24 ม.ค. 2021 เวลา 10:17 • นิยาย เรื่องสั้น
อิยะกับความหมายที่หายไป ซีซั่น'๓
เรื่องพิพิธภัณฑ์ของพระราชา
บทที่๑ ตอนที่๔ รัชกาลที่๗
องก์ที่๒การเปลี่ยนแปลง(บันทึกของพระราชา)
(พ.ศ.๒๔๗๐-๒๔๗๔)〰️🌸
..
ความเดิม
..
"..อาครับในรายงานประชุมมีข้อความทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ผมก็นั่งแกะอยู่นาน สะกดได้ว่า
m u n i c i p a l i t y กับอีกอันคือ D e m o c r a c y i n S i a m ศัพท์สองตัวนี้หมายความว่ายังไง "เด็กหนุ่มอาโปถามอาที่กำลังง่วนกับการพิมพ์อะไรบางอย่างในมือถือ
.
"อื้ม..ว่าอะไรนะ ชายหนุ่มเอี้ยวตัวมาหาหลานชาย
"โธ่ อา ทำไร..อ่ะ ไม่สนใจหลานเลย"เด็กหนุ่มบ่นเชิงแกล้งน้อยใจ จวบพอดีกับนาวะเด็กญี่ปุ่น ยกเครื่องดื่มและของทานเล่นมาเสิร์ฟ
.
หลังจากมื้อกลางวัน เขาทั้งสามก็มานั่งผ่อนคลายจิบน้ำชาที่ร้านแห่งหนึ่ง
ชื่อร้านดูแปลก" หมอขี้เกียจ "นัยว่าเป็นร้านของคุณหมอท่านหนึ่งใช้ชีวิตหลังเกษียณมาเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ทุกอย่างมีให้หมด แต่ต้องบริการตัวเอง บรรยากาศได้อารมณ์สดชื่นเพราะติดริมน้ำเจ้าพระยา และนอนเอกเขนกเหมือนอยู่บ้าน
.
"พอดีอากำลังพิมพ์ขอบคุณเพื่อนๆที่ติดตามเพจครบหนึ่งพันคน "ผู้เป็นอาสาธยาย
.
"บล็อคดิต..ชื่อแปลกดี"เด็กหนุ่มชะโงกมองมือถือของผู้เป็นอา
"โหว..มีคนตามอ่านด้วย "เด็กหนุ่มเย้าผู้เป็นอา
"เปิดมาเกินปีก็เพิ่งจะมีโอกาสได้ผู้ติดตาม1k...555"ชายหนุ่มผู้เป็นอาหัวเราะร่วน
.
"น่าสนใจอย่างผมทำได้มั้ยอา"เด็กชายร้องขอ
.
"ได้สิ เดี๋ยววันหลังบอกนะ แต่ตะกี้..ถามว่าอะไรนะ " ผู้เป็นอาไม่ลืมที่จะถามกลับ
.
"..พอดี อ่านข้อความฉบับรายงานที่ถ่ายรูปมา เป็นรายงานสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์
ทูลเกล้าถวายรายงานนายอาร์ ดี เครก เรื่องจัด
m u n i c i p a l i t yเลยสงสัยว่าคำนี้ กับคำว่า
D e m o c r a c y i n S i a m ที่ในหลวง
ร.๗ทรงบันทึก"เด็กชายถามใหม่แถมแจงรายละเอียดให้ผู้เป็นอาฟัง
.
.
"โอ้..เดี๋ยวนี้ เด็กๆสนใจเรื่องการบ้านการเมือง ประวัติศาสตร์ด้วยรึ.."เสียงคล้ายชายผู้สูงวัยดังมาจากเบื้องหลังของเขาทั้งสาม
.
.
"สวัสดีครับ ท่านอาจารย์หมอ" ชายหนุ่มยกมือไหว้อาคันตุกะผู้คุ้นชิน ท่านเป็นอาจารย์แพทย์และเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆของแม่น้ำตก ผู้เป็นมารดาของชายหนุ่มอิยะที่สิ้นไปนานแล้ว
.
"ไม่ต้องเรียกอาจงอาจารย์แล้วเรียกอาชอ พอแล้ว ฉันเกษียณมานานแล้วนี่นา เด็กๆเรียกปู่ชอก็ได้นะ อยากรู้มั้ยที่มาของสองคำนั่น ปู่จะเล่าให้ฟังปู่เคยอ่านผ่านตามาอยู่บ้าง
.
" เดี๋ยวๆ รอเดี๋ยว ปู่มีบันทึกไว้อยู่ "
อากัปกิริยา ชายผู้มีผมสีดอกเลา แลดูจะกระตือร้นเป็นพิเศษเนื่องด้วยท่านเองก็สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์เช่นกัน
.〰️〰️🌸
สักพัก ชายชราสวมเสื้อและกางเกงแพรอย่างคนสมัยก่อนก็เดินกลับมาพร้อมสมุดพกเก่าๆเล่มหนึ่ง ท่านนั่งพิงหมอนสามเหลี่ยมลายขิดบนเสื่อที่ปูไว้รองรับแขกผู้มาเยือน ที่นี่เป็นบ้านเรือนไม้ชั้นเดียวแต่เปิดโล่งกว้าง ชานเรือนยื่นเข้าไปในริมน้ำเจ้าพระยา มีตั่งโต๊ะเล็กวางและเบาะเอนไว้ให้ยืดแข้งขาได้สบาย
.
ที่นี่จึงเป็นที่รวมของคนที่อยากพักผ่อน อ่านหนังสือ ทำงานเงียบๆมากกว่าจะเป็นที่สรวลเสเฮฮา อาหารว่างของขบเคี้ยวน้ำชา กาแฟ ไว้บริการตัวเอง โดยมีกระป๋องให้หยอดเงิน ปิดป้ายข้างกระป๋องว่า " หยอดตามใจฉัน "
ท่านจิบน้ำชา ก่อนจะเล่าให้ฟัง จับใจความได้ว่า
.
ในเดือนมิถุนายน๒๔๗๐〰️🌸
พระองค์ท่านพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการพัฒนาระบบประชาธิปไตยในประเทศ มายังคณะกรรมการการจัดระเบียบองคมนตรี โดยสมัยนั้น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตร ทรงเป็นประธาน
" ..ปู่ว่าตอนนั้นเป็นกระแสที่ประชาธิปไตยมาแรง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๕แล้ว พระองค์ท่านก็เห็นว่าเราจะต้องปรับ สมัยนั้นพระองค์ท่านก็ให้เลือกกำนันผู้ใหญ่บ้านกันเอง "
"พอรัชสมัยรัชกาลที่๖พระองค์ก็เริ่มวางรากฐานเรื่องการศึกษา ให้เด็กทุกคนต้องได้ศึกษาภาคบังคับเพราะถ้าไม่เรียนก็จะไม่เข้าใจว่าเจ้าประชาธิปไตยมันดียังไง ต้องทำยังไง และทำไมต้องประชาธิปไตย เพราะอย่าลืมเราปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเนิ่นนาน ความรู้สึกมันแน่นแฟ้นเหมือนพ่อปกครองลูก เหมือนดั่งเทพที่ควรเคารพ
ก็เป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจในคนหมู่มากในหัวไร่ปลายนา"
" ยกเว้นผู้ที่ได้รับการศึกษาสูงๆ โดยเฉพาะที่ไปเรียนเมืองนอก ตาสีตาสาลูกเล็กเด็กแดงรึจะเข้าใจ.."
.
"..นอกจากนั้นทรงตั้งเมืองดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองประชาธิปไตย
มีการตั้งหนังสือพิมพ์ให้วิพากย์วิจารณ์กันอย่างอย่างขวาง .."
"..ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่๗ พระองค์ท่านก็มีความตั้งใจสูง ท่านจึงพระราชทานพระดำริไปยังเหล่าองคมนตรีพิจารณา
ที่ชื่อว่าD e m o c r a c y i n S i a m .."
"..เป็นพระราชบันทึกเป็นการทรงตอบโต้กับความเห็นบางอย่างของกรรมการบางท่าน และได้ทรงถือโอกาสนั้นทรงอธิบายถึงแนวทางพระราชดำริที่ทรงมีอยู่ในขณะนั้น"
" เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการปฎิรูปการปกครองทั้งในส่วนของการที่จะให้มีรัฐสภาและการที่จะให้มี
ส ภ า เ ท ศ บ า ล หรือm u n i c i p a l i t yในระดับท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้วิถีการปกครองตนเองจากการปฎิบัติจริงในระดับนั้น ก่อนที่จะได้มีสิทธิเสียงในการเลือกตั้งบุคคลเข้าสู่
รัฐ ส ภา หรือp a r l i a m e n tในระดับชาติ .."
.
.〰️〰️〰️〰️🌸
.
"อยากลองอ่านบันทึกปู่ดูมั้ย สายตาไม่ค่อยจะดี
ท่านยื่นสมุดบันทึกให้เด็กหนุ่มอาโป
"อ่านดังๆนะ หูปู่ก็ชราพอๆกับสายตานั่นหล่ะ" ท่านหัวเราะ ทำให้เด็กหนุ่มรู้สึกถึงความเป็นกันเอง
..
ในบันทึกนั้น มีข้อความภาษาอังกฤษและกำกับด้วยภาษาไทย คงเป็นลายมือของผู้บันทึกคือปู่ชอนั่นเอง
.
〰️🌸
"..พระราชบันทึก
ประชาธิปไตยในสยาม
คำถามที่ว่ารูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเหมาะสม หรือมีทางที่จะเหมาะสมกับสยามหรือไม่
เป็นคำถามที่ได้มีการถกกันในหมู่ปัญญาชนสยามมานานแล้ว และแม้ปัจจุบันนี้ก็กำลังมีการถกกันอยู่ในหมู่ผู้ที่มีการศึกษาครึ่งๆกลางๆ โดยบางคนได้แสดงความคิดเห็นของเขาออกมาแพร่หลายในหนังสือพิมพ์ของสยาม มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า สยามในปัจจุบันยังไม่พร้อมที่จะมีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
แต่อาจจะต้องรับมันมาใช้ในกาลข้างหน้าอันยาวไกล บางคนแสดงความเชื่อมั่นว่าการปกครองในระบบรัฐสภาไม่มีทางที่จะเหมาะแก่ประชาชนชาวสยาม โดยให้เหตุผลว่า มีแต่เพียงชาวแองโกล-แซ็กสัน เท่านั้น
ที่สามารถทำให้รูปแบบการปกครองแบบนั้นสำเร็จได้.."
.〰️🌸
.
"ชาวแองโกล-แซ็กชั่นคือใครครับปู่"เด็กหนุ่มอาโปเงยหน้าถาม
"..ชาวแองโกล-แซ็กชั่น เขามีรากฐานและวิวัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์การปกครองท้องถิ่นอันยาวนานของอังกฤษ เขาปกครองแบบการปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการรวมตัวกันเป็นรัฐชาติ (Nation-State) "
"และประเทศอังกฤษเองก็เกิดจากการรวมตัวของท้องถิ่นต่างๆ โดยท้องถิ่นยังคงสงวนอำนาจของท้องถิ่นเอาไว้โดยมอบอำนาจบางประการให้ส่วนกลางดำเนินการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น"
"การปกครองท้องถิ่นแบบนี้จึงเป็นแบบอย่างของการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของอย่างกว้างขวาง แต่ละท้องถิ่นมีรูปแบบและวิธีการในการดำเนินการปกครองตามแบบอย่างของตนเองตามจารีตประเพณีของท้องถิ่นซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นผลทำให้การปกครองท้องถิ่นตามระบบนี้มีความหลากหลาย ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว ..."
.
"แต่จะมีลักษณะเด่นคือการมีอำนาจปกครองตนเองและความเป็นอิสระของท้องถิ่น การปกครองท้องถิ่นตามระบบนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นการปกครองตนเองของท้องถิ่น (Local Self Government).."
เด็กหนุ่มอาโปพยักหน้าเข้าใจ ความเห็นนั่นคงหมายถึงผู้สืบเชื้อสายชาวแองโกล-แซ็กชั่นจึงจะทำสำเร็จได้ง่าย เพราะพื้นเพเขาเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว
.
〰️🌸
เขาจึงอ่านต่อไปว่า
"..ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่ารูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นจำเป็นต้องพึ่งระดับการพัฒนาที่สูงของชาวประชาจึงจะสำเร็จได้จริง ทั้งยังอาจเป็นไปได้ว่า จะต้องมีคุณลักษณะเชิงเผ่าพันธุ์บางประการ (ซึ่งชาวแองโกล-แซ็กสันมีในระดับสูง) สถาบันประชาธิปไตยจึงจะยังประโยชน์แท้แก่มวลประชาได้ และเป็นประชาธิปไตยจริงๆ และจริงแท้ได้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงในรูปแบบ แต่ในความเป็นจริง ประชาธิปไตยในหลายๆ แห่งเหลือเกินที่เป็นแต่เพียงประชาธิปไตยในรูปแบบ"
.
"มาถึงตรงนี้ ข้าพเจ้าเองก็คิดโน้มไปในทางที่ว่าเป็นไปได้ยากที่ประชาธิปไตยจริงๆ จะเกิดขึ้นสำเร็จในสยาม ประชาธิปไตยอาจจะเป็นอันตรายด้วยซ้ำต่อประโยชน์แท้ของประชาชน"
.
"เราอาจจินตนาการได้โดยง่ายว่ารูปแบบการปกครองในระบบรัฐสภาจะเป็นเช่นใดในสยาม ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงรายละเอียดให้มากมาย ข้าพเจ้าจะเพียงแต่กล่าวถึงข้อเท็จจริงประการหนึ่ง"
.
" ซึ่งก็คือว่า รัฐสภานั้นจะถูกครอบงำอย่างสิ้นเชิงโดยพรรคของคนจีน แม้ว่าเราอาจจะไม่ให้คนจีนมีสิทธิทางการเมืองใดๆ เลยก็ย่อมได้ แต่กระนั้นเขาเหล่านั้นก็จะยังคงครอบงำสถานการณ์อยู่ดี เพราะว่าเขามีเงินสดอันทรงพลังอยู่ในมือ"
"..พรรคการเมืองใดก็ตามที่ไม่ได้พึ่งความสนับสนุนทางการเงินจากคนจีนจะไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเมืองในสยามจะถูกครอบงำและสั่งการโดยพ่อค้าคนจีน นี่เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้มากจริงๆ"
" เราอาจหาเหตุผลสนับสนุนความคิดที่ว่าสยามไม่ควรที่จะมีการปกครองในระบบรัฐสภาได้ง่ายและหลายประการ"
〰️🌸 ดังนั้นเราอาจตั้งคำถามว่า “แล้วจะคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยไปทำไม?”
"..คำตอบก็คือว่า เราต้องคำนึงว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดด้วยเหตุด้วยผล แต่คิดด้วยอารมณ์ความรู้สึกเท่านั้น
ความข้อนี้ยิ่งเป็นจริงในกรณีของ " ฝูง ชน "
อาจมีวันใดวันหนึ่งข้างหน้าที่ชาวสยามจะส่งเสียงอึกทึกเรียกร้องหารัฐสภา จะไม่เป็นประโยชน์อันใดเลยที่จะอธิบาย แม้ด้วยเหตุผลที่ดีที่สุด
" ว่าการปกครองในระบบรัฐสภาไม่เหมาะแก่คุณลักษณะเชิงเผ่าพันธุ์ของชาวสยาม!"
.
 เขาเหล่านั้นย่อมโห่ร้องดังขึ้นอย่างแน่นอน ว่าเขากำลังถูกกดขี่โดยชนชั้นปกครองที่โหดร้าย และก็อาจเกิดความยุ่งยากบางอย่างตามมา.."
.
.〰️〰️🌸
.
ถึงตอนนี้ เด็กหนุ่มหยุดอ่านด้วยครุ่นคิดอะไรบางอย่าง เขาเห็นทุกคนตั้งใจฟังด้วยอาการสงบ เขาจึงอ่านต่อไปว่า
"..บางทีประเทศบางประเทศได้นำประชาธิปไตยมาใช้เพียงเพราะเป็นความจำเป็น โดยรู้อยู่แก่ใจว่าไม่เหมาะสมแก่ลักษณะของประชาชน.."
".. ดังนี้จึงมีประเทศที่มีรัฐสภากันเป็นการเล่นๆ สำหรับข้าพเจ้าแล้วเห็นว่าไพ่กำลังบอกว่าเราอาจต้องเล่นเกมชนิดนั้นในสยามในกาลใดกาล หนึ่ง ด้วยข้อพินิจพิจารณาเหล่านี้อยู่ในใจ ข้าพเจ้าจึงกำลังคิดคำนึงถึงการปฏิรูปบางอย่างบางประการอยู่ในปัจจุบัน"
"..สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ดูจะเป็นว่า หากยอมรับกันว่าวันใดวันหนึ่งเราอาจถูกบังคับให้มีประชาธิปไตยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในสยาม เราจักต้องเตรียมตัวของเราให้พร้อมที่จะมีมัน อย่างค่อยเป็นค่อยไป"
.
.〰️〰️〰️🌸
.
" เราจะต้องเรียนรู้และเราจะต้องให้การศึกษาตัวเราเอง เราจะต้องเรียนรู้และทดลองเพื่อที่เราจะได้มีแนวคิดว่าการปกครองในระบบรัฐสภาจะดำเนินไปอย่างไรในสยาม .."
"..เราจักต้องพยายามให้การศึกษาแก่ประชาชนให้เขามีสำนึกทางการเมือง ให้เขารู้ซึ้งซึ่งผลประโยชน์ที่แท้จริงของเขา เพื่อที่เขาจะได้ไม่หลงเข้าใจผิดไปตามบรรดานักปลุกระดมหรือผู้ที่ฝันใฝ่แต่จะหาโลกพระศรีอาริย์ "
.
.
.
"..หากเราจะต้องมีรัฐสภา เราจะต้องสอนประชาชนให้รู้ว่าจะออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งอย่างไร จึงจะได้มาซึ่งผู้แทนที่มีผลประโยชน์ของเหล่าประชาชนอยู่ในหัวใจ"
.
"..การปรับองค์กรสภาองคมนตรีเป็นความพยายามที่จะดำเนินการก้าวแรกซึ่งมีที่มาจากความคิดเหล่านี้ ย่อมจะมีการกล่าวว่า "
.
🌸〰️สภากรรมการองคมนตรีที่จะตั้งขึ้นโดยการปรับนี้จะยังไม่เป็นตัวแทนความคิดเห็นสาธารณะโดยทั่วไปจริงๆ และในฐานะองค์กรจะยังไม่ได้มีความเป็นตัวแทนผลประโยชน์ต่างๆของประชาชนจริงๆ
ความจริงก็เป็นเช่นนั้น การตั้งองค์การนี้ขึ้นในประการแรกเป็นไปเพื่อที่จะเป็นการทดลองและการเรียนรู้การถกแถลงอภิปรายแบบรัฐสภา 〰️🌸
"..ข้าพเจ้าเชื่อว่าประสบการณ์ในการนั้นจะเป็นประโยชน์ อาจเป็นไปได้ที่องค์กรดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นบ้างถึงความคิดเห็นที่สาธารณะชนมีอยู่เป็นการทั่วไป"
.
" ข้าพเจ้าจึงคิดว่าจะไม่ไร้ประโยชน์เสียทีเดียว หากแต่ว่าย่อมคาดได้ว่าการตั้งองค์กรนี้ขึ้นจะไม่ทำให้ทุกคนพอใจ และคงจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันต่างๆนานา(ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะทำอะไร หรือจัดการอะไรได้โดยไม่ถูกวิจารณ์อย่างเสียๆ หายๆ โดยคนจำพวกหนึ่งในสยาม).."
.
.〰️〰️🌸
.
"..ขั้นตอนต่อไปของการเรียนรู้สู่ประชาธิปไตยของเรา จะเป็นการจัดตั้งเทศบาล (municipalities)นี่จะเป็นวิธีการสอนประชาชนให้รู้ว่าจะใช้สิทธิลงคะแนนเสียงอย่างไร และการทดลองเช่นนี้ก็จะพิสูจน์ได้ว่ามีประโยชน์และเป็นบทเรียน "
.
"จะเป็นการดีกว่าแน่ๆที่จะให้ประชาชนได้ควบคุมกิจการท้องถิ่นก่อนที่เขาจะพยายามควบคุมกิจการของรัฐโดยผ่านรัฐสภา ข้าพเจ้าเชื่ออย่างจริงใจว่าหากการปฎิรูปเหล่านี้ดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปเช่นที่ว่านี้ มีโอกาสที่จะนำรูปแบบการปกครองในระบบรัฐสภามาใช้ได้โดยไม่เกิดอันตรายมากนัก .."
"แต่ว่ากระบวนการนี้จะต้องค่อยเป็นค่อยไปมากและรอบคอบเหมือนกับการกำหนดปริมาณของยาที่แพทย์ให้ในแต่ละครั้ง.."
".. ถ้าหากการทดลองเหล่านี้ล้มเหลวในทุกขั้นตอน เมื่อนั้นอาจเป็นไปได้ที่จะชักจูงให้ผู้คนเห็นว่าประชาธิปไตยไม่เหมาะแก่สยาม"
🌸 "อันตรายอยู่ที่ ค ว า ม ใ จ ร้ อ น รี บ ทำ"〰️🌸
.
.
.
〰️🌸คำถามอีกคำถามหนึ่งซึ่งอยู่ในห้วงความคิดคำนึงของผู้ใช้ปัญญาในสยามด้วย ก็คือ
"🌸〰️..อันตรายอันเกิดจากการใช้
อำ นาจ เด็ดขาด ของ พระ เจ้า แผ่น ดินโดย ปราศ จาก การทัดทาน"〰️🌸
"🌸〰️.. สมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นเดียวกับประชาธิปไตยอาจกลายเป็นอันตรายเมื่อใดก็ได้〰️🌸"
" ด้วยเหตุที่ว่า ทั้งสองหลักการตั้งอยู่บนฐานความเชื่อในความดีเลิศประเสริฐศรีของธรรมชาติของมนุษย์
ซึ่งนับเป็นฐานที่อ่อนเปลี้ยยิ่งจึงพึ่งไม่ได้
ประชาธิปไตยที่เป็นปึกแผ่นต้องพึ่งการที่ประชาชนยึดมั่นในการใช้เหตุผลฉันใดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เอื้ออาทรจะมีได้ ก็แต่โดยอาศัยคุณสมบัติที่เหมาะสมของพระราชาฉันนั้น.."
".. น่าเสียดายที่ข้อเท็จจริงมีว่า ราชวงศ์ทุกราชวงศ์ไม่ว่ายอดเยี่ยมเพียงใด จะเสื่อมลงไม่ช้าก็เร็ว และอันตรายของการที่วันหนึ่งอาจมีพระราชาที่ไม่ดีเป็นสิ่งที่เกือบจะเป็นไปได้อย่างแน่นอน.."
.〰️🌸
" ข้าพเจ้าเชื่อว่าได้มีการทดลองใช้วิธีการทุกอย่างแล้ว เพื่อที่จะได้มาซึ่งพระราชาที่ดีทุกครั้งไป แต่วิธีการทุกอย่างที่พัฒนาขึ้นมาก็มีข้อบกพร่องบางประการทั้งสิ้น.."
.
"วิธีการให้มีพระราชาจากการเลือกตั้งอาจจะดูมีหลักการที่ดี หากแต่ว่าได้ผลิตทรราชที่เลวร้ายมากมาบ้างแล้ว นั่นคือจักรพรรดิ์แห่งกรุงโรมบางองค์.."
.
.〰️〰️🌸
.
"..ทางเลือกอย่างหนึ่งที่ใช้กัน ก็คือ การยอมเสี่ยงที่จะมีพระราชาที่ไม่ดีและสร้างสถาบันบางอย่างขึ้นมาเพื่อหาทางควบคุมพระราชา
วิธีการนี้ก็ประสบความล้มเหลวเป็นบางครั้ง ดังในกรณีของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑ แห่งอังกฤษ แต่โดยทั่วไปวิธีการนี้ใช้การได้ดีพอสมควร.."
.
"..ข้าพเจ้ามีความประสงค์อย่างแน่วแน่ที่จะจัดให้มีสถาบันบางอย่าง ที่จะทำการเหนี่ยวรั้งการกระทำใดๆ ของพระมหากษัตริย์สยามที่เป็นไปตามอำเภอพระราชหฤทัยหรือไม่เป็นการเฉลียวฉลาด (ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคงไม่มีผู้ใดที่จะต้องการเหนี่ยวรั้งการกระทำที่ดีของพระองค์?).."
".. ข้าพเจ้ารู้สำนึกว่า หากข้าพเจ้าประสบความสำเร็จในการที่จะให้บางสิ่งบางอย่างที่เป็นประโยชน์จริงได้วิวัฒน์ขึ้นแล้ว ข้าพเจ้าก็จะได้ทำประโยชน์ใหญ่หลวงตามหน้าที่ให้แก่ประเทศชาติของข้าพเจ้าและต่อพระบรมราชวงศ์.."
.
.
.
ฉะนั้น การสถาปนาสภากรรมการองคมนตรีนี้ขึ้นอาจเป็นการสนองวัตถุประสงค์สองประการที่เป็นประโยชน์ได้(แม้อย่างไม่บริบูรณ์นักก็ตาม) :-
๑. เป็นวิธีการของการทดลองและเรียนรู้วิธีการประชุมอภิปรายแบบรัฐสภา
๒. เป็นอิทธิพลเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจในทางที่ผิด
.
.
.
.
.〰️🌸
.
ด้วยเหตุนี้กระมัง พระองค์ท่านจึงต้องการสร้างจากล่างขึ้นบน ด้านล่างมีหลักเทศบาล
ด้านบนมีองคมนตรีคอยเหนี่ยวรั้งอำนาจของราชา ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดแต่ก็ค่อยๆปรับจนพร้อมโดยไม่ฝืน
.
ทุกอย่างต้องใช้เวลา〰️🌸
.
ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสีย〰️🌸
.
การหยิบใช้สิ่งใด ต้องทดลอง ปรับใช้〰️🌸
.
รากแข็งแรง ลำต้นและยอดจึงแข็งแรง ความร่มเย็นเป็นสุขจึงเกิดขึ้น〰️🌸
..
เด็กหนุ่มครุ่นคิดทบทวนอีกครั้ง
.
บทเรียนที่เขาได้รับในวันนี้ สามารถที่จะนำปรับไปใช้ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นโดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เมื่อเกิดขึ้นเเล้ว ย้อนกลับมาใคร่ครวญในสิ่งที่มีอยู่ แล้ว หาทางออกที่ดีที่สุด ทดลอง ปรับใช้ ปรับปรุง แล้วเริ่มใหม่โดยมีข้อแม้ว่า
.
ไม่ ใจ ร้อน อด ทน และ รอ คอย เป็น〰️🌸
.
.
.ขบถ~ยาตรา เล่าเรื่อง
.〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️🌸
~แรงบันดาลใจจากการชมพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
~ผู้เขียนเล่าในฐานะผู้ชมนิทรรศการไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์
.
ส่วนเสริมอ่านเพิ่มเติม
〰️🌸https://prachatai.com/journal/2012/12/44171
โฆษณา