมหาศาลถึง 39 ล้านโดสถูกส่งไปยังประเทศที่ร่ำรวย 49 ประเทศ (เฉลี่ยประเทศละ 8 แสนโดส) ในขณะที่ประเทศที่ยากจนบางประเทศได้วัคซีนเพียงแค่ 25 โดสเท่านั้น ความต่างกันถึง 32,000 เท่า
4
หลายท่านคงสงสัยว่ามีหลายประเทศที่วิจัยและผลิตวัคซีนได้ เช่น จีน US อังกฤษ หรือแม้แต่อินเดียก็ยังผลิตวัคซีนออกมาได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ประเทศเหล่านี้ก็กระจายวัคซีนภายในประเทศของตนเองก่อนและที่เหลือก็ส่งต่อให้ลูกค้าซึ่งสั่งจองเข้ามาครับ
คุณ Tedros กล่าวว่าหากสถาณการณ์การกระจายวัคซีน COVID-19 อย่างไม่เท่าเทียมยังดำเนินต่อไปจะส่งผลให้ประเทศที่ยากจนไม่ได้รับวัคซีนอย่างเพียงพอ นำไปสู่การเสียชีวิตของประชากรในประเทศที่ยากจนครับ
นโยบายระดับโลกเพื่อต่อกรกับวิกฤติจริยธรรม
ทั้งนี้การนำนโยบาย Me-First มาใช้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่นโยบายดังกล่าวส่งผลให้ประเทศที่ร้ำรวยสั่งจองวัคซีนเกินความจำเป็น และนำมาซึ่งการกักตุนวัคซีนและเวชภัณฑ์อื่นๆ ที่จำเป็น ท้ายที่สุดเมื่อวัคซีนไม่มาถึงประเทศที่ยากจน วิธีเดียวที่ประเทศที่ยากจนพอจะทำได้คือการกักตัวที่ยาวนาน ส่งผลให้ธุรกรรมต่างๆ หยุดชะงัก ไปจนถึงการล่มสลายของเศรษฐกิจครับ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทาง WHO ได้จัดตั้งโครงการกระจายวัคซีนอย่างเป็นธรรมในชื่อ Covax หรือ COVID-19 Vaccine Global Access Facility โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศต่างได้เข้ามาจองวัคซีนอย่างเท่าเทียมครับ ได้ครับ โครงการ Covax จะเริ่มกระจายวัคซีน COVID-19 ในเดือนกุมภาพันธ์นี้
นอจากนี้ WHO ยังตั้งเป้าที่จะให้ทุกประเทศได้รับวัคซีนภายในวันที่ 7 เมษายน โดยคุณ Tedros เชื่อว่าหากทำได้สำเร็จจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังในการช่วยเหลือกันของชาวโลกเพื่อที่จะเอาชนะวิกฤติไวรัสไปได้ครับ
ปัจจุบันมีกว่า 180 ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ Covax ซึ่งจะช่วยให้ประเทศเหล่านี้มีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตวัคซีนครับ เมื่อทุกประเทศร่วมใจกัน Covax จะทำให้ประเทศต่างๆ ได้วัคซีนในราคาสมเหตุสมผลและเพียงพอต่อความต้องการครับ
1
นอกจากเรื่องการต่อรองราคาแล้ว Covax ยังเป็นสะพานน้ำใจที่ช่วยให้ประเทศร่ำรวยได้แบ่งปันความมั่งคั่งกับประเทศที่ยากจนครับ กว่า 90 ประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงยากจนจะได้รับวัคซีนโดยไม่ค่าใช้จ่ายจากการสนับสนุนทางการเงินจากประเทศที่ร่ำรวยครับ ตัวอย่างที่สำคัญคือประเทศอังกฤษที่บริจาคเงินถึง 734 ล้านดอลล่าห์ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ครับ
1
ท้ายที่สุด การพัฒนาองค์ความรู้ทางสาธารณสุขจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยก้าวพ้นวิกฤติครั้งนี้และครั้งต่อๆ ไปได่ครับ ขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านครับ
1
โฆษณา