Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
20 ม.ค. 2021 เวลา 22:00 • สุขภาพ
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis)
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis)
กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) เป็นอาการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพ ส่งผลให้กระดูกสันหลังขาดความยืดหยุ่นและติดแข็งมากขึ้น กระดูกสันหลังเสื่อมมักเกิดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical Spine) กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic Spine) และกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว (Low Back) แต่ที่พบได้มากที่สุดคือบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอและบั้นเอว กระดูกสันหลังเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
อาการของกระดูกสันหลังเสื่อม
อาการของกระดูกสันหลังเสื่อมจะปรากฏอาการปวดคอ หรือปวดหลังซึ่งอาจเป็น ๆ หายๆ แต่บางคนอาจมีอาการปวดเรื้อรัง หรือบางครั้งอาการปวดอาจจะรุนแรงขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง อาการอื่น ๆ ของกระดูกสันหลังเสื่อมมีดังนี้
1. ปวดบั้นเอว
2. กระดูกสันหลังติดแข็งและขยับตัวลำบาก
3. มือ แขน เท้า ขา ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างมีอาการชา อ่อนแรง และเป็นเหน็บ
4. ปวดศีรษะ มีไข้ กรณีที่เกิดขึ้นบริเวณคอ
1
5. กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ค่อยอยู่
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในกรณีที่มีการกดเบียดเส้นประสาทรุนแรง จะทำให้เดินลำบาก เดินแล้วไม่สมดุล ไม่มั่นคงเหมือนจะหกล้ม โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันได หรือก้าวขาขึ้นรถ เป็นต้น
สาเหตุของกระดูกสันหลังเสื่อม
กระดูกสันหลังเสื่อม คือการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จากการที่กระดูกสันหลังโค้งงอเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดแรงกดบนหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง และเสียความยืดหยุ่นไป
ยกตัวอย่างเช่น...
การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม พอลุกจากเก้าอี้กระดูกสันหลังจะถูกทำให้ตรงในทันทีจึงทำให้เกิดการเสียดทานขึ้น ร่างกายจึงสร้างกระดูกงอกออกมาจากข้อต่อเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น
แต่ในบางครั้งกระดูกที่งอกขึ้นมานั้นมีขนาดใหญ่เกินไปจนเบียดกับเส้นประสาทและไขสันหลังทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งมักพบทั่วไปในผู้สูงอายุ
การรักษากระดูกสันหลังเสื่อม
- รักษาด้วยยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่ออาการกระดูกสันหลังเสื่อม และยาทั่วไปที่ใช้กันได้แก่ ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาพรอกเซน (Naproxen)
- ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาที่ใช้ลดอาการปวด
- รักษาด้วยยาตามใบสั่งแพทย์ การทำกายภาพบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวและความแข็งแรง
- การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลังช่วยลดอาการปวดและแผลที่อักเสบบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง
- การผ่าตัดมีหลายประเภท เช่น การผ่าตัดเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังหรือการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม
เมื่อเข้าอายุมากขึ้น เราต้องเผชิญกับอาการปวดหลังและคอ แต่สามารถป้องกันกระดูกสันหลังเสื่อมด้วยวิธีต่าง ๆ คือ...
1. นั่งในท่าที่ดี ควรนั่งตัวตรง มีหมอนหรือเบาะรองระหว่างหลังเก้าอี้เพื่อรองรับส่วนบั้นเอว เท้าทั้งสองข้างแตะพื้นพอดี โดยการวางข้อศอกสองข้างบนโต๊ะจะช่วยลดอาการตึงบริเวณบ่าและคอหากต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ ได้
2. จัดให้คอมพิวเตอร์สูงพอดีในระยะสายตา ช่วยให้สายตาของคุณมองต่ำลงมาเป็นมุม 15-20 องศา เพื่อลดอาการตึงบริเวณคอ พักการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะ ๆ ผลัดนั่งตัวตรงเป็นเวลา 10-15นาที แล้วลุกขึ้นเดิน ยืดเส้นยืดสายบ้าง
3. ออกกำลังกายโดยใช้ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อ และท่าเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
4. หลีกเลี่ยงการก้ม ๆ เงย ๆ
5. ไม่นั่งหรือทำกิจกรรมที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ
6. หลักเลี่ยงการยกของหนัก
7. ระมัดระวังไม่ให้หลังได้รับการกระทบกระเทือนหรืออุบัติเหตุ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา
https://www.s-spinehospital.com/main/spondylosis
https://www.pobpad.com/กระดูกสันหลังเสื่อม
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
18 บันทึก
36
16
34
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
18
36
16
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย