Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad International
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 ม.ค. 2021 เวลา 08:48 • สุขภาพ
ภาวะมีบุตรยาก
การรักษาภาวะมีบุตรยาก (infertility treatment) หมายถึง ภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ในระยะเวลา 1 ปีโดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอและไม่มีการคุมกำเนิด
สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
การมีบุตรยากอาจเกิดจากความผิดปกติของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง หรือทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
ความผิดปกติของฮอร์โมน ซึ่งส่งผลต่อการตกไข่
มีความผิดปกติของท่อนำไข่ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือการผ่าตัดอุ้งเชิงกราน
ความผิดปกติของมดลูก
ปัญหาของปากมดลูก ทำให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้
ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัย
สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย
จำนวนอสุจิน้อยและมีความสามารถในการเคลื่อนที่ต่ำท่อนำน้ำเชื้ออุดตัน
หย่อนสมรรถภาพทางเพศหรือมีปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิ
โรคทางพันธุกรรมซึ่งส่งผลต่อการผลิตอสุจิ
หลอดเลือดดำภายในถุงอัณฑะโป่งพองทำให้มีผลต่อคุณภาพของน้ำอสุจิ
เป็นโรคที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น โรคตับ การติดเชื้อที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ (เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ)
ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ
การตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
การตรวจหาสาเหตุจะทำทั้งฝ่ายหญิงและชายไปพร้อมๆ กัน โดยเริ่มจากการซักประวัติ การตรวจร่างกายทั่วไป
ฝ่ายหญิง
การตรวจระดับฮอร์โมนและพันธุกรรม
การอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่
การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
การเอกซเรย์ฉีดสีท่อนำไข่และโพรงมดลูก
ฝ่ายชาย
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ
การอัลตราซาวนด์ลูกอัณฑะและหลอดเลือด
การส่องกล้องตรวจช่องภายในท้อง ถุงอัณฑะ
bumrungrad.com
ภาวะมีบุตรยาก | โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
การรักษาภาวะมีบุตรยาก (infertility treatment) หมายถึง ภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ในระยะเวลา 1 ปีโดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอและไม่มีการคุมกำเนิด
เรียนรู้เพิ่มเติม
แนวทางการรักษา
การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ โดยแพทย์จะให้การรักษาเพื่อให้ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติมากที่สุด เช่น ให้ยากระตุ้นการทำงานของลูกอัณฑะ หาความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของรังไข่และพิจารณาผ่าตัดเนื้องอกที่มดลูก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะรักษาตามสาเหตุแล้ว คู่สมรสบางคู่ก็ยังไม่สามารถมีบุตรได้และต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมี 2 วิธีหลัก ได้แก่
การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI: intrauterine insemination) เป็นการกระตุ้นให้ไข่ตกแล้วนำน้ำเชื้ออสุจิที่คัดแล้วฉีดเข้าไปผสมกับไข่ในร่างกายของฝ่ายหญิง เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหามากนัก ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์
การช่วยให้ปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว (IVF: in vitro fertilization) เป็นการรักษากรณีที่ท่อนำไข่อุดตันทั้งสองข้าง มีเยื่อพังผืดในอุ้งเชิงกรานจำนวนมาก ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง เชื้ออสุจิผิดปกติ เช่น จำนวนน้อย รูปร่างผิดปกติ การเคลื่อนไหวน้อย ภาวะมีบุตรยากที่หาสาเหตุไม่ได้ ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 4 สัปดาห์
กรณีฝ่ายชายตรวจไม่พบตัวอสุจิในน้ำเชื้อ
แพทย์อาจนำอสุจิออกจากอัณฑะหรือหลอดนำอสุจิโดยตรง เพื่อเป็นการรักษาหรือการวินิจฉัยโดยอสุจิที่ได้จากการทำหัตถการจะแช่แข็งเอาไว้เพื่อใช้ในการรักษากับฝ่ายหญิงต่อไป
TESE (Testicular Epididymal Sperm Extraction) คือ การผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกมาเป็นชิ้นเล็กน้อยแล้วแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา
PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมาจากลูกอัณฑะโดยตรง
MESA (Microsurgical Epididymal Sperm Aspiration) คือ การผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไปและดูดตัวอสุจิออกมา
1 บันทึก
5
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคภัย...ใกล้ตัว
1
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย