24 ม.ค. 2021 เวลา 16:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
10 สาเหตุที่อาจจะทำให้คุณหิวบ่อย
ทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน
มีใครรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่หิวบ่อย ต้องหาอะไรใส่ปากตลอดเวลาไหมครับ
ถ้าคุณมีปัญหานี้อยู่ ผมอยากจะลองชวนให้เช็คดูว่า มีข้อไหนใน 10 ข้อนี้ ที่ตรงกับคุณบ้างหรือเปล่า
เพราะเมื่อเรารู้ว่าปัญหาที่ทำให้เราอยากกินบ่อยๆ คืออะไร เราก็สามารถแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากขึ้น แล้วความอยากกินบ่อยๆ ก็จะดีขึ้นได้เอง
มาดูกันเลยครับว่า 10 ข้อนี้มีอะไรกันบ้าง
1 กินโปรตีนไม่พอ
คนที่เพิ่งจะหันมากินมังสวิรัติ หรือพยายามกินอาหารจากพืชเยอะๆ อาจจะเคยมีประสบการณ์ว่า มันจะรู้สึกโหยๆ คือกินจนแน่นท้องแล้ว แต่อีกแป๊บเดียวมันยังอยากหาอะไรใส่ปากอยู่ ความรู้สึกนี้อาจจะเกิดขึ้นได้จากการกินโปรตีนน้อยเกินไป
โปรตีนมีคุณสมบัติที่ทำให้ "ความรู้สึกอยากกิน" ลดลงได้ ดังนั้นถ้าใครที่รู้สึกว่า อยากหาอะไรกินตอนดึกๆ ลองสังเกตดูนะครับว่า ระหว่างวันเราได้กินโปรตีนมากพอไหม
2
โปรตีนนี้จะเป็นโปรตีนจากพืชหรือสัตว์ก็ได้ แต่ถ้าพึ่งโปรตีนจากพืชอย่างเดียว ก็ต้องระวังการขาดกรดอะมิโนจำเป็น ด้วยการกินอาหารโปรตีนจากพืช ถั่ว เห็ดให้หลากหลายมากขึ้น
2 นอนไม่พอ
ข้อนี้เป็นสาเหตุสำคัญสำหรับคนยุค มือถือ ipad และ netflix
การนอนสำคัญต่อสมองและร่างกายแค่ไหนน่าจะเคยได้ยินกันจนบ่อยแล้วใช่ไหมครับ แต่ที่ต้องไม่ลืมอีกอย่างคือ การนอนให้เพียงพอ ยังสำคัญต่อการหลั่งของฮอร์โมนที่ควบคุมการหิวอย่าง ฮอร์โมนเกอร์ลิน (gherlin) ด้วย


ดังนั้นถ้าคืนไหนนอนดึกแล้วเริ่มๆหิวขึ้นมา ก็ให้รีบไปนอนซะก่อนที่จะทนไม่ไหวแล้วไปต้มมาม่ากิน
3 กินพวกแป้งขัดขาวมากไป
การกินอาหารหรือขนมที่ทำจากแป้งขัดขาวมากๆ เช่น อาหารพวกเส้นเยอะๆ ข้าวเยอะๆ เค้ก โดนัท
อาหารเหล่านี้จะไม่มีกากใยทำให้เมื่ออาหารเหล่านี้ถูกย่อยจนกลายเป็นน้ำตาลแล้ว จะถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้ง่ายและเร็ว ทำให้ปริมาณอินซูลินที่ร่างกายหลั่งออกมามีปริมาณมากและหลั่งออกมาเร็ว ผลคือน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์เร็ว
2
ผลโดยรวมของการกินแป้งขัดขาวเยอะๆ คือ น้ำตาลในเลือดจะขึ้นเร็วและตกลงเร็ว ซึ่งลักษณะแบบนี้จะทำให้เรารู้สึกหิวบ่อยขึ้นได้
1
4 ไขมันในอาหารที่น้อยไปก็ทำให้หิวบ่อยได้
1
เพราะไขมันจะย่อยยากกว่าทำให้อาหารเคลื่อนตัวในทางเดินอาหารช้าลง อาหารอยู่ในกระเพาะและลำไส้นานขึ้น
บวกกับอาหารไขมันทำให้สารเคมีและฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มต่างๆ หลั่งออกมามาก ทำให้เรารู้สึกอิ่มนานขึ้น ด้วยเหตุนี้ คนที่กินไขมันต่ำมากๆ จึงมักจะรู้สึกโหยๆ แล้วอยากกินบ่อย ๆ
2
5 ขาดน้ำ
เหตุผลคือ ในบางคนที่ร่างกายขาดน้ำน้อยๆ คือไม่มากจนถึงกับรู้สึกว่ากระหายน้ำ บางครั้งอาจจะแยกยากว่า ตอนนี้หิวน้ำ หรือหิวข้าว มันจะแค่รู้สึกว่าอยากกินอะไรบางอย่าง บอกไม่ค่อยถูก บางครั้งถ้ารู้สึกอยากกินอะไรนิดหน่อย อาจจะทดลองดื่มน้ำเข้าไปก่อนสักแก้วนึง ไม่แน่นะครับ คุณอาจจะพบว่า ความรู้สึกอยากกินมันหายไปเองก็ได้
3
6 กินแบบขาดสติ
1
ปกติเวลาเรากิน สมองเราจะรู้สึกอิ่มจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ผนังกระเพาะขยายขึ้นขจ ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่ม รวมไปถึง การรับรู้ระหว่างกินว่าเรากินไปมากเท่าไหร่แล้ว
แต่ถ้าระหว่างที่เรากิน เราทำอย่างอื่นที่ดึงความสนใจจากการกินไปด้วย เช่น ดูมือถือ เล่ยะจะพลาดในการอ่านสัญญานความอิ่มที่จะส่งมาจากส่วนอื่นๆของร่างกาย
1
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรามีสติระหว่างกินมากขึ้น คือ รับรู้ว่าอาหารเข้าปาก โฟกัสที่กลิ่นอาหาร ที่รสชาติ รู้ตัวขณะเคี้ยวขณะกลืน สมองจะรับรู้ได้ง่ายขึ้นว่า ร่างกายเราพร้อมจะอิ่มหรือยัง
1
7 กินเร็วไป ข้อนี้จะว่าไปก็เหมือนเป็นส่วนขยายจากข้อที่ 6
กรณีนี้นึกถึง คนบ้างาน หรือคนที่งานเยอะมากๆ จนต้องรีบๆ กิน หรือกินให้เสร็จเพื่อจะรีบไปทำงานต่อ
พบว่าในคนที่กินเร็ว รีบกิน เกินไป มีแนวโน้มจะกินเยอะกว่า รู้สึกอิ่มน้อยกว่า พอใจน้อยกว่า
ผลสุดท้ายคือ กินเยอะ กินบ่อยขึ้น ทำให้ความเสี่ยงที่จะอ้วนมากขึ้น
2
8 ดื่มอาหารแทนการกิน
ในโลกที่เร่งรีบ หลายคนหาวิธีกินให้เร็วขึ้นด้วยการ เปลี่ยนอาหารที่ต้องเคี้ยว มาเป็นอาหารที่ดื่มได้ มากขึ้น เช่น สมูทตี้ shake รูปแบบต่างๆ รวมไปถึงอาหารพวก bar (แบบที่บดอาหารจนละเอียดมาแล้ว)
การกินอาหารรูปแบบนี้เป็นบางครั้งก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่การกินแบบนี้เป็นประจำนานหลายๆ เดือน กินเป็นปี มันจะไปเหมือนข้อ 7 คือ อาหารยังไหลผ่านส่วนต่างๆของทางเดินอาหารเร็วกว่าอาหารแข็ง
5
อาหารเหลวมีผลต่อความอิ่มน้อยกว่า อยู่ท้องสั้นๆกว่า มีผลต่อฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มน้อยกว่า
1
ผลโดยรวมคือ มีแนวโน้มจะได้รับแคลอรี่มากกว่า และหิวบ่อยกว่า
9 ความเครียด
ข้อนี้ตรงไปตรงมาครับ เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ฮอร์โมนเครียด จะทำให้หิวบ่อย อยากกินจุบจิบ อยากกินของหวานๆมันๆ
10 ความเจ็บป่วยอื่นๆ
นอกเหนือจากนี้ ก็มักจะภาวะที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยอื่น เช่น การหิวบ่อยเป็นอาการเริ่มแรกของโรคเบาหวานได้ หรือ หิวบ่อยเพราะโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่โรคทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า กังวล ก็อาจจะทำให้หิวบ่อยขึ้นได้ ยาบางอย่างก็มีผลข้างเคียงที่ทำให้หิวบ่อยขึ้นได้ ฯลฯ
ถ้าอาการหิวบ่อย ไม่ได้เกิดจาก 9 ข้อข้างบน แล้วอาการหิวบ่อยเป็นมากจนทำให้คุมน้ำหนักตัวได้ยาก จะลองไปคุยกับหมอดูก็ดีนะครับ เพราะอาจจะมีปัญหาความเจ็บป่วยอื่นซ่อนอยู่
คร่าวๆก็ประมาณนี้ครับ ใครมีประสบการณ์ส่วนตัวอื่นๆที่ต่างไป หรืออยากแชร์เหตุผลอื่นให้คนอื่นได้ทราบ ก็คอมเมนต์แนะนำกันได้นะครับ
ขอบคุณ Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน ที่ให้การสนับสนุนบทความนี้นะครับ
✅Ocylens คอนแทคเลนส์รายวันใส่สบายเพราะทำจากวัสดุพรีเมี่ยม Etafilcon A
🔥 พิเศษสำหรับแฟนเพจเรื่องเล่าจากร่างกาย ซื้อ 1 แถม 1
เพียงใส่โค้ด OCY11 ในช่องหมายเหตุหน้าชำระเงิน 🔥
(1 สิทธิ์/ท่าน โค้ดมีจำนวนจำกัดนะครับ)สนใจคลิกที่ลิงก์)
โฆษณา