สำหรับคำว่าดอกเตอร์ที่ใช้เรียกแพทย์นั้น มาจากคำว่า Doctor of Medicine หรือแพทยศาสตรบัณฑิต (ตัวย่อ MD)
ในขณะที่คำว่าดอกเตอร์ที่ใช้เรียกคนจบปริญญาเอก มาจากคำว่า Doctor of Philosophy หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ตัวย่อ Phd)
ซึ่ง Doctor of Philosophy ที่ใช้สำหรับคนที่จบปริญญาเอกนั้น ไม่ได้หมายความว่า คน ๆ นั้น จบปริญญาเอกจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาปรัชญาเท่านั้น เพราะ Philosophy ในที่นี้ มีความหมายครอบคลุมถึงศาสตร์ความรู้ในทุก ๆ แขนง
ที่นี้ทุกคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมในประเทศไทย แพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นวุฒิของปริญญาตรี (Bachelor) ทำไมถึงใช้คำว่า Doctor เหมือนกับคนที่จบปริญญาเอกได้ล่ะ
1
คำตอบก็คือในต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่จบการศึกษาทางการแพทย์ จะได้รับวุฒิ Doctor of Medicine ซึ่งเป็นวุฒิของระดับปริญญาเอก
1
ซึ่งมาจากการที่ผู้ที่จะเข้าศึกษาเป็นแพทย์ในสหรัฐอเมริกานั้น จะต้องเรียนจบในระดับปริญญาตรีมาก่อน หลังจากนั้นก็จะไปเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนการแพทย์อีกราว 4 ปี ก่อนที่จบมาเป็นแพทย์ พร้อมกับวุฒิ Doctor of Medicine
ปรากฏว่าชื่อวุฒิแพทยศาสตรบัณฑิตในไทย กลับใช้คำว่า Doctor of Medicine แทนที่จะใช้คำว่า Bachelor of Medicine ที่มีความหมายคล้องจองมากกว่า (แต่ในบางมหาวิทยาลัยของไทย ก็มีการใช้คำว่า Bachelor of Medicine แทนคำว่า Doctor of Medicine เช่นกัน)