Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เอาคนดังมานั่งเล่า
•
ติดตาม
23 ม.ค. 2021 เวลา 05:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แผงโซล่าร์ลอยน้ำ ทางรอดหรือทางร่วง
ปัจจุบันมีการสนับสนุนให้ติดตั้งแผงโซล่าร์ทั้งบนหลังคา ทั้งที่ทำเป็นฟาร์มโซล่าร์ มีทั้งนายทุน เจ้าของโรงงาน และราชการต่างก็เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับแผงโซล่าร์ไม่มากก็น้อย เนื่องจากว่าความต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยไม่เคยลดน้อยลงเลยมีแต่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่อย่างไรละครับพี่น้อง พื้นที่ที่ใช้ผลิด หรือจะเรียกว่าวางแผงโซล่าร์มีน้อยลงเรื่อยๆ เพราะบอกตามตรง พื้นที่ทำการเกษตรบางครั้งยังไม่พอ ถ้ามันพอ และหากันง่ายคงไม่มีข่าวบุกรุกป่าเพื่อทำการเกษตรของชาวบ้านกันหรอกครับ ขนาดรู้ว่าผิดกฎหมายยังหาแอบทำเลย
คลั้นจะมาหวังว่าจะเอาพลังงานจากเขื่อน น้ำก็แห้งขอด ฝนตกพายุมาที่นึงก็เก็บน้ำที่นึง พอมามาๆเขื่อนรับไม่ไหวก็ต้องปล่อยน้ำทิ้งไป ท่วมพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้าน ไม่ปล่อยก็ไม่ได้เสี่ยงเขื่อนแตกอีก เขื่อนแตกมายุ่งและอันตรายกว่ามาก และเขื่อนปัจจุบันก็แทบจะสร้างเพิ่มอีกไม่ได้ ก็เหลือแต่พลังงานจากแสงแดดและพลังงานลม ที่แสนจะฟรี (แต่ก็ต้องลงทุนก่อสร้างอะนะ )
พลังงานลมจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ แต่จะขอกล่าวถึงเฉพาะพลังงานไฟฟ้ากันก่อน โครงการอีกโครงการหนึ่งที่กำลังฮิต และเริ่มมีการทำกันมากคือ โครงการ “โซล่าร์ร์ลอยน้ำแบบไฮบริด” มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย โครงการดังกล่าวเป็นโครงการของ กฟผ. มีกำลังผลิตรวม 2725 MW ประกอบไปด้วย
เขื่อนสิรินธร มีโซล่าร์ 45 MW , เขื่อนอุบลรัตน์ มีโซล่าร์ 24 MW ,เขื่อนภูมิพล มีโซล่า 778MW ,เขื่อนศรีนครินทร์ มีโซล่าร์ 720MW เขื่อนวชิราลงกรณ์ 300MW ,เขื่อนจุฬาภรณ์ 40 MW ,เขื่อนบางลาง 76MW ,เขื่อนรัชชประภา240 MW และเขื่อนสิริกิติ์ 500MW ตามลำดับ
ว่าแต่ว่าโครงการโซล่าร์ลอยน้ำมันดีกว่าโครงการอื่นอย่างไรนะ จะสรุปเอาง่ายๆ ตามสไตล์ดังนี้ครับ
ไม่ต้องลงทุนสายส่งแรงสุงเพิ่ม : คือหมายความว่าโครงการโซล่าร์ลอยน้ำนี้จะสร้างขึ้นบนเขื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเดิม โดยปกติจะใช้กำลังผลิตเท่าๆกับกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (หากแผงโซล่าร์ได้รับแสงเต็มที่) เราสามารถใช้ระบบหม้อแปลงที่มีอยู่แล้วในการแปลงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตน์ให้กลายเป็นไฟฟ้าแรงสูงเข้าสู่ระบบสายส่งที่มีอยู่เดิมได้เลยโดยไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์เหล่านี้เพิ่มเติม
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าร์เซลล์ :
แม้ว่าในเวลาปกติแผงโซล่าร์จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากเมื่อมีแสงมาก แต่หากว่าแผงโซล่าร์มีอุณหภูมิสูงเกินก็จะส่งผลให้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อยลง โซล่าร์แบบลอยน้ำจึงสามารถผิลดไฟฟ้าได้มากกว่าการติดตั้งแบบอื่นเนื่องจากได้การลดอุณหภูมิจากการระเหยของผิวน้ำ หรือความเย็นจากน้ำด้านล่างช่วยระบายความร้อนนั้นเอง
ไม่ต้องเสียพื้นที่ที่เดินเพื่อทำโซล่าร์ฟาร์ม :
เนื่องจากการใช้ที่ดินที่ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เป็นผิดน้ำของเขื่อนเอง หากเป็นโครงการโซล่าร์ฟาร์มอื่นๆจะต้องหาที่ดินในการติดตั้งแผง ซึ่งทำให้สูญเสียพี้นที่ในการทำเกษตรกรรมหรือการก่อสร้างเชิงพานิชย์อื่นๆ การนำพื้นที่ผิวน้ำมาใช้ประโยชน์ช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้
เพิ่มเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ :
เพราะเราไม่สามารถควบคุมแสงแดดได้ บางวันแดดจัด บางวันก็ครึ้มฟ้าครึ้มฝน บางวันฝนตกห่าใหญ่เลยก็มี ทำให้กำลังในการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่คงที่ แต่หากเราทำงานร่วมกับเขื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้า จะช่วยในความไม่แน่นอนในส่วนนี้ได้ คือหากผลิดไฟฟ้าจากแผงโซล่าร์ไม่ได้ ก็ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำแทน หากฝนตก ก็มีน้ำมากก็ผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำดีกว่า วันไหนแดดจัดก็ผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดแทน
ต้นทุนค่าไฟฟ้าไม่สูงเกินไป :
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อเทียบกับโครงการอื่นที่ต้องซื้อที่ดิน หรือติดตั้งโครงสร้าง ลากสาย และค่าแรงต่างๆ ทำให้โครงการนี้มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นน้อย ทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าในราคาต้นทุนที่ต่ำ คิดรวมๆ โดยประมาณค่าไฟฟ้าจากโครงการนี้ อยู่ที่ไม่เกิน 2.44 บาทต่อหน่วย ต่ำกว่าค่าไฟเฉลี่ยของประเทศไทยเสียอีก
แต่อย่างที่บอก หลายคนก็มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และคุณภาพน้ำของเขื่อน แน่นอนว่าประชาชนต้องใช้น้ำจากเขื่อนในการอุปโภคบริโภค ดังนั้นการจัดทำโครงการต่างๆ ย่อมสร้างความกังวลใจ ขอบอกให้คลายความกังวลดังนี้ครับ ทุ่นลอยน้ำของ แผงโซล่าร์ที่ใช้เป็น HDPE ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและคน ส่วนใครกังวลว่าหากทำทุ่นลอยน้ำ และแผงโซล่าร์จะบดบังแสงอาทิตย์ ทำให้พืชน้ำตาย และสัตว์น้ำขาดออกซิเจน จะบอกว่ามีการเว้นช่องว่างเอาไว้ในแต่ละแผงให้แสงอาทิตย์ส่องไปยังผืนน้ำได้เพียงพอ และนอกกจากนี้พื้นน้ำเหนือเขื่อนไมได้เป็นแผงโซล่าร์ทั้งหมด มีพื้นที่อีกมากให้แดดส่องและออกซิเจนให้ละลายลงไปในน้ำได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา :
www.energynewscenter.com
,
www.bangkokpost.com
,
www.egat.co.th
4 บันทึก
4
1
4
4
4
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย