24 ม.ค. 2021 เวลา 14:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
บทวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเครื่องมือแพทย์
หุ้น TM (11 มิถุนายน 2563)
บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด(มหาชน)
บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับสถานพยาบาลชั้นนำในประเทศ ทั้งโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชล คลินิค และบุคคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทยโดยได้รับการแต่งตั้งเป็น Exclusive Distributor จากผู้ผลิตชั้นนำจากต่างประเทศ 44 ราย จาก 16 ประเทศได้แก่หรัฐอเมริกา สวีเดน เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี ตรุกี ออสเตรเลีย เยอรมณี ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย สิงค์โปร์ สเปน ฮ่องกง จีน รวมถึงประเทศไทย โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์การแพทย์ที่จำหน่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. อุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลือง
2. กลุ่มอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์
กลุ่มลูกค้าคือ โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชล คลินิค บุคคลากรทางการแพทย์
สินทรัพย์รวมของบริษัทเพ่ิ่มขึ้นทุกปีมีการเติบโตของสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง หนี้สินรวมอยู่ในอัตราส่วนต่อสินทรัพย์ร้อยละ 52 ถ้าเปรียบเทียบกับกับคนทั่วไปคือหมายถึง มีสินทรัพย์มูลค่า 100 บาท มีหนี้สินคิดเป็นจำนวนเงิน 52 มีความสารถที่จะชำระหนี้สินได้ในภาวะวิกฤตโดยการ-ขายสินทรัพย์บางส่วนออกไปเพื่อนำไปชำระหนี้ได้ ประเมินความเสี่ยงได้ = เสี่่่ยงปานกลาง ส่วนของผู้ถือหุ้น เพิ่มขึ้นทุกปีมีการเติบโดอย่างต่อเนื่อง มีการทำธุรกิจแล้วมีผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี บริษัทมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นทุกปี (รอดูนะคะ Q2/63 อาจจะโตแบบก้าวกระโดดจากผลกกระทบของโควิท 19) การเติบโตของกำไรสุทธิเติบโตต่อเนื่อง กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี ROA อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เติบโดต่อเนื่อง ROE อัตราสวนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในปี 2560 ลดลงเล็กน้อย และกลับมาเติบโตต่อเนื่องอีกครั้ง ##รอดูนะคะน่าจะได้ประโยชน์จากโควิท 19 จะโตกี่ %##
(1) มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด คํานวณจาก ราคาปิดของหลักทรัพย์ x จำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียนปัจจุบัน (Listed Shares) มูลค่าหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2559 1,136.80 และลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมี Market Cap 751.52 เป็นหุ้นตัวเล็กสามารถจะเติบโตได้ในระยะยาว Market Cap ณ ตอนนี้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของตลาดแล้ว (2) P/E Ratio คืออัตราส่วนทางการเงินที่เทียบกันระหว่าง Price/Earning Per Share (ราคา หารด้วย กำไรสุทธิต่อหุ้น)โดย P/E Ratio เป็นตัวบอกว่าราคาเป็นกี่เท่าของกำไร หรือ ซื้อตอนนี้ อีก 14.50 คืนทุน PE ไม่สูงมากกลางๆ เพราะเป็นหุ้นเติบโตมีโอกาสที่จะโตต่อเนื่อง เพราะจะเข้าสังคมผู้สูงอายุคนชราจะเพิ่มมากขึ้น (3) P/BV ชื่อเต็มๆ ถูกเรียกว่า Price to Book Value Ratio เป็นอัตราส่วนทางการเงินอีกตัวหนึ่งเช่นกัน ที่ใช้เปรียบเทียบระหว่าง ราคาหุ้น กับ มูลค่าทางบัญชี ต่างกับค่า P/E ที่เปรียบเทียบระหว่างราคาหุ้นกับกำไรต่อหุ้น ณ ปัจจุบัน P/BV = 1.36 ถ้าซื้อที่ราคา 2.44 บาท คุณจะซื้อได้หุ้นได้แพงกว่าเจ้าของ ปี 2559 เจ้าของลงทุน = 1.26 ถ้าคุณซื้อตอนนี้ P/BV = 1.36 ไม่มาก (4) มูลค่าทางบัญชีที่แสดงในงบการเงินของบริษัทต่อหุ้น Book Value ซึ่งเป็นมูลค่าทางบัญชีที่ประเมินจากสินทรัพย์สุทธิ (5) อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่เปรียบเทียบระหว่างเงินปันผลต่อหุ้นกับราคาของหุ้น ณ วันที่คำนวณ (12/06/2563) ปันผล 5.42 ถือว่าใช้ได้เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2559 เงินปันผลเติบโตอย่างต่อเนื่อง
สถานะทางการเงิน
(1)เงินสด
ปี 2560 มีเงินสด 45.20 ล้านบาท
ปี 2561 มีเงินสดเพิ่มจากปี 2560 43%
ปี 2562 มีเงินสดเพิ่มจากปี 2561 76%
Q3/2562 มีเงินสด 150.39 ล้านบาท
Q3/2563 ล่าสุดมีเงินสดเพิ่มจาก Q3/2562 21%
Q :เงินสดมาจากใหนบ้าง???
(2) ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้าสุทธิ
ปี 2560 มีลูกหนี้การค้า 250.24 ล้านบาท
ปี 2561 มีลูกหนี้การค้าลดลง 2% จากปี 2560
ปี 2562 มีลูกหนี้การค้าลดลง 18% จากปี 2562
Q3/2562 มีลูกหนี้การค้า 241.73 ล้านบาท
Q3/2563 ปีล่าสุดมีลูกหนี้การค้าลดลง 13%
##ลูกหนี้การค้าลดลงหมายถึง การที่ขายสินค้าแล้วสามารถเก็บเงินได้เร็ว โดยปกติแล้วจะมีการให้เครดิตทางการค้าตั้งแต่ 30-90 วัน ซึ่งจะส่งผลทำให้มีเงินสดเพิ่มขึ้น
(3) สินค้าคงเหลือ
ปี 2560 มีสินค้าคงเหลือมูลค่า 205.58
ปี 2561 มีสินค้าคงเหลือลดลง 3%
ปี 2562 มีสินค้าลดลงจากปี 2561 18%
Q3/2562 มีสินค้ามูลค่าคงเหลือ 157.48 ล้านบาท
Q3/2563 มีสินค้าคงเหลือ ลดลงจาก Q3/2562 คิดเป็น 18%
##สินค้าในสตอคมีการระบายออกลดลงอย่างต่อเนื่อง หมายถึงมีการขายสินค้าออกไปค่อนข้างเร็ว##
(4) รวมสินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว
ปี 2560 สินทรัพย์หมุนเวียน 521.46 ล้านบาท
ปี 2561 สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น
ปี 2562 สินทรัพยืหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
Q3/2562 สินทรัพย์หมุ่นเวียน 559.97 ล้านบาท
Q3/2563 สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากQ3/2562
(5) ที่ดินอาคารและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการขยายโกดังเก็บสินค้า
(6) รวมสินทรัพย์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2560 - ปัจจุบัน
(7) เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืม หมายถึงเงินกู้ยืมระยะสั้น(OD) มีหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการขยายธุรกิจ
(8) เจ้าหนี้และตั๋วจ่ายการค้าสุทธิ์ หมายถึง เอกสารแสดงหลักประกันในการเรียกเก็บเงินว่าจะเก็บเงินกับลูกค้าได้อย่างแน่นอน มีจำนวนไม่มากเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
(9) หนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีมีการเติบโตเพียงเล็กน้อย
(10) หนี้สินหมุนเวียนปี 2560 -2562 มีการเพิ่มเล็กน้อยหนี้สิน Q3/2563 มีหนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 35% จากปี Q3/2562
(11) รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน หมายถึง เงินกู้ยืมระยะสั้น - ระยะยาว จากปี 2560 - ปัจจุบันมีการลดลงอย่างต่อเนื่อง บ่งบอกถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่ดี
(12) รวมหนี้สินจากปี 2560 - ปัจจุบัน เพิ่มขึ้น 28 % หนี้ที่่เพิ่มมาจากการกู้ยืมระยะสั้นเพื่อขยายธุรกิจ
(13) ทุนจดทะเบียนหมายถึง ทุนที่ใช้เริ่มต้นในการทำธุรกิจ 154 ล้านเท่ากันทุกปี จนถึงปัจจุบัน ไม่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน
(14) ทุนที่ออกและชำระเต็มมูลค่า หมายถึง เงินที่ผู้ถือหุ้นยอมจ่ายให้บริษัทตั้งแต่ ปี 2560 - ปัจจุบัน ซึ่งมีมูลค่าเท่ากันทุกปี บ่งบอกถึงบริษัทไม่มีการระดมทุนเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น
(15) กำไรขาดทุนสะสม หมายถึง ผลกำไรในการทำธุรกิจตั้งแต่ปี 2560 - จนถึงปัจจุบันมีการเติบโตต่อเนื่อง จากปี 2560 - 2561 มีการเติบโต คิดเป็น 44% ปี 2561 - 2562 มีการเติบโตลดลงเล็กน้อยคือร้อยละ 43% และใน Q3/2563 มีกำไร 18% จาก Q3/2562
งบกำไรขาดทุน
(1) ยอดขายสุทธิ ลดลง 18% (เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
(2) รายได้อื่นๆ ลดลง
(3) รายได้รวม 19% (เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
(4) ต้นทุนขายลดลง 26% (เปรียบเทียบจาก 3M/2562) ซึ่งเป็นผลดี บ่งบอกถึงความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนดีขึ้น
(5) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
(6) รวมค่าใช้จ่ายลดลง (เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
(7) ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น
**กำไรก่อนด/บ และภาษีเงินได้ลดลง -47%(เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
(8) กำไร(ขาดทุน)สุทธิ -42%(เปรียบเทียบจาก 3M/)
(9) กำไรต่อหุ้น (บาท) ลดลง
งบกระแสเงินสด
(1)จากกิจกรรมดำเนินงาน ลดลง(เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
(2)จากกิจกรรมดำเนินงานเพิ่มขึ้น(เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
(3)จากกิจกรรมลงทุนพิ่มขึ่น(เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
(4)จากกิจกรรมจัดหาเงินเพิ่มขึ้น(เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
(5)เงินสดสุทธิลงลง(เปรียบเทียบจาก 3M/2562)
ปัจจัยความเสี่ยง
1.ด้านการประกอบธุรกิจ
1.1 บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่่องมือและอุปกรณ์การแพทย์แบบ Exclusive Distribution เป็นสุดยอดรูปแบบของ selective distribution คือมีเพียงผู้ขายส่ง 1 ราย แบบผูกขาด มีสัญญา 1 - 3 ปี เนื่องจากไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง ซึ่งอาจจะมีผลทำให้โรงงานไม่ต่อสัญญาเนื่องจากคู่แข่งรายใหม่เข้ามา หรือ มียอดสั่งซื้อขั้นต่ำเป็นจำนวนมากแล้วยกเลิกการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจะมีผลทำให้รายได้ของบริษัทลดลง
1.2 บริษัทมีการพึ่งพิงผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาหากเกิดวิกฤติประสบปัญหาในการทำธุรกิจทำให้ต้องหยุดการผลิต และยกเลิกการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย จะทำให้บริษัทไม่มีสินค้ามาวางจำหน่ายได้ ทำให้รายได้ของบริษัทลดลง
1.3 จากข้อมูล สิงหาคมปี 2560 มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามาลงทุนมากถึง 3,442 ราย ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีมาตรฐาน เข้ามา ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาสินค้า
โฆษณา