24 ม.ค. 2021 เวลา 22:55 • ธุรกิจ
กระบวนการแก้ไขความขัดแย้ง
ไม่ว่าคุยกับใคร ทำไมต้องขัดแย้ง และหงุดหงิดใจตลอด ทำอย่างไร? เพื่อปรับตัวและเตรียมใจเพื่อรับมือกับรูปแบบความขัดแย้งในแต่ละสถานการณ์
การมองกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน ซึ่งทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งการใช้ออกแบบเกมส์ 4 แบบ ก็สามารถนำมาช่วยในการแก้ไขความขัดแย้งได้ โดยชื่อเกมส์จำง่ายๆ คือ 2 ป. & 2 บ. (เปิด-ปิด-เบิ้ล-บี้)
เกมส์เปิด เพื่อการควบคุมคู่ขัดแย้ง
เกมส์เบิ้ล เพื่อลวงคู่ขัดแย้งว่า เราเหนือกว่า
เกมส์บี้ เพื่อให้คู่ขัดแย้งเสียศูนย์
และ เกมส์ปิด เพื่อเร่งให้คู่ขัดแย้งยอมทำตาม
จาก 4 เกมส์ข้างต้น อาจจะดูแบบเผด็จการและล้าสมัย เลยต้องกระบวนการเสริมอีกอย่างมาช่วยในการบริหารจัดการความขัดแย้งได้มีประสิทธิภาพนั่นก็คือ หลักการ 3 ช. "แชร์ โชะ และใช้"
แชร์-รับรู้และตกลงร่วมกันเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระบวนการแก้ปัญหา เพราะเมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้น เราก็ควรเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไข
โชะ-ตัดสินใจและร่วมหาทางแก้ไขข้อขัดแย้ง โดยไม่มีการโทษกันไปมา
ใช้-ปฏิบัติตามแผนด้วยความรับผิดชอบ และติดตามผลของความก้าวหน้าในการแก้ไขความขัดแย้ง
จากกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งทั้ง 2 ป. 2 บ. และ 3 ช. ควรนำมาเลือกใช้ให้เหมากะกับแต่ละสถานการณ์ เพราะถ้าหากลดหรือหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไม่ได้ ตัวเราเองควรเลือกเส้นทางในการไม่เพิ่มหรือสร้างความขัดแย้งใหม่ให้รุนแรงขึ้น
กระบวนการแก้ไขความขัดแย้ง
ขอบคุณความรู้ดีๆจากคลาส YourNextU virtual classroom เรื่อง Positive Conflict Resolution 2
My Memories Reviews ep.89
25/1/2021
#MyMemoriesReviews
#เรื่องน่าจำนำมาเล่า
#PositiveConflictResolution2
#YourNextU

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา