Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Logistics Contents
•
ติดตาม
20 ม.ค. 2021 เวลา 19:14 • ธุรกิจ
Supplier Positioning Model หรือ รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์ สำหรับนักจัดซื้อ
เป็นกระบวนการลำดับความสำคัญของซัพพลายเออร์ผู้จำหน่ายวัตถุดิบให้กับเรา โดยคำนึงถึงความเสี่ยงในการขาดแคลนวัตถุดิบและผลกระทบต่อองค์กร รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหา ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งของการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพโดยจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้
https://iok2u.com/index.php/article/e-book/595-supply-positioning-model
1.Routine หรือซัพพลายเออร์ประจำที่ต้องการตลอดเวลา
ไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไรนักเพราะเป็นวัตถุดิบที่หาง่าย ราคาถูก มีซัพพพลายเออร์หลายเจ้า ควรใช้เวลาจัดการน้อย โดยคำนึงถึงต้นทุนการสั่งซื้อที่คุ้มค่าทั้งปริมาณและคุณภาพ
2.Leverage หรือซัพพลายเออร์ที่อาจต้องหยิบยืมมาใช้บางครั้ง ไม่มีผลกระทบเท่าไรหากขาดแคลน เพราะอาจมีซัพพลายเออร์สำรองไว้ 1-2 เจ้า เพื่อเปรียบเทียบราคาและทำการต่อรองให้มีต้นทุนต่ำที่สุด สามารถสั่งแต่ละเจ้ามาทดแทนกันได้ แต่อาจมีผลกระทบเรื่องราคาอยู่บ้าง หากซื้อในระยะเวลาอันสั้นต้องการใช้เร่งด่วน หรือปริมาณที่น้อยมาก
1
3.Bottle Neck หรือซัพพลายเออร์ทำให้เกิดการชะงักของงาน หากไม่มีการวางแผนสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรในด้านการปฏิบัติงาน อาทิเช่นต้องรอวัตถุดิบ เพียงแต่เป็นวัตถุดิบที่ราคาถูก สามารถกักตุน Safety Stock ไว้ได้ในระดับที่เหมาะสม หรืออาจแก้ไขโดยวางแผนสั่งซื้อแบบทยอยเข้า เพื่อลดปัญหาการจัดเก็บและต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลังที่สูงเกินไป
4
4.Strategic/Critical หรือซัพพลายเออร์ที่มีผลกระทบสูงต่อองค์กร เพราะว่ามีวัตถุดิบที่ซื้อมีมูลค่าสูง อีกทั้งมีความเสี่ยงในเรื่องผลกระทบต่อองค์กรหากมีการขาดแคลน เนื่องด้วยอาจมีซัพพลายเออร์น้อยเป็นผู้จำหน่ายรายเดียวในตลาด Monopoly สามารถกำหนดราคาได้เองซึ่งจะทำให้อำนาจการต่อรองเราน้อย วิธีแก้ไขควรหาสินค้าทดแทนที่พอมีซัพพลายเออร์สามารถต่อรองได้ ไม่ควรมีซัพพลายเออร์ต่ำกว่า2-3ราย และควรทำแผนผลักดันให้กลุ่มนี้ขึ้นไปเป็น Leverage
อย่างไรก็ดีนักจัดซื้อที่ดีควรคำนึงค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหาและผลกระทบต่อองค์กรหากสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นๆขาดแคลน และควรมีแผนการจัดซื้อทั้งระยะสั้น และระยะยาวว่าควรนำสินค้าไหนเข้าก่อนหลัง รูปแบบการเรียกเข้ามาเป็นอย่างไร และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงควรมองหาซัพพลายเออร์ทดแทนไว้ตลอดเวลาในกรณีที่เกิดความผิดพลาด รวมถึงต่อรองอย่างมีชั้นเชิงเพื่อรักษาผลประโยชน์ขององค์กร สามารถรักษาความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ได้ Win-Win อีกทั้งไม่ควรมี Conflict of Interest
ที่มา:
https://www.iok2u.com/index.php/article/logistics-supply-chain/275-supply-positioning-model
http://www.pttgroup.com/portal/procurement/th/Knowledge/General-Knowledge/Pages/Knowledge02.aspx
https://www.forbes.com/sites/jwebb/2017/02/28/what-is-the-kraljic-matrix/?sh=54e10083675f
เขียนและเรียบเรียงโดยโลจิสติกส์คอนเทนต์
21/1/2021
10 บันทึก
4
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
การบริหารงานจัดซื้อ (Purchase Management)
10
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย