Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Healthy Hub
•
ติดตาม
22 ม.ค. 2021 เวลา 01:39 • สุขภาพ
อย่าเข้าใจผิด !! ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ
3
เรื่องดีดี
ขอบคุณผู้สนับสนุนบทความ 👇
Creven Miracle waterproof BB body lotion SPF 50+++ บีบีครีมปรับสีผิวผสมกันแดดและกันน้ำ ช่วยปรับสภาพผิวให้ขาวเนียน กระจ่างใส อย่างเป็นธรรมชาติ และปกป้องผิวจากแสงแดด กลิ่นหอมติดทนนานตลอดวัน
ฟางจะบอกว่ามีคนเข้าใจผิดในเรื่องนี้เยอะมาก รวมถึงคนรอบข้างฟาง เพื่อนๆ หรือญาติๆฟางเอง ก็มักจะเข้าใจผิดบ่อยๆ และคนส่วนใหญ่ก็มักจะเรียกยาปฏิชีวนะว่าเป็นยาแก้อักเสบ
ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นการเรียกที่ไม่ถูกต้องนะคะทุกคน 😆 เพราะ " ยาปฏิชีวนะ " ไม่ใช่ " ยาแก้อักเสบ " ทำให้หลายๆคนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าทำให้โรคที่เป็นอยู่หายไวขึ้น เพราะยาจะไปรักษาและแก้อาการอักเสบได้
ทีนี้เรามาทำความรู้จักกันให้มันถูกต้องกันดีกว่าค่ะว่ายา ปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ ความจริงแล้วมันคืออะไร ?
https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/taking-antibiotics-for-your-cold-just-say-no
💥💥 ยาปฏิชีวนะ คืออะไร ? 💥💥
ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) หรือ ยาต้านแบคทีเรีย เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ ใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง ตัวอย่างยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลิน อะม็อกซีซิลิน เตตร้าซัยคลิน เลโวฟล็อกซาซิน เป็นต้นค่ะ
💥💥 ยาแก้อักเสบ คืออะไร ? 💥💥
ยาแก้อักเสบ หรือยาต้านการอักเสบ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ส่วนใหญ่แล้วการอักเสบไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น คออักเสบจากเชื้อไวรัส ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี หรือ การอักเสบของกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก ตัวอย่างยาแก้อักเสบ เช่น แอสไพริน ไดโคลฟิแนค ไอบรูโพรเฟน พอนสแตน อาร์คอกเซีย จาโปรลอค เป็นต้นค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
1
https://www.agingresearch.org/antibiotic-resistance-and-why-you-should-be-concerned/
โดยทั่วไปปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายคนเรา มีหลากหลายสาเหตุค่ะ ทั้งที่มาจากการติดเชื้อ และไม่ใช่การติดเชื้อ การใช้ยาเพื่อรักษาการอักเสบ จึงต้องพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใดก่อนนะคะ
ในกรณีการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เจ็บคอ, ท้องเสีย, ปัสสาวะแสบขัด, แผลอักเสบ ยาที่ได้รับจะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียค่ะ ซึ่งเรียกอีกชื่อว่า “ยาปฏิชีวนะ” (Antibiotics) ตัวอย่างเช่น เพนิซิลลิน, เตตราซัยคลิน, ซัลฟา, คลอแรมเฟนิคอล, กานามัยซิน เป็นต้นค่ะ
ซึ่งส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานตามแพทย์สั่งจนครบชุด เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดและป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อต่อยานั่นเองค่ะ
2
https://complete-physio.co.uk/prophylactic-nsaids-usage-in-sports/
ส่วนการอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ ยาที่ใช้รักษาจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุค่ะ เช่น กรณีกล้ามเนื้อ-เอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาที่ให้ผลต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) และมีฤทธิ์ระงับปวด
https://www.health.harvard.edu/blog/are-you-taking-too-much-anti-inflammatory-medication-2018040213540
โดยไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อใดๆ ยากลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็นกลุ่มสเตียรอยด์ (steroid) และไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยทั่วไปจะเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งเรารู้จักกันย่อๆว่า เอ็นเสด (NSAIDs: non-steroid anti-inflammatory drugs) ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Ibuprofen , Diclofenac ,Mefenamic acid หรืออีกชื่อ ชื่อทางการค้า คือ พอนสแตน ที่ผู้หญิงมักคุ้นเคยกันดีเวลาปวดประจำเดือน นั่นเองค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
ทีนี้ มีหลายคนถามมาเหมือนกันว่า แล้วถ้าเป็น หวัด เจ็บคอ ล่ะ ควรจะกินยาปฏิชีวนะไหม?
คำตอบ ไม่ควรกินค่ะ อย่างที่บอกไปแล้วนะคะว่ายาปฏิชีวนะใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพราะอาการเป็นหวัด เจ็บคอ ส่วนใหญ่เป็นเพราะติดเชื้อไวรัส การกินยาปฏิชีวนะจึงไม่ทำให้หายป่วย เพราะยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไวรัสไม่ได้และยังมีโอกาสเสี่ยงอันตรายจากผลข้างเคียงของยาต่อร่างกายอีกด้วยค่ะ
แล้วถ้าเป็นแผลเลือดออก จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อไหม?
คำตอบ ยังไม่ต้องทานยาค่ะ ถ้าแผลไม่สัมผัสสิ่งสกปรก ขอบเรียบ ให้ล้างแผลอย่างถูกวิธี และสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และที่สำคัญคือ อย่าให้แผลโดนน้ำ (อย่างน้อย 3 วัน หรือตามแพทย์สั่ง) รักษาบริเวณแผลให้สะอาด ไปทำแผลตามนัด หรือทำแผลเองอย่างถูกวิธี เพียงเท่านี้แผลก็หายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะค่ะ
และ “ยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อ” ไม่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น การรักษาความสะอาดของแผลให้ดีก็เพียงพอที่จะทำให้แผลหายได้ แต่หากแผลบวมแดงอักเสบ ให้รีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทันทีนะคะ
ยาปฏิชีวนะหยุดอาการท้องเสียได้จริงหรือไม่ ?
คำตอบ ยาปฏิชีวนะใช้ได้ผลกับอาการท้องเสียที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้นนะคะ ส่วนอาการท้องเสียจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะใช้ไม่ได้ผลนะคะ
อาการท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรียพบน้อยมาก (จากจำนวนคนท้องเสีย 100 คน จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซัก 5 คนเท่านั้นค่ะ) การกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งจึงเสี่ยงต่อการแพ้ยาและก่อปัญหาเชื้อดื้อยาด้วยนะคะ ก่อนจะทานฟางแนะนำให้ไปพบแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนะคะ
https://sitn.hms.harvard.edu/flash/2018/less-rebooting-an
อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม
1. มีอาการแพ้ยา มีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น มีผื่นคัน จนอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกและช็อค
ส่วนอาการข้างเคียง อาการเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน อาการรุนแรง เช่น ตับอักเสบและเอ็นร้อยหวายฉีกขาด
2. มีอาการดื้อยา ถ้าหากเชื้อดื้อยาจะทำให้ต้องรับประทานยาที่อันตรายมากขึ้น ราคาแพงขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้น และสุดท้ายไม่มียาใดรักษาหายนะคะ
อาการข้างเคียง คือ ติดเชื้อแทรกซ้อน อาจทำให้ติดเชื้อราแทรกซ้อน เช่น มีตกขาว หรือเป็นเชื้อราในช่องปาก เป็นต้นค่ะ
💥💥 ข้อควรจำ : อย่ากินยาปฏิชีวนะอย่างเดาสุ่ม โปรดจำให้แม่นว่าโรคส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไม่ใช่แบคทีเรียค่ะ 💥💥
1
ดังนั้น หากเกิดภาวะเจ็บป่วย ฟางแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ หากได้รับยามาแล้ว ให้อ่านฉลากอย่างละเอียดให้เข้าใจ หากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้การใช้ยาได้ประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดและมีความปลอดภัยมากที่สุดนะคะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
ขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน 👇
Creven Miracle waterproof BB body lotion SPF 50+++ บีบีครีมปรับสีผิวผสมกันแดดและกันน้ำ ช่วยปรับสภาพผิวให้ขาวเนียน กระจ่างใส อย่างเป็นธรรมชาติ และปกป้องผิวจากแสงแดด กลิ่นหอมติดทนนานตลอดวัน
🔥 พิเศษ !! สำหรับแฟนเพจเรื่องดีดี ซื้อได้ในราคาเพียง 390 บาท จากราคา 590 บาท
1 ท่าน / 1 สิทธิ์ สนใจสั่งซื้อออนไลน์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line official 👇
https://lin.ee/4CJNN9d
อ้างอิง
โครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในร้านยา; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) Health Systems Research Institute
หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
5 บันทึก
34
33
9
5
34
33
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย