Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Observing Mind
•
ติดตาม
26 ม.ค. 2021 เวลา 03:31 • หนังสือ
สรุปหนังสือ: เหนือกว่าวอลสตรีท (One up on Wall Street)
1. Peter Lynch เชื่อว่ามือสมัครเล่นนั้นประสบความสำเร็จในการลงทุนในหุ้นได้ จากการใช้ข้อได้เปรียบหลายๆข้อ ที่มือสมัครเล่นมีเหนือกว่าเหล่านักลงทุนมืออาชีพ
2. แต่ก็ต้องเลือกหุ้นเอง คิดเองทำเอง วิเคราะห์เอง เลิกฟังข่าวลือ เลิกส่องหาหุ้นเด็ดตามคำแนะนำของโบรกเกอร์ เลิกเล่นเก็งกำไร จงสนใจพื้นฐานให้มาก
3. เริ่มหาหุ้นเพื่อการลงทุน โดยการมองหาสิ่งรอบๆตัวเรา ว่ามีสินค้าหรือการบริการอะไรใหม่ๆที่มันดูน่าสนใจ มีคนชอบ มีศักยภาพในการเติบโต ขยายกิจการ เมื่อได้หุ้นที่น่าสนใจมาแล้วก็นำมาวิเคราะห์พื้นฐาน วิเคราะห์ความถูก/แพง
4. หุ้นที่เขาชอบนั้นมักเป็นหุ้นที่ยังไม่ดัง ดูน่าเบื่อ ไม่มีเหล่ามืออาชีพมาให้ความสนใจ ส่วนหุ้นที่เขามักจะหลีกเลี่ยงคือหุ้นร้อน หุ้นที่มีแต่คนพูดถึง
5. เมื่อเจอหุ้นที่ชอบแล้ว ให้ถามคำถามต่อไปนี้
5.1. ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ทำกำไรให้บริษัทมากแค่ไหน?
ถ้าคุณประทับใจผลิตภัณฑ์ใดสักอย่างและรู้สึกอยากลงทุนในหุ้นของบริษัทนั้น สิ่งแรกที่ต้องหาก็คือ ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์นั้นมีผลกระทบต่อกำไรบริษัทแค่ไหน มันอาจจะเป็นสินค้าขายดีก็จริง แต่ถ้ามันเป็นของบริษัทกิจการขนาดใหญ่ ก็อาจไม่มีผลอะไรมาก
5.2 บริษัทใหญ่หรือเล็ก? (Big Company, Small Moves)
ขนาดของบริษัทนั้นจะสำคัญในแง่เรื่องของความคาดหวังของคุณเอง มันไม่ผิดอะไรที่คุณจะลงทุนในบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ต้องระลึกไว้ว่าราคาหุ้นมันจะไม่ได้หวือหวา มันมักจะวิ่งช้ากว่าหุ้นบริษัทขนาดเล็ก
5.3 หุ้นหกประเภท (The Six Categories)
เมื่อรู้ขนาดของบริษัทนั้นๆ เทียบกับในกลุ่มธุรกิจเดียวกันแล้ว Peter Lynch จะจัดกลุ่มหุ้นไว้ ว่ามันเป็นประเภทไหน ใน 6 ประเภท
1 หุ้นโตช้า (Slow Grower)
คำว่าโตช้าในที่นี้ คือโตล้อกันไปตาม GNP – กลุ่มนี้มักเป็นบริษัทขนาดใหญ่และเก่าแก่ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยเป็นหุ้นโตเร็วมาก่อน แล้วก็หมดแรง อาจเพราะมันใหญ่มากหรือเหนื่อยเกินจะไปต่อ เช่น หุ้นโรงไฟฟ้า รถยนต์ เหล็กกล้า เคมี
ลักษณะสำคัญอีกอย่างคือ หุ้นโตช้าจะจ่ายปันผลดีและสม่ำเสมอ ซึ่ง Peter Lynch บอกว่าไม่ใช่ style ของเขาเท่าไหร่ เพราะการเติบโตของกำไรหุ้นนั้นสร้างความมั่งคั่งให้บริษัทได้รวดเร็ว ไม่มีอะไรที่จะมาเสียเวลากับหุ้นโตช้าๆ
2 หุ้นแข็งแกร่ง(The Stalwarts)
ตัวอย่างเช่น หุ้น Coca-Cola, P&G, Colgate , Bristol meyer, kellogg แม้พวกนี้จะเป็นบริษัทใหญ่ แต่ก็ยังโตเร็ว ราคาหุ้นแม้จะไม่พุ่งทะยาน แต่ก็ไม่ราบเรียบน่าเบื่อ
EPS ในกลุ่มนี้มักเติบโตปีละ 10-12% ดังนั้นราคาหุ้นในกลุ่มนี้ก็จะไม่หวือหวา และแน่นอนการจะมาหวัง สิบเด้ง ในกลุ่มนี้ก็คงไม่ใช่
ดังนั้นหากราคาหุ้นในกลุ่มนี้ปรับตัวขึ้น 50% ในเวลาเพียง 1-2 ปี คุณอาจต้องคิดว่าถึงเวลาขายมันหรือยัง
หุ้นในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ Peter lynch ซื้อเพื่อหวังผลตอบแทน 30-50% เมื่อขายแล้วจะเริ่มกระบวนการกับหุ้นตัวใหม่ที่คล้ายๆกัน แต่ราคายังไม่ขึ้น
หุ้นแข็งแกร่ง หากมีติดพอร์ตไว้ จะช่วยเป็นตัวป้องกันในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอยและยากลำบาก – ในช่วงวิกฤติ หุ้นกลุ่มนี้จะเป็นเพื่อนที่ดี เพราะคุณรู้ว่ามันจะไม่ล้มละลาย และมูลค่าของมันก็จะกลับมา เมื่อบรรยากาศดีขึ้น
3 หุ้นโตเร็ว(The Fast Growers)
1
เป็นกลุ่มที่ Peter Lynch ชอบที่สุด กลุ่มนี้มักเป็นบริษัทขนาดเล็กที่โตปีละ 20-25% และเป็นกลุ่มที่จะทำให้เกิดหุ้น 10-40 เด้ง ถ้าพอร์ทคุณเล็ก หาหุ้นแบบนี้ได้ 1-2 ตัวก็เพียงพอแล้ว
บริษัทที่โตเร็ว ไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่โตเร็ว มันอาจเป็นหุ้นในอุตสาหกรรมโตช้าที่หาช่องว่างให้มันโตเร็วได้
1
แน่นอน กลุ่มนี้ก็มีครวามเสี่ยงมาก เพราะบริษัทพึ่งก่อตั้งมักจะไฟแรงและมีทุนไม่พอ มีความเสี่ยงทั้งล้มละลาย และความเสี่ยงที่ว่าถ้ามันโตช้ากว่าที่ตลาดคาด ราคาก็จะถูกทุบอย่างรวดเร็ว
4 หุ้นวัฏจักร(The Cyclicals)
คือบริษัทที่มียอดขายและกำไรขึ้นลงเป็นประจำวนไปวนมา เช่น หุ้นบริษัทรถยนต์ สายการบิน ยางรถ เหล็ก เคมี ผลิตอาวุธ
ในยามที่เศรษฐกิจพ้นจากภาวะถดถอยและเข้าสู่ภาวะรุ่งเรือง หุ้นกลุ่มนี้จะเติบโตและวิ่งขึ้นเร็วกว่ากลุ่มหุ้นแข็งแกร่ง เช่น พอเศรษฐกิจดี คนก็ซื้อรถใหม่กันมากขึ้น นั่งเครื่องบินมากขึ้น ความต้องการเหล็ก สินค้าเคมี ก็จะมากขึ้น
จุดที่นักลงทุนมักเสียเงินได้ง่าย ก็คือเข้าซื้อมันตอนที่หุ้นกลุ่มนี้กำลังไปได้สวย เพราะหุ้นกลุ่มวัฏจักรมักเป็นพวกหุ้นใหญ่ๆ แบรนดังๆ บางครั้งคุณอาจเข้าใจผิดว่ามันเป็นหุ้นแข็งแกร่ง
ดังนั้น จังหวะการลงทุนจึงสำคัญมากในหุ้นกลุ่มนี้ คุณต้องหาสัญญาณตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าธุรกิจในกลุ่มนี้ฟื้นตัวนี้ อยู่ในตำแหน่งไหน กำลังจะขาขึ้นสู่ Peak หรือเลยจุดสูงสุดไปแล้วและกำลังจะทิ้งดิ่ง !
5 หุ้นฟื้นตัว(Turnarounds)
เป็นหุ้นในกลุ่มบริษัทที่ถูกทุบเละเทะ บ่อยครั้งปลายทางมันจะเอาตัวไม่รอดจากการล้มละลาย นี่คือกลุ่มหุ้นที่ไม่โต และมีโอกาสตายจริงๆ ไม่เหมือนหุ้นวัฏจักรที่เดี๋ยวเศรษฐกิจดี มันก็กลับมา (แต่หุ้นวัฏจักรที่บริหารไม่ดี ก็อาจจะกลายมาเป็นหุ้นกลุ่มนี้ได้)
สิ่งที่ดีในหุ้นกลุ่มนี้คือ ถ้ามันฟื้นตัวได้จริงๆ หุ้นประเภทนี้ จะมีความสัมพันธ์กับสภาวะตลาดน้อยที่สุด เทียบจากทั้ง 6 ประเภท และหลายๆครั้งหุ้นกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนที่สูงมาก แต่ก็เสี่ยงมากเช่นกัน
6 หุ้นทรัพย์สินมาก( The Asset Plays)
หุ้นที่บริษัทนั่งทับอะไรซักอย่างที่มีค่า แต่เหล่ามืออาชีพมักมองข้ามไป เป็นหุ้นกลุ่มที่คนในพื้นที่สามารถนำข้อได้เปรียบของมือสมัครเล่นมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เช่นหุ้นรถไฟที่มีทรัพสินเป็นที่ดินจำนวนมาก หุ้นบริษัทที่มีสิทธิบัตรมากๆ
Note:
1
ต้องระลึกไว้เสมอว่าบริษัทนั้นจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดิมตลอดไป เช่น หุ้นโตเร็วกลายเป็นหุ้นโตช้า หรือ กลายเป็นหุ้นวัฏจักร หุ้นวัฏจักรที่เกือบล้มละลาย กลายเป็นหุ้นฟื้นตัว หุ้นโตเร็วอาจกลายเป็นหุ้นasset play เช่น Mcdonald ที่มีอสังหาหลายๆแห่งทั่วโลก
อย่าหาสูตรสำเร็จในการซื้อขายหุ้น (ในเล่มเขียนว่า เป็นสิ่งที่โง่เขลาที่สุด) เช่น ใช้สูตรขายเมื่อได้กำไร 1 เด้ง ,ขายหลังจากถือครบ 2 ปี , cut loss เสมอที่ 10% เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีใช้สูตรสำเร็จในหุ้นทุกๆตัว ทุกประเภท เช่น ซื้อหุ้นแล้วถือยาวหลายสิบปีเป็นเรื่องที่ดีในหุ้นแข็งแกร่ง เช่นพวกบริษัทยาใหญ่ๆ (ในกรณีที่ได้ราคาดีๆ) แต่คงบ้าบอถ้าคุณจะคิดจะถือหุ้นวัฏจักรไปตลอดรอดทุกวงจรธุรกิจ หรือ เป้าว่าจะขายหุ้น Walmart เมื่อกำไร 50% ในขณะนี้ที่หุ้นสมัยนั้นมีศักภาพโตได้อีกหลายเด้ง
6. ก่อนจะซื้อต้องตอบตัวเองก่อนว่าจะซื้อเพราะอะไร อธิบายเหตุผลได้ด้วยตัวเองหรือไม่
เมื่อรู้ว่าหุ้นที่คุณสนใจอยู่นั้น อยู่ในกลุ่มไหน ค่า PE เป็นอย่างไรเทียบกับศักยภาพและอนาคตของกิจการ ก้าวต่อไปคือเรียนรู้ว่าบริษัทจะทำอะไรให้ความมั่งคั่งมากขึ้น โตขึ้น ดีขึ้น ซึ่งนั่นคือ การเรียนรู้ Story ของบริษัท
ก่อนจะซื้อหุ้น ให้ลองสร้างบทพูด 2 นาทีที่ครอบคลุมเหตุผลว่าคุณสนใจหุ้นตัวนี้ทำไม อะไรทำให้บริษัทนี้จะประสบครวามสำเร็จ มีอุปสรรคอะไรบ้าง ถ้าคุณสามารถเล่าเรื่องหุ้นตัวหนึ่งให้คนทั่วๆไปเข้าใจได้ แสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว
7. เมื่อซื้อแล้วก็จงเชื่อในเหตุผลตนซื้อแต่แรก อย่าสนใจราคาหุ้นมากเกินไป อย่าสนใจกับทิศทางตลาด เพราะไม่มีใครรู้มันได้
อะไรคือสิ่งที่บอกว่า หุ้นที่คุณมีอยู่ จะขึ้นต่อได้ หรือ หุ้นที่คุณอยากจะซื้อ ควรจะซื้อในราคาเท่าไหร่
สิ่งที่เรากำลังตั้งคำถามอยู่นี้ ก็คือถามถึงคุณค่าของบริษัท
ปัจจัยใดทำให้มูลค่าของมันพรุ่งนี้ มากขึ้นกว่าวันนี้ แน่นอนว่ามีหลายทฤษฎี แต่สำหรับ Peter Lynch – สิ่งนั้นคือกำไรและทรัพย์สิน ซึ่งบางครั้งกว่าราคาจะตามมูลค่าทัน ก็ใช้เวลาเป็นหลายๆปี
การวิเคราะห์หุ้นหนึ่งหุ้น ก็คือการที่เรากำลังจะไปเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของธุรกิจ และเราสามารถวิเคราะห์มันได้โดยใช้พื้นฐานของกำไรและทรัพย์สิน
กำไรกับราคาหุ้นนั้น จะวิ่งเข้าหากันเสมอ แม้มันอาจจะมีช่วงที่วิ่งห่างกันบ้าง
8. คอยตรวจสอบแนวโน้มกิจการเป็นช่วงๆ
ทุกๆไตรมาสเป็นเวลาที่ดีที่จะมาตรวจสอบเรื่องราวของบริษัทว่ากำไรเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ สินค้ายังน่าสนใจหรือไม่ และบริษัทย้ายช่วงชีวิตแล้วหรือยัง (โดยเฉพาะพวกหุ้นโตเร็ว)
สำหรับหุ้นโตเร็ว มันจะมีช่วงเวลาชีวิต 3 ครั้ง คือ ช่วงเริ่มต้น ที่ผู้ก่อตั้งบริษัทที่มักจะง่วนไปกับการแก้ข้อบกพร่องพื้นฐาน ช่วงขยายตัวรวดเร็วเมื่อบริษัทกำลังขยายตัวสู่ตลาดใหม่ๆ และช่วงโตเต็มที่หรือช่วงอิ่มตัวที่ต้องเริ่มหาหนทางใหม่ๆในการเพิ่มกำไร
หากหุ้นโตเร็วไปถึงจุดอิ่มตัว โดยไม่สามารถหาstory ใหม่ๆให้นักลงทุนได้ PE สูงๆของมัน จะถูกปรับลง ถ้าโชคดี ก็จะเป็นระดับหุ้นแข็งแกร่ง
1
9. ขายหุ้น
สิ่งที่เราต้องทำก่อนจะขายหุ้น คือทบทวนว่าทำไมเราซื้อหุ้นตัวนั้นมาตั้งแต่แรก
1
เช่น ขายเมื่อมันมีพื้นฐานเปลี่ยนไป หรือเมื่อมันไม่ได้เป็นหุ้นแบบที่เราตัดสินใจซื้อ เช่น เดิมเป็นหุ้นกลุ่มรอฟื้นตัว แต่ตอนนี้ฟื้นเต็มที่แล้ว
3
10. จะประสบความสำเร็จได้ คุณไม่ต้องเลือกหุ้นได้ถูกตลอดเวลา แค่ชนะบ่อย หรือชนะมากๆไม่กี่ครั้ง ก็ถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว
11. สิ่งที่โง่เขลาที่สุด และอันตรายที่สุด ที่คนพูดเกี่ยวกับราคาหุ้น
หุ้นตกมาเยอะแล้ว มันจะลงต่ำกว่านี้ไม่ได้แล้ว
ไม่มีกฏที่บอกคุณได้ว่าเมื่อราคาหุ้นตกลงมาเยอะแล้ว มันจะไม่ลงไปอีก
คุณบอกได้เสมอว่าราคาหุ้น Bottom แล้ว
การช้อนหุ้นที่ตกลงมาอย่างรวดเร็วนั้น มักลงเอยเป็นการรับมีด
จะดีกว่าถ้าคุณรอให้มีดลงถึงพื้น ดูมันสั่นไปมาสักพัก แล้วค่อยไปรับมัน
ถ้ามันขึ้นสูงแล้ว มันจะสูงไปอีกได้ยังไง
ถ้าคุณมัวแต่คิดว่า หุ้นตัวนี้จะขึ้นต่อไปได้ยังไง มันขึ้นมาเยอะมากๆแล้ว คุณอาจจะพลาดหุ้นที่แม้มันจะขึ้นมาแล้ว 20 เท่า แต่พื้นฐานยังถูก และทำกำไรได้ต่อไปอีกถึง 7 เท่า ตราบใดที่พื้นฐานยังดี เรื่องราวยังดี กำไรยังขึ้น ไม่มีเหตุผลอะไรที่หุ้นมันจะไม่สามารถ ขึ้นสูงกว่านั้นอีก อย่าใช้เหตุแค่ว่า หุ้นขึ้นมา 2-3 เท่า ก็ถึงเวลาขาย เพราะจะทำให้คุณไม่มีวันได้หุ้น 10 เด้งจากเหตุผลเหล่านี้
1
มันจะกลับมา
มีบริษัทระดับโลกมามายที่ไปแล้วไปลับ
มันจะต้องมีจุดที่มืดดำสุด ก่อนจะสว่าง
ธุรกิจที่เคยคึกคักทำกำไรได้มหาศาล ก็อาจตกต่ำ และไม่กลับมาอีกเลย
เมื่อมันเด้งขึ้นที่ 10 เหรียญ ผมจะขาย
หากมีหุ้นที่คุณติดดอยอยู่ และคุณคิดว่าถ้ามัน Rebound ราคานี้เมื่อไหร่ จะขาย แสดงว่าคุณได้แสดงการจำทนถือหุ้นที่คุณไม่ชอบแล้ว
ความคิดนี้จึงเป็นกับดัก ให้คิดไปเลยว่า มั่นใจ และจะซื้อหุ้นเพิ่ม หรือไม่งั้นก็ขายมันทิ้งทันที
หุ้นปลอดภัยจะไม่ผันผวน
คุณไม่มีทางหาหุ้นที่จะถือไปได้ตลอดโดยไม่ต้องสนใจเรื่องราวของมัน เพราะอนาคตนั้นไม่แน่นอน และพื้นฐานเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หุ้นที่มองว่าเป็นธุรกิจปลอดภัย เช่น สาธารณูปโภค ก็เหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงและล้มละลายได้เช่นกัน
ถ้าตอนนั้นได้ซื้อหุ้นเด็ดตัวนี้ ก็จะมีเงินมากมายแล้ว
หลายๆคนมักชอบเช็คว่าหุ้นที่มีกำไรสูงสุดประจำปีคือตัวไหน และทนทุกทรมานกับงาน “รู้งี้” กับการ ตกรถ คิดเอากำไรของคนอื่น มาเป็นการขาดทุนส่วนตัว
ทัศนคตินี้ยังทำให้เราเผลอกลัวตกรถหุ้นร้อนแรง และติดดอย เสียหายจริงๆ
พลาดตัวนี้ไป จะไปจับตัวต่อไป และหุ้น ... ตัวต่อไป (The Next ***)
หุ้นขึ้น ดังนั้นฉันคิดถูก หุ้นลง ดังนั้นฉันคิดผิด
นี่คือ Fallacy ที่สำคัญที่สุดในการลงทุน คนทั่วๆไปมักอิ่มอกอิ่มใจเมื่อซื้อหุ้น 5 เหรียญแล้วมันปรับขึ้นเป็น 6 เหรียญในเวลาอันสั้น และคิดว่าราคาที่ขึ้นนั้นแสดงว่าเขามาถูกทางแล้ว และมักขายหุ้นที่ตกต่ำลง “เก็บตัวชนะ และทิ้งตัวที่แพ้” ซึ่งหลายๆครั้ง เวลาผ่านไปนานๆเข้า มันจะตรงกันข้ามกัน
ที่เป็นเช่นนี้เพราะหลายๆคนสับสน “ราคา กับ อนาคต ของกิจการ”
หุ้นที่ขึ้นหรือลงหลังจากคุณซื้อมัน บอกได้แค่ว่า มีคนบางคนเต็มใจจะจายมากกว่าหรือน้อยกว่า ราคาสำหรับสินค้าตัวเดียวกัน
The End
อ่านเพิ่มเติม
theobservingmind.co
สรุปหนังสือ: เหนือกว่าวอลสตรีท ตอนที่ 2 (One Up on Wall Street - Part 2)
สรุปหนังสือ เหนือกว่าวอลสตรีท (One up on wall street) ส่วนที่ 2
43 บันทึก
17
1
34
43
17
1
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย