Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ก
การเงิน การลงทุน หุ้น ธุรกิจ
•
ติดตาม
24 ม.ค. 2021 เวลา 18:34 • สุขภาพ
บทวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเครื่องมือแพทย์
หุ้น TM (24 ม.ค. 2564)
อัตราส่วนทางการเงิน ปี 2560-2562 (ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจทางการค้า)
1. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร
1.1อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม(ROA) (%)
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวมเฉลี่ย = (กำไรสุทธิ x 100) / สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย
วัดประสิทธิภาพในการทำกำไรจากสินทรัพย์ว่ามากน้อยเพียงใด ตัวเลขยิ่งสูง ยิ่งแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรที่สูงขึ้นและแสดงว่ากิจการมีการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 มีค่าเท่ากับ 8.08 หมายความว่าถ้ากิจการลงทุนในสินทรัพย์ 100 บาทจะสามารถทำกำไรจากสินทรัพย์ได้ 8.08 บาท ซึ่งตัวเลข ดังกล่าว เพิ่มขึ้นจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 8.08 แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
2.1 อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น(ROE) (%)
อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น = (กำไรสุทธิ x 100) / ส่วนของผู้ถือหุ้นถัวเฉลี่ย
วัดผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะ (ประกอบด้วยส่วนทุน กำไรสะสม และเงินสำรองต่างๆ) หากกิจการมีอัตรากำไรสูง ค่านี้ควรจะสูงด้วย หรือผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากการลงทุนควรจะเพิ่มขึ้น
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 มีค่าเท่ากับ 14.17 หมายความว่าถ้ากิจการมีส่วนของผู้ถือหุ้น 100 บาท สามารถทำกำไรได้ 14.17 บาท ซึ่งตัวเลขดังกล่าว เพิ่มขึ้นจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 14.17 แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น
3.1 อัตราผลตอบแทนจากกำไรต่อรายได้รวม = (กำไร x 100) / ยอดขายสุทธิ
วัดผลตอบแทนที่ได้รับเทียบกับยอดขาย ค่ายิ่งสูงยิ่งแสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการทำกำไรเมื่อเทียบกับยอดขายได้ดี และทั้ง 3 อัตราส่วนด้านกำไรนี้ควรพิจารณาประกอบกัน เพื่อหาสาเหตุที่กระทบกับกำไรสุทธิว่า กรณีที่กำไรสุทธิลดลงเกิดจากค่าใช้จ่ายใด ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน หรือต้นทุนทางการเงิน เพื่อให้สามารถแก้ไขได้ถูกจุด
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 มีค่าเท่ากับ 8.74 หมายความว่าจากยอดขาย 100 บาท หลังหักต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว มีกำไร 8.74 บาท ซึ่งตัวเลข ดังกล่าว เพิ่มขึ้นจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 8.74 แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น
2.ตัวชี้วัดสภาพคล่อง
2.1 อัตราส่วนทุนหมุนเวียน Current Ratio หรืออัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ค่ายิ่งสูงแสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้ระยะสั้น มีความคล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่ามีหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระใน 1 ปีมากกว่าสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ แปลว่า กิจการมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 1.84 หมายความว่า หากกิจการมีหนี้สินหมุนเวียน 1 บาท กิจการจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่จะชำระหนี้ 1.84 บาท แสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้ระยะสั้น เมื่อเทียบกับปีงบการเงิน 2561 ที่มีค่าเพียง 1.85 ถือว่ากิจการมีสภาพคล่องลดลง
2.2 อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ AR Turnover = ยอดขายรวม / ลูกหนี้คงเหลือถัวเฉลี่ย
ใช้วัดสภาพคล่องของลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งว่าเก็บเงินจากลูกหนี้ได้กี่รอบ คือ ความเร็วในการเปลี่ยนลูกหนี้เป็นเงินสด ค่ายิ่งสูง แสดงถึงการบริหารลูกหนี้ได้ดีหรือลูกหนี้เป็นลูกหนี้ที่ดี เก็บเงินได้ตามกำหนด แต่ถ้าสูงมากอาจจะเข้มงวดกับลูกหนี้มากเกินไป ต้องพิจารณานโยบายการให้เครดิตด้วย
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 3.14 หมายความว่ากิจการสามารถขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ 3.14 รอบ เพิ่มขึ้นจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 3.14 แสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณานโยบายการให้สินเชื่อของกิจการประกอบด้วย
2.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ Inventory Turnover = ต้นทุนสินค้าขาย / สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ย
เป็นการวัดจำนวนครั้งที่ขายสินค้าได้ในรอบระยะเวลาบัญชี ค่ายิ่งสูง แปลว่า บริหารการขายสินค้าได้เร็ว มีสินค้าคงเหลือน้อย มีสภาพคล่องสูง ในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจไม่ดี การมีสินค้าคงเหลือในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นภาระต่อกิจการด้านต้นทุนสินค้า แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจดี การเก็บสินค้าคงเหลือ ไว้ในปริมาณมากจะทำให้มีสินค้าเพียงพอต่อการขาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดในขณะนั้น
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 2.31 หมายความว่ากิจการสามารถขายสินค้าได้ 2.31 รอบ เพิ่มขึ้นจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 2.31 แสดงว่าประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงเหลือของกิจการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงความต้องการของตลาดและภาวะเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าวประกอบด้วย
2.4 อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ AP Turnover = ต้นทุนขาย / เจ้าหนี้คงเหลือถัวเฉลี่ย
ใช้วัดสภาพคล่องของกิจการในการจ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ค่ายิ่งสูงแสดงว่ากิจการสามารถจ่ายชำระหนี้ได้เร็ว แสดงถึงการบริหารหนี้คงค้างได้ดี
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 4.71 หมายความว่ากิจการสามารถซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อและจ่ายชำระหนี้ได้ 4.71 รอบ เพิ่มขึ้นจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 4.71 แสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการบริหารเจ้าหนี้เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายการให้สินเชื่อระหว่างกิจการกับเจ้าหนี้ด้วย
3. อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
3.1 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม(เท่า) Total Assets Turnover = ขายสุทธิ / สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย
แสดงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด เทียบกับยอดขายว่าสินทรัพย์รวม 1 หน่วย สามารถก่อให้เกิดรายได้แก่กิจการมากน้อยเพียงใด ถ้าค่าต่ำแสดงว่ามีสินทรัพย์มากเกินความจำเป็น
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 0.92 หมายความว่า สินทรัพย์รวมทั้งสิ้นของกิจการถ้าเทียบเป็น 1 หน่วย จะสามารถก่อให้เกิดยอดขายได้ 0.92 เท่า ซึ่ง ค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีงบการเงิน 2561 แสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ เพิ่มขึ้น
3.2 อัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวม = (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน x 100) / ยอดขายสุทธิ
วัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเทียบกับยอดขาย ค่ายิ่งต่ำยิ่งแสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายได้ดี อันจะมีผลทำให้มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น หากกิจการมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงเมื่อเทียบกับยอดขาย ควรพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นที่ค่าใช้จ่ายใด เพื่อแก้ปัญหาได้ถูกจุด
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 มีค่าเท่ากับ 88.22 หมายความว่าการทำยอดขาย 100 บาท มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 88.22 บาท ซึ่งตัวเลขดังกล่าว เพิ่มขึ้น จากปีงบการเงิน 2561 แสดงว่ากิจการมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น
4. อัตราส่วนโครงสร้างงบแสดงฐานะการเงิน
4.1 อัตราส่วนสินทรัพย์รวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = สินรวมทรัพย์รวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น
แสดงให้เห็นว่าส่วนของผู้ถือหุ้นมาลงทุนในสินทรัพย์มากน้อยเพียงใด ถ้าเข้าใกล้ 1 หมายความว่าธุรกิจใช้เงินจากส่วนของเจ้าของลงทุนในสินทรัพย์มากกว่าการกู้ยืม
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 1.75 หมายความว่า หากกิจการมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 1 บาท กิจการมีการใช้เงินทุนจากส่วนของเจ้าของเท่ากับ 1.75 เท่า ลดลงจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 0.01 แสดงว่ากิจการมีการลงทุนจากผู้ถือหุ้นลดลง
4.2 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม Debt Ratio = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม
แสดงให้เห็นว่าในจำนวนสินทรัพย์ทั้งหมดที่กิจการมีอยู่นั้น มีการใช้เงินทุนจากการกู้ยืมบุคคลภายนอกมากน้อยเพียงใด ถ้าอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่าเงินลงทุนในสินทรัพย์ส่วนมากมาจากการกู้ยืม ฝ่ายเจ้าหนี้จะพอใจในอัตราที่ปานกลางถึงต่ำ เพราะแสดงว่าเจ้าหนี้มีความเสี่ยงน้อย ฝ่ายเจ้าของกิจการพอใจในอัตราที่สูง เพราะเป็นการลดความเสี่ยงในส่วนของเจ้าของ เนื่องจากเงินลงทุนในกิจการมาจากการกู้ยืม
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 0.43 หมายความว่า หากกิจการมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 1 บาท กิจการมีการใช้เงินทุนจากแหล่งภายนอกหรือหนี้สิน เท่ากับ 0.43 เท่า ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 0.00 แสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน และมีความเสี่ยงในการชำระหนี้ที่ลดลง
4.3 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น Debt to Equity Ratio = หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น
แสดงให้เห็นว่าเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการได้มาจากหนี้สินคิดเป็นอัตราส่วนเท่าใดเมื่อเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าตัวเลขสูงแสดงว่าโครงสร้างเงินทุนของกิจการมาจากหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น กิจการจึงมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการเพิ่มขึ้น
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 0.75 หมายความว่า หากกิจการใช้เงินทุนจากส่วนของเจ้าของ 1 เท่า จะใช้เงินจากการกู้ยืมภายนอก 0.75 เท่า ลดลงจากปีงบการเงิน 2561 เท่ากับ 0.01 แสดงว่ากิจการกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการลดลงหรืออาจจะมีการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น
4.4 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อทุนดำเนินงาน
Debt to Capital Ratio = หนี้สิน / (หนี้สิน+ส่วนของผู้ถือหุ้น)
แสดงให้เห็นว่ามีการกู้เงินจากเจ้าหนี้เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ต่อทุนดำเนินงานทั้งหมดของกิจการ ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งแสดงว่ามีการกู้เงินจากเจ้าหนี้เพิ่มขึ้น
บทวิเคราะห์
ปีงบการเงิน 2562 เท่ากับ 0.43 หมายความว่า ในทุนดำเนินงาน 1 บาท จะเป็นการกู้ยืมจากเจ้าหนี้ 0.43 บาท ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากปีงบการเงิน 2561เท่ากับ 0.00 แสดงว่ากิจการกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการไม่เปลี่ยนแปลงหรืออาจจะมีการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น
ปัจจุบัน Q3/2563
Q3/2563 คาดการณ์ผิด พิษจากโควิท 19 มีผลกระทบต่อภาคการผลิตเครื่องมือแพทย์และวัสดุสิ้นเปลืองในสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ทำให้แต่ละประเทศต้องผลิตให้เพียงพอใช้ภายในประเทศก่อนจะที่ส่งออกมาประเทศไทย
ส่งผลให้ เงินสดเหลือเพิ่มมากขึ้นยอดขายลด กำไรลด
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย