24 ม.ค. 2021 เวลา 11:37 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การหามูลค่าหุ้นแบบง่าย(BBL Case study)
2
วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564
2
ตามที่ได้รับปากกันไว้ว่า ถ้าว่างๆผมจะนำการคำนวณราคาหุ้นที่เหมาะสมแบบง่ายๆ มาฝากเพื่อนๆทุกคนกัน
ซึ่งตัวผมเองนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะใช้การคำนวนง่ายๆไม่ซับซ้อนนี่แหละ มาคำนวณหุ้นที่ผมสนใจ
ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าสำหรับการคำนวณมูลค่าของหุ้นนั้นมีหลากหลายวิธีและรูปแบบมาก และต้องใช้ทั้งศาสตร์(การคำนวณ) ทั้งศิลป์(การมโน) กันมากน้อยก็แล้วแต่ลักษณะหุ้นหรือวิธีที่เราจะใช้อีกทีหนึ่ง
1
การหามูลค่าหุ้นมีทั้งแบบ แบบซับซ้อนอย่างแบบ DCF Model
ซึ่งต้องอาศัยการประมาณการ การเติบโตของบริษัทล่วงหน้าในแต่ละปี
ข้อมูลแผนของธุรกิจการลงทุนในอนาคต รวมไปถึงต้องประมาณการการลงทุน
และเงินที่ต้องใช้ในการหมุนเวียนกิจการ ในแต่ละปีล่วงหน้า ค่าเสื่อม จิปาถะ ซึ่งใช้เป็นการประมาณการล่วงหน้ามาใช้แทนค่าในสมการเพื่อคำนวณ
1
ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับมือใหม่ในการทำความเข้าใจ ซึ่งวันนี้เราจะยังไม่พูดถึงแต่อาจจะมีการนำมาแชร์ในโอกาสต่อๆไปครับ
1
รวมถึงการคำนวณราคาหุ้นโดยการใช้ ความคาดหวังจากเงินปันผล และการคำนวณโดยใช้ค่า EPS และค่าPE ซึ่งก็เป็นหัวข้อที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้
1
ผมคิดว่าวิธีที่เราจะดูกันวันนี้ น่าจะเป็นวิธีคำนวนแบบที่ง่ายสุด และมีความแม่นยำในระดับนึงเลยทีเดียว เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ที่รักจะทำความเข้าใจ สามารถทำให้เราเห็นภาพเห็นกรอบกรอบของราคาหุ้นที่เราสนใจได้อย่างรวดเร็ว
และที่สำคัญที่สุด มันจะใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในเวลาที่ราคาหุ้นผันผวนได้เป็นอย่างดี ฮา ...
โดยการคำนวณแบบใช้ ใช้ค่า EPS และค่าPE เองนั้นก็มีวิธีแยกย่อยไปอีก ขึ้นอยู่กับเราจะใช้ไปการคำนวนหุ้นประเภทไหน ทั้งแบบที่ใช้คำนวณหุ้นเติบโตที่ค่า Peสูงและกำไร ไม่คงที่ในแต่ละปี
1
ก่อนจะเข้าเรื่องหลายคนอาจจะมีคำถาม ไอ้ค่า PE เนี่ยมันคืออะไรพี่??
อืม... เพื่อให้เห็นภาพสำหรับคนเริ่มลงทุนในหุ้น ได้ดีที่สุด เอาเป็นว่า
แท้จริงแล้วพื้นฐานความต้องการที่เราทุกคนลงทุนในหุ้น ก็คือ การที่เราอยากทำให้เงินต้นงอกเงย การอยากได้กำไรกันทั้งนั้น ซึ่งกำไรที่เรามีโอกาสได้รับจากหุ้นที่เราซื้อ มาจากสองทางด้วยกันคือ
1
1. เงินปันผลจากบริษัท ที่บริษัทแบ่งปันจากกำไรที่ได้มาในแต่ละปีและจ่ายกลับให้ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล ซึ่งเป็นกำไรที่จับต้องได้และสม่ำเสมอที่สุด
2. กำไรจากการขายหุ้นในราคาที่สูงกว่าราคาตอนที่เราลงมือซื้อ หรือที่เค้าเรียกแคปปิตอล เกน นั่นแหละ
เพราะฉะนั้น ค่า PE ที่เราเห็นจนชินตานั้น เอาแบบลูกทุ่งๆก็จำไปเลยว่า
ระยะเวลา(ปี) ที่เราต้องซื้อและถือหุ้นบริษัทนั้นๆ ไว้
โดยที่บริษัทจะทำการปันผลเงินกลับมาให้เราในทุกๆปี
จนเรากระทั่งเราได้รับเงินปันผลสะสมบวก รวมเข้ากับ เงินก้อนที่เราขายหุ้นแล้วมีกำไรจากแคปปิตอล เกน
โดยเงินก้อนนี้นั้นจะมีมูลค่า เท่ากับเงินที่เราลงทุนซื้อหุ้นไปในตอนแรกนั่นเอง
4
หรืออาจเกิดจากการที่เราได้รับเงินปันผลสะสม สมทบมาทุกปีๆ จนยอดเงินปันผลสะสมนั้น เท่ากับเงินที่เราจ่ายซื้อหุ้นไปในตอนแรก โดยที่เราไม่ได้ขายหุ้นออกไปแต่อย่างใดก็ได้เหมือนกัน
โดยที่ ข้อดีอีกอย่างของแบบหลังก็คือ หลังจากที่เราได้รับเงินปันผลจนเท่ากับเงินลงทุนในตอนแรกที่เราจ่ายไป หลังจากนั้นเราก็จะไม่มีต้นทุนในหุ้นนั้นอีกแล้ว (เพราะเราได้เงินต้นคืนในรูปเงินปันผลมาเรียบร้อยแล้ว)
2
ในปีต่อๆไป ถ้าเราไม่ขายหุ้นออกไปเสียก่อน ก็จะเหมือนมีคนโอนเงินปันผล ให้เราใช้ฟรี ทุกปีๆ
1
นี่ยังไม่รวมราคาหุ้นที่อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น10 เป็นร้อยเท่า ถ้าบริษัทนั้นมีการเติบโตเพิ่มหรือรวมถึงเงินปันปันผลที่อาจจะเพิ่มขึ้นทุกปีๆในภายภาคหน้าด้วยนะจ๊ะ...
ต่อไปจะขอยกตัวอย่างการคำนวณ หามูลค่าหุ้นที่เหมาะสมด้วย การประเมินจากเงินปันผลที่บริษัทจ่ายออกมา และวิธีใช้ EPS และPE ที่ผมใช้กันนะครับ
โดยผมจะแบ่งสิ่งที่เรากำลังจะลงมือทำต่อไป 3 ข้อดังนี้
1. การหาข่าวสาร นโยบายปันผลและแนวโน้มกำไรในอนาคตของหุ้นตัวที่เราสนใจ
2. วิธีการคิดราคาหุ้นที่เหมาะสม โดยคิดจาก % เงินปันผลที่เราต้องการได้รับในแต่ละปี
3. วิธีการคิดราคาหุ้นที่เหมาะสม โดยคิดจากEPS และPE
มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ และตัวอย่างที่เราจะยกมาคำนวณในวันนี้ก็คือ หุ้นธนาคาร BBL นั่นเอง
2
1. หัวข้อแรก ข่าวสาร นโยบายปันผลและแนวโน้มกำไรในอนาคตของหุ้น
จากข้อมูลข้างต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า BBL ทำการจ่ายปันผลปีละ 6.5 บาทมาตลอดไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้องหรือฟ้าจะผ่า หรือโควิทจะกระหน่ำก็ตาม...55
ซึ่งนโยบายการจ่ายเงินปันผลของ BBL เค้าเขียนไว้กว้างๆไว้ดังนี้ครับ
แปลง่ายๆก็คือ ฉันจะจ่ายเงินปันผลเท่าไหร่ก็แล้วแต่ฉัน แต่จะจ่ายก็ต่อเมื่อมีกำไรเท่านั้นนะ
โห..พี่...พูดอย่างงี้ก็เกินไป ไม่น่าสนใจน่ะสิ แต่.....เดี๋ยวก่อนโยม ไปดูข้อมูลข้างล่างนี้ก่อน ซึ่งเมื่อเราเอาข้อมูลการปันผลของปีก่อนๆของ BBL มาคิดดูว่าเค้าปันผลออกมาคิดเป็นกี่ % ของกำไรจะเห็นได้ว่า
โดยปกติ BBL จะทำการแบ่งกำไร ออกมาจ่ายปันผล ปีละประมาณ 34% ถึง38% เท่านั้น
แต่ว่าในปี63 ที่โควิดกระหน่ำทุกธุรกิจบนโลก พี่BBL แกยังมีเงินสดกว่า9หมื่นล้านไปซื้อธนาคารเพอร์มาต้า ที่อินโดนีเซีย
มิหนำซ้ำพี่ยังควักปันผล ออกมาให้งวดแรก ที่ 5 บาทต่อหุ้นไปแล้ว แต่งวดหลังธ.แห่งประเทศไทยประกาศงดปันผลทำให้ทุกธนาคารในปี63 งดจ่ายปันผลครึ่งปีหลัง
1
ซึ่งถ้าเราคิดเป็น% ของกำไรของปีนี้ที่จ่ายเป็นปันผลออกมาก็จะกระโดดจากปกติที่ยอมจ่าแค่ 34% ถึง38% ไปเป็น 72 %
1
ใช่แล้ว 72% สำหรับตัวหุ้น BBL เองอาจจะดูเป็นตัวเลขที่เยอะ แต่ถ้าดูบริษัทอื่นๆที่มีนโยบายปันผลในตลาดหลักทรัพย์ 72% นี่อาจจะพอๆกับนโยบายการปันผลของ Advanc ที่เราเคยพูดถึงเมื่อครั้งก่อนด้วยซ้ำไป
นั่นหมายความว่า ถ้า เน้นย้ำคำว่า ถ้าในปีที่เป็นปกติ BBL และถ้าบริษัทสามารถทำกำไรได้ในระดับที่ปกติที่ระดับ สามหมื่นกว่าล้าน
(ขอยังไม่นับรวมกำไรที่จะถูกปันมาจาก เพอร์มาต้าในอนาคต)
1
BBL ก็สามารถจ่ายปันผลที่ 6.5 บาท พร้อมกับการเข้าซื้อกิจการที่ระดับแสนล้าน ปีละหนึ่งบริษัทได้เลยนะเนี่ย 55
1
ทีนี้ มาดูเหตุผลว่าทำไมเค้าถึงไปสนใจลงทุนในประเทศ อินโดนีเซีย ...ในมุมมองของผม
อย่างที่ผมเคยแชร์เคยบอกไปแล้วว่า เวลาจะซื้อหุ้นให้มองถึงปัจจัยด้านต่างๆในอนาคตด้วย
หนึ่งในปัจจัยที่ผมมองก็คือ โครงสร้างประชากรของประเทศไทยในอนาคตเทียบกับอินโดนีเซีย
จากรูปปิระมิดโครงสร้างประชากรของไทย
ซึ่งผมอาจจะขอหยิบยกมาเป็นตัวอย่างแค่ปัจจัยเดียว ซึ่งจริงๆแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกหลายข้อครับ
ช่วงอายุของคนไทยปัจจุบัน ที่มีจำนวนมากสุดคือช่วงอายุ30-60 ปี
1
ซึ่งไม่ใช่ช่วงอายุ ที่ดีที่เราจะใช้เป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแรงการขับเคลื่นประเทศในอนาคต
1
มิหนำซ้ำช่วงอายุที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจอย่างแรงงาน (18-29ปี) ก็ต่ำมาก
ไม่รวมอีกครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ ที่ไม่ยินยอมพร้อมใจจะเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม (เป็นหนุ่มสาวโรงงาน) เว้ย..เพราะชั้นจะเป็น ยูทูปเบอร์!!!
1
นั่นคืออะไร นั่นหมายความว่าเราจะมีการขาดแคลนแรงงานในตลาดแรงงานแน่นอน
ทำให้ตอนนี้แรงงานไม่พอกับความต้องการภาคธุรกิจ
แรงงานวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้ มักจะติจะเกี่ยงว่าค่าแรงมันน้อยไป
มันต้องเพิ่มค่าแรงให้สูงๆให้ถึงระดับที่ฉันต้องการสิ ฉันถึงจะยอมทำงานให้
1
เมื่อค่าแรงสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือต้นทุนการผลิตสินค้าในเมืองไทยก็สูง
ทำให้ราคาสินค้าเมื่อผลิตออกมาราคาขายก็สูงตาม เมื่อส่งสินค้าไปขายที่ต่างประเทศ
1
และถ้าเผอิญสินค้านั้นๆมีความคล้ายคลึงกับสินค้าจากประเทศอื่นผลิต
ยกตัวอย่าง อย่างเช่น เวียดนาม อินโด คงไม่ต้องสืบว่าจะขายได้หรือไม่ นี่ยังไม่รวมค่ากำแพงภาษีที่สินค้าไทยต้องจ่าย (ทั้งพี่อเมริกัน ทั้งพี่ยุโรป มะรุมมะตุ้ม เราอยู่)
ในขณะที่สินค้าจากเวียดนาม หรืออินโด นอกจากราคาสินค้าจะถูกกว่าพี่ไทยแล้ว ยังไม่ต้องเสียภาษีอีกตางหาก
2
ทีนี้ลองถามตัวเองว่าถ้าเราจะซื้อของซักชิ้น โดยที่คุณภาพใกล้เคียงแต่ราคาต่างกัน 20-30% เราจะซื้อของถูกหรือของแพง….ดังนั้นภาคธุรกิจที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตต้องคิดแล้วคิดอีกแล้วล่ะ
2
ส่วนนี่คือภาพปิรามิดของประชากรอินโดนีเซีย
จะเห็นได้ว่าช่วงอายุแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศของเค้า สูงมาก
โดยที่ประชากรของอินโดนีเซียมีทั้งหมดประมาณ 273.5 ล้านคน
ในขณะที่ไทยประมาณ 67 ล้านคน โดยถ้า แบ่งเป็นช่วงอายุแรงงานออกมาเป็นจำนวนประชากรคร่าวๆ ก็น่าจะได้ประมาณนี้ครับ
- อินโดนีเซียมีจำนวนแรงงาน ประมาณ 80 ล้านคน
- ไทย มีจำนวนแรงงาน ประมาณ 16 ล้านคน
เห็นอะไรรึยัง ??
ผมเดาว่า BBL เค้าเห็นตรงจุดนี้(รวมกับปัจจัยอื่นๆที่เค้าประเมินแล้ว)
ลามไปถึงบริษัทใหญ่ๆของจีน ญี่ปุ่น อเมริกาเค้าก็คงเห็นตรงจุดนี้เช่นเดียวกัน
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมบริษัทรถยนต์ใหญ่ๆของโลกถึงมีข่าวเกี่ยวพันธ์กับประเทศอินโดนีเซียบ่อยครั้ง ถึงแม้ว่าจะมีบางประเทศแถวนี้โหมกระพือว่าจะแก่งแย่งดึงบริษัทเหล่านั้นให้มาลงทุนในประเทศตัวเองแข่งกับอินโดนีเซียก็ตาม ฮา...
2
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ว่าทำไม BBL ถึงได้เข้าซื้อกิจการของธนาคาร เพอร์มาต้าในอินโดนีเซียยังไงล่ะครับ
และถ้ามองลงลึกไปในตัวธนาคารเพอร์มาต้า จะเห็นสิ่งที่น่าตกใจและไม่คุ้นชินสำหรับนักลงทุนชาวไทยในหุ้นธนาคาร
นั่นคือธนาคารเพอร์มาต้ามีค่า PEสูงถึง86 เท่า
2
นั่นหมายความว่าไง นั่นหมายความว่านักลงทุนในตลาดทุนอินโดนีเซียต่างมีความมั่นใจว่ากำไรของเพอมาต้าในอนาคตอันใกล้จะมีการเติบโตสูงมาก มากจนสามารถไล่ PE ให้กดลงต่ำได้ในอนาคตอย่างแน่นอนรึเปล่า?
2.% เงินปันผลที่เราต้องการได้รับในแต่ละปีและราคาที่เราสนใจที่พร้อมจะซื้อหุ้น
1
สมมุติ ว่าเราต้องการเงินปันผลปีละ 5% จาก BBL ราคาที่เราจะซื้อต้องไม่เกินเท่าไหร่กันน้า มาดูกันจากสมการนี้
1
Price (ราคา) = เงินปันผลทุกปี(เท่าดิม)/ผลตอบแทนที่เราต้องการที่ 5% หรือ 0.05
เพราะฉะนั้น
Price (ราคา) = 6.5/0.05 หรือเท่ากับ 130 บาท ต่อหุ้นนั่นเอง
ซึ่งถ้าดูจากราคาBBL ณ ปัจจุบันที่ 122 บาท ก็ต่ำกว่าราคา130บาทที่เราคำนวณได้ ทีนี้ก็อยู่ที่เราแล้วว่าจะตัดสินใจซื้อหรือปล่อยผ่านไป
1
3. วิธีการหาราคาโดยคิดจากEPS และPE และราคาที่เราสนใจที่พร้อมจะซื้อหุ้น
1
ถ้าเราดูจากข้อมูลในปีที่เป็นปกติกของ BBL แล้วค่า EPS จะอยู่ระหว่าง 17.29 ถึง 18.76
และมีค่า PE อยู่ระหว่าง 8.5 ถึง 11.76
โดยการคำนวณที่เข้าข้างตัวเองน้อยสุดเราจะขอใช้ค่า
EPS=17.29 และ PE=8.5 ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดมาคำนวณ
( PE=8.5 นี่เท่ากับตัวเลขPE ของปรมาจารย์อย่างเกรแฮม เลยสิ)
1
จากนั้นก็มาแทนค่าครับ
Price = EPS xPE
= 17.29 x 8.5
= 147 บาทต่อหุ้น
ราคาที่เราสนใจจะซื้อหุ้นBBL ถ้าเราใช้หารคำนวณด้วย EPS และPEคือ 147 บาท
ซึ่งถ้าดูจากราคาBBL ณ ปัจจุบันที่ 122 บาท ก็ต่ำกว่าราคา147 บาทที่เราคำนวณได้เช่นกัน
1
ทั้งหมดวันนี้ก็เป็นการแสดงวิธีการคำนวณราคาของหุ้นง่ายๆ
จากหุ้นที่มีอัตราปันผลคงที่หรือมีอัตราการเติบโตต่ำ
(แต่ถ้ามีการเติบโตขึ้นมาก็ในอนาคต ราคาที่ได้จากวิธีการนี้ก็ยิ่งเพิ่มความได้เปรียบขึ้นไปอีก)
2
ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเพิ่มมุมมองและการนำไปคิดมูลค่าหุ้นคร่าวๆเบื้องต้นให้เพื่อนๆได้ไม่มากก็น้อยนะครับผม
เอาไว้ถ้าว่างๆจะนำวิธีการคิดมูลค่าของหุ้นที่มีการเติบโตในอนาคตมาฝากเพื่อนๆ ในโอกาสต่อไปนะครับ ขอบคุณครับ.
โฆษณา