25 ม.ค. 2021 เวลา 05:25 • การศึกษา
การตั้งราคาสินค้าน่าจะมองเป็นเรื่องง่ายๆนะครับ ไม่น่าจะมีอะไรมาก ผมเองก็เข้าใจแบบนั้น แต่มีหลายครั้งในการทำงานมาสุ่มเช็คน้องๆคิดราคา ปรากฏว่าน้องบางคนคิดไม่ถูก และการคิดผิดแบบนี้หากขายสินค้าเป็นจำนวนมากๆ หรือระยะเวลานานๆ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้เลย
ผมชวนคิดด้วยตัวอย่างสมมติแบบนี้ครับ ถ้าเรามีสินค้าตัวนึงต้นทุนสินค้า 100 บาท และอยากขายสินค้าโดยมีกำไรขั้นต้น 20% เราควรขายสินค้าตัวนี้ราคาเท่าไหร่ครับ??
หลายคนก็บอกว่าไม่เห็นยากเลย โจทย์มาตัวเลขกลมเห็นชัดๆแบบนี้ ก็ 120 บาทไง ง่ายจะตาย จริงไหมครับ ผมชวนมาดูตัวอย่างที่จะเปรียบเทียบให้เห็นว่าจริงๆแล้วมันเป็นแบบที่เราคิดกันหรือไม่
หากเราขายสินค้าที่ราคา 120 บาท เรามีกำไรจากการขาย 20 บาท ก็คิดเป็น 20% ก็น่าจะถูกเนอะ
คราวนี้เกิดลูกค้าขอส่วนลด 20% ล่ะ คิดยังไงดี ก็เอา 120 บาท – 20% เนอะ คิดออกมาแล้วได้ 96 บาท อ้าว!!!คราวนี้ขยี้ตา แล้วกดเครื่องคิดเลขซ้ำอีกทีเนอะ ตายล่ะหว่า!!! ทำไมมันได้ 96 บาทอ่ะ ความหายนะเริ่มมาเยือน จากกำไร 20 บาท กลายเป็นขาดทุน 4 บาทแทน คิดตามผมทันไหม!!
นี่คือความหมายที่ผมกำลังจะบอกว่าการคิดแบบนี้มันคือคิดจากฐานขึ้นไป ซึ่งในทางการค้าเราไม่คิดแบบนี้ เพราะเหตุผลตามตัวอย่างข้างต้นไง ดังนั้นทุกคนต้องคิดราคาแบบ mark up ให้เป็น ซึ่งไม่ยากแต่ขอให้ทำความเข้าใจสูตรตามนี้ครับ
.
ราคาขาย = ต้นทุนสินค้า /100 - %กำไรที่ต้องการ
.
คราวนี้ลองแทนค่าตามสูตรเข้าไป ราคาขายปลีกเราจะขยับขึ้นเป็น 125 บาททันที แต่เมื่อลูกค้าขอส่วนลด 20% เราก็ไม่ได้ขาดทุนจริงไหมครับ วิธีการแบบนี้เค้าเรียกว่าการ mark up จากราคาขาย ส่วนตัวอย่างแรกก็เป็นการ mark up เหมือนกัน แต่เป็นการ mark up จากราคาทุนครับ
หวังว่าในการคิดราคาครั้งต่อไป คงนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องนะครับ
ลุงทะเล้น
#Uncletalent #ลุงทะเล้น #BasicSellingSkills #Sales101 #KeyAccountManagement
โฆษณา