24 ม.ค. 2021 เวลา 03:21 • ประวัติศาสตร์
สวัสดีครับ วันนี้เพจเรื่องราวจากของเก็บ มีเรื่องของลายน้ำมาฝาก เชื่อว่าหลายๆคนยังไม่ทราบว่าลายน้ำของแสตมป์ที่เราใช้ๆกันอยู่หน้าตาลวดลายเป็นยังไง
ลายน้ำ (Watermark) คือภาพที่สามารถสังเกตได้ในกระดาษ โดยปรากฏเป็นสีจางกว่าเมื่อนำกระดาษมาส่องผ่านแสงและเป็นสีทึบเมื่อนำกระดาษมาทาบบนวัสดุสีเข้ม
ลายน้ำ "Crown & CA" (ย่อมาจาก "Crown Agent") พบได้บนแสตมป์ของอาณานิคมต่าง ๆ ของอังกฤษ
เรื่องนี้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญที่โรงงานทำกระดาษ ที่เมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี ชื่อโรงงานฟาบริอาโน (Fabriano) ซึ่งผลิตกระดาษมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1260 แม่พิมพ์ที่ใช้สำหรับรีดน้ำออกจากกระดาษที่เปียกนั้นมีเส้นลวดบางๆ นูนขึ้นมาและกินเข้าไปในเนื้อกระดาษ ทำให้กระดาษตรงนั้นบางกว่าที่อี่น เกิดเป็นเส้นขึ้นในกระดาษซึ่งมองเห็นได้เมื่อส่องดูกับแสงสว่าง ต่อมาจึงคิดกันว่า ถ้านำลวดมาทำเป็นลวดลายที่ต้องการก็จะทำให้เกิดลายน้ำสวยงาม ดังนั้นในปี ค.ศ.1282 จึงมีการทำกระดาษลายน้ำรูปกากบาทขึ้น การสร้างลายน้ำในปัจจุบันก็ยังใช้วิธีการทำนองเดียวกั้น คือนำกระดาษเปียกมาอัดด้วยลูกกลิ้งซึ่งติดลวดลายนูนเอาไว้
ลายน้ำถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งบนแสตมป์ มักใช้แยกความแตกต่างของแสตมป์ที่พิมพ์รุ่นต่างๆ ปัจจุบันมีการใช้ลายน้ำน้อยลง และมีการใช้วิธีอื่นในการป้องกันการปลอมแปลงมากขึ้น เช่น การใช้กระดาษที่ฝังด้ายสี (granite paper) หรือใช้หมึกที่เรืองแสงเมื่อส่องด้วยแสงอัลตราไวโอเลต เป็นต้น
ข้อมูลจาก “คู่มือแสตมป์ไทย 2557” พบว่าลายน้ำที่พบบนแสตมป์ไทยมี 15 แบบ และฝังด้ายสี 3 แบบ มีดังนี้ครับ
ลายน้ำแบบที่ 1-5
ลายน้ำแบบที่ 6-10
ลายน้ำแบบที่ 11-15
การฝังฝังด้าย 3 แบบ
หมายเหตุ รูปซ้ายคือลายน้ำจากคู่มือ รูปขวาคือลายน้ำจากแสตมป์จริง
ข้อมูล
อ้างอิง : หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี
ภาพ
อ้างอิง : รูปลายน้ำ W - FP คู่มือแสตมป์ไทย 2557

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา