3 ก.พ. 2021 เวลา 13:30 • อาหาร
กินมื้อใหญ่ๆ VS กินมื้อเล็กๆหลายๆมื้อ แบบไหนผอม!? แบบไหนฟิต?
4
ปัจจุบันมีเทคนิคการกินหลากหลายแบบออกมาให้เราเห็นในอินเตอร์เน็ต เช่น
1. กินมื้อเล็กๆ 4-5 มื้อ ทั้งวัน
2. กินมื้อใหญ่ๆ 1-2 มื้อ
3. ข้าวเช้ากินเยอะ กลางวันกินน้อย เย็นกินน้อยมากๆ หรือไม่กิน
4. อดอาหารทั้งวัน และกินในเวลาแค่ 4-5 ชั่วโมง (ยิ่งหิว ยิ่งดี!)
5. กิน 3 มื้อ เช้ากลางวันเย็น
10
ทั้งหมดนี้ ทำให้เราสับสนมาก ว่าการที่เราจะหุ่นดีได้ สรุปควรจะทำอย่างไร
1
อย่างแรกที่อยากอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจคือ ร่างกายคนเรา มีหลักการทำงานหลักๆ ง่ายๆดังนี้ครับ
1. กินเยอะกว่าที่เราใช้ (พลังงานมากเกินไป) เราก็อ้วน
กฏข้อแรกของความอ้วน คือการที่เราได้รับพลังงานมากเกินไป (ไม่ว่าจะมาจากโปรตีน ไขมัน แป้ง น้ำตาล ได้รับเยอะไปก็อ้วนเหมือนกันหมด) ข้อนี้ โทษตัวเองที่กิน
แบบไม่ยับยั้งชั่งใจ และโทษตัวเองที่ไม่ค่อยออกกำลังกายได้เลย!
1
2. กินน้อยกว่าที่เราใช้ (พลังงานน้อย แต่ได้สารอาหารพอดีๆ) เราก็จะผอม
ทีนี้หากว่าเราได้รับพลังงานเพียงพอต่อที่เราต้องการ แต่มีการออกกำลังกายให้เกิดการ burn มากขึ้น เราก็จะเกิดการนำไขมันออกมาใช้ หรือไม่สะสมไขมันเพิ่ม
ซึ่งปัจจัยหลักๆของการฟิตหุ่นก็มีสามข้อนี้
5
– การออกกำลัง แบบ Cardio เน้นการนำไขมันไปใช้
– การคุมอาหาร ไม่ให้กินมากเกินไป ทำให้เราไม่เก็บไขมันเพิ่ม
– การออกกำลัง แบบ Weight Training เน้นการทำให้ร่างกายแข็งแรง ฟิต
3. ร่างกายเรา ปรับตัวได้ตามเวลาอาหารที่เรากิน
ที่นี้มาพูดถึงเวลาการกินกันบ้าง ในเมื่อร่างกายคนเรานั้น มีการปรับเวลาที่น้ำย่อย
จะออกมา ตามพฤติกรรมการกินของเรา จึงทำให้คนที่กินไม่เป็นเวลา แบบไม่มีการ
วางแผน อาจจะเกิดปัญหาโรคกระเพราะได้
3
แต่การกินไม่ตามเวลาปกติ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ (พระ หรือยาม ที่ทำงานกลางคืน ก็ไม่ได้กินตามเวลาชาวบ้าน) เพราะพอเราทำอะไรเป็น pattern เดิมๆ ร่างกายก็จะ
ปรับตัวได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าการพยายาม “หลอกร่างกาย” ด้วยการกินแบบ
แปลกๆ สุดท้ายร่างกายก็ปรับตัว รู้ทันอยู่ดี
ซึ่งทั้งสามอย่างนี้นี่แหละ ที่สำคัญมากต่อการฟิตหุ่นของเราครับ
แต่ถ้าเรากินน้อยกว่าที่เราใช้ แต่ขาดสารอาหาร เราก็จะผอมแบบโทรมๆ เหี่ยวๆ
1
ดังนั้น กินตามที่ปกติเรากิน เช่น ถ้าว่างกิน 3 มื้อ ก็กิน 3 มื้อ แต่ถ้าไม่ว่าง ก็สร้าง
พฤติกรรมให้เราสามารถกินได้ โดยไม่หิว ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อ โดยไม่ต้องพยายามหาวิธี “แปลกๆ” มาทำให้ลำบาก
3
และอีกข้อที่เราควรรู้คือ ยิ่งกินหลายมื้อ ไม่ได้แปลว่าเราจะเผาผลาญพลังงานเยอะ
เพราะร่างกายเรา ใช้พลังงานในการ “ย่อยอาหาร” ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
แต่การเพิ่มจำนวนมื้อ ไม่ได้ช่วยทำให้เราเผาผลาญมากขึ้น เพราะร่างกายก็ยังย่อย
อาหาร เท่าเดิม (ถ้าเรากินเท่าเดิมทั้งวัน)
4
หากว่าเป้าหมายของเราคือการลดไขมัน แต่ถ้าเรากินหลายมื้อ เช่น 4-6 มื้อ และได้รับพลังงานเยอะกว่าที่ควรจะได้รับ สุดท้ายก็อ้วนอยู่ดี
ยกเว้นว่าเป้าหมายของเราคือการสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งจะขอพูดถึงในโอกาสอื่นครับ
4
หวังว่าบทความวันนี้จะมีประโยชน์ครับ
1
โฆษณา