24 ม.ค. 2021 เวลา 02:14 • สุขภาพ
ประกันมีไว้คุ้มครอง
แต่ทำไมต้องรีบทำตอนสุขภาพดี..?
เคยสงสัยกันใช่มั้ยคะ ในเมื่อประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพถูกออกแบบมาเพื่อคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ แล้วทำไม ถึงต้องรีบทำ ในเวลาที่ร่างกายแข็งแรงปรกติดี
อายุมากกว่านี้..ค่อยทำก็ได้
ทำไมต้องรีบทำ..?
การสร้างความคุ้มครองประกันชีวิต พร้อมแนบสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองนั้น เป็นการสร้างการปกป้อง ก่อนเกิดภัย หากเผชิญสิ่งที่กังวลขึ้นเมื่อใด ประกันและความคุ้มครองที่เราสร้างไว้ จะเข้าปกป้องดูแล
ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องสร้างขึ้นในเวลาที่แข็งแรงสุขภาพดี ร่างกายสมบูรณ์ตามเกณฑ์ เพราะหลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัย เป็นไปตามนโยบายของบริษัทเพื่อดูแลคุ้มครองปกป้องเราและครอบครัวตามที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์
1. การทำประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งข้อมูลเรื่องสุขภาพตามความเป็นจริงโดยไม่ปิดบัง หากทางบริษัทตรวจพบความจริงในภายหลัง บริษัทสามารถปฏิเสธความคุ้มครองต่างๆ ได้
2.เงื่อนไขระยะเวลาการรอคอย (Waiting Period) หรือระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมได้ เพราะอาจมีอาการเจ็บป่วยมาก่อนทำประกัน การประกันสุขภาพจึงได้กำหนดเงื่อนไขระยะเวลารอคอยขึ้น เพื่อป้องกันการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย การกำหนดระยะเวลารอคอยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันภัย อาจจะมีระยะเวลารอคอยประมาณ 30-120 วัน
3. การประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคหรือการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น
- การเป็นโรคทางพันธุกรรม
- โรคที่เกี่ยวกับผิวพรรณเช่น สิว ฝ้า รังแค ผมร่วง
- โรคตาที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์
- การรักษาหรือการบำบัดกรณีติดยาเสพติด
บุหรี่ และเหล้า
- การรักษาโดยไม่ใช้แพทย์แผนปัจจุบัน
หรือเป็นแพทย์ทางเลือก
- โรคที่เคยเป็นต่อเนื่องมาก่อนการทำประกันภัย
4.การประกันสุขภาพโดยทั่วไป จะไม่คุ้มครองการเข้าพักรักษาตัวซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บหรือป่วยไข้ เช่น การทำหมัน การทำศัลยกรรม การลดความอ้วน การพักผ่อน รวมทั้งการรักษาโรคประสาท กามโรค การติด และการตรวจสายตา เช่นกัน
5.การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย กำหนดสิทธิให้ผู้เอาประกันภัยบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ แต่บริษัทประกันภัยจะใช้สิทธิในการบอกเลิกได้เฉพาะกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าผู้เอาประกันภัยทุจริตเท่านั้น
1.อายุ
ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุของผู้ทำประกัน ซึ่งช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันถูกสุด ได้แก่ อายุ ที่อยู่ระหว่าง 20-40 ปี หรือคนวัยทำงาน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายแข็งแรงมากที่สุด ส่วนช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันค่อนข้างสูงได้แก่ ช่วงวัยเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี และช่วงวัยสูงอายุ 50-60 ปี
2.เพศ
อัตราเบี้ยประกันภัยเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน โดยเพศหญิงจะใช้เวลาในการฟื้นตัวจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บทางร่ายกายนานกว่าเพศชาย
3.สุขภาพ
ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาพยาบาล รวมทั้งสภาพร่ายกายของผู้ขอเอาประกันภัยเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้บุคคลที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยรุนแรง เบี้ยประกันภัยย่อมถูกกว่าบุคคลที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอหรือเคยมีประวัติการเจ็บป่วยร้ายแรง เนื่องจากบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่าในการที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยร้ายแรงในอนาคต
4.อาชีพ
อาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด อาชีพที่มีความเสี่ยงภัยหรือมีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยสูง เช่น อาชีพวิศวกรคุมงานก่อสร้าง หรือช่างทำงานในโรงงาน เบี้ยประกันภัยย่อมสูงกว่าอาชีพพนักงานบริษัททั่วไปที่ไม่มีความเสี่ยง
5.การดำเนินชีวิต
การใช้ชีวิตหรือ Life Style ของแต่ละบุคคล แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพ หรืออุบัติเหตุของบุคคลที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่กินเหล้า สูบบุหรี่ หรือเล่นกีฬาที่เสี่ยงอันตราย ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นอัตราเบี้ยประกันจึงสูงกว่า เป็นต้น
6.สำหรับการประกันภัยหมู่
อัตราเบี้ยประกันภัยพิจารณาจากจำนวนบุคคลที่จะเอาประกันภัย ถ้าจำนวนบุคคลมาก การกระจายความเสี่ยงย่อมมีมากกว่า ซึ่งจะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำลงได้
การเข้าถึงข้อมูลหลักเกณฑ์และเงื่อนไข จะทำให้การทำประกันเป็นเรื่องง่ายขึ้น
"สร้างความคุ้มครอง อย่างเข้าใจ สร้างความมั่นใจ ในการปกป้องครอบครัว"
ด้วยความปรารถนาดี Onenutlifeplanner MTLP53
"รายละเอียดการให้ความคุ้มครองระบุตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย สำหรับการพิจารณาเป็นไปตามนโยบายของแต่ละบริษัท"
อ้างอิง : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | การประกันสุขภาพ (oic.or.th)
โฆษณา