20 ม.ค. 2021 เวลา 14:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ใครรู้จักหลักการ "Stars and bars" หรือไม่?
🏫🏫🏫ถึงแม้จะไม่มีสอนกันมากที่โรงเรียน
แต่ก็มีการพูดถึงบ้างในหนังสือติวบางเล่ม
หลักการของมันคือการสมมติเหตุการณ์
ให้เหมือนกับการ"โยนบอลลงในกล่อง"
โดยผลลัพธ์ในการโยนบอลก็จะมีหลายวิธี
⚽️เช่นการโยนบอล 4 ลูกลงในกล่อง 2 ใบ
ผลลัพธ์อาจจะลงเอยได้หลายวิธีเช่น...
1) กล่องแรก 4 ลูก อีกกล่องไม่มี OOOO|_
2) กล่องแรก 3 ลูก อีกกล่อง 1 ลูก OOO|O
3) ทั้งสองมีลูกบอลเท่ากัน 2 ลูก OO|OO
แต่ถ้าหากกล่องแต่ใบมีลักษณะต่างกัน
จำนวนวิธีก็จะเบิ้ลเพิ่มเข้าไปอีก!!!
เนื้อหาส่วนหนึ่งในหนังสือสรุปคณิตศาสตร์ ม.ปลาย จากทางเพจ MathisPie โปรเจกท์ "คณิตศาสตร์รำลึก ฉบับ มัธยมปลาย" คาดว่าจะเสร็จภายในครึ่งปีนี้ รอติดตามได้เลย
❓ปัญหาการนับแบบนี้ถูกพบมาไม่นานครับ
จากนักคณิตชาวโครแอต "วิลเลียม เฟลเลอร์"
(William Feller: 1906-1970) คนนี้นี่เอง!!! 🇭🇷
สังเกตจากปีที่แกมีชีวิต วิธีนี้ไม่ได้โบราณเลย!
วิธีนี้นอกจากการเอาไปหาจำนวนวิธี
"โยนลูกบอลใส่กล่อง" ยังใช้แก้ปัญหาจำพวก
- การแจกของขวัญให้เด็กๆ โดยเด็กแต่ละคน
อาจได้จำนวนของขวัญที่ "ไม่เท่ากัน" 🎁🎁
- ปัญหาการสร้างรหัสตัวเลขหรือตัวอักษร
โดยมีตัวอักษรซ้ำได้และไม่สนใจ "ลำดับ"
- การหาจำนวนผลเฉลยที่เป็นไปได้ของ
สมการ x+y+z = K (ตัวเลขสักตัว) โดยที่
x, y, z เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่าศูนย์
🔑🔑🔑 ปัญหาพวกนี้ "Stars and bars"
แก้ได้สบ๊ายย~~~ #รู้ไว้ใช่ว่านะครับ
เก็บเอาไว้เป็นเทคนิคลับเวลาทำข้อสอบ
แล้วให้เครดิตลุงเฟลเลอร์แกด้วยนะ55555
#MathisPie
ปล. เห็นว่าเพจค่อนข้างร้าง ช่วงนี้จะเอาสรุปคณิตศาสตร์มาลงแก้ขัดก่อนนะครับ 555555555555555
William Feller: 1906-1970 เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/pin/122441683595826797/
สามารถตามไปติดตามสาระดีๆ ทางคณิตศาสตร์ได้ที่ facebook และ youtube นะครับ
โฆษณา