26 ม.ค. 2021 เวลา 11:10 • หนังสือ
#รีวิวหนังสือ เทคนิคโน้มน้าวใจ ด้วยการฟังไม่ใช่การพูด
หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าการให้คนอื่นเชื่อถือต้องเริ่มจากการพูดเก่ง พูดเป็น พูดให้คนฟังรู้สึกคล้อยตามได้ อันที่จริงเราเข้าใจผิด เพราะการโน้มน้าวใจที่ดีที่สุดคือ “การฟัง” แม้อาจจะดูย้อนแย้ง แต่การฟังเพื่อให้คนเปลี่ยนใจ มีเทคนิคที่น่าสนใจที่เราควรเรียนรู้ไว้และจะรู้ว่าพลังของการฟังที่ดีมีประโยชน์มากกว่าที่คิด หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเทคนิคการโน้มน้าวใจที่ใช้การฟังไม่ใช่การพูด ถือเป็นสุดยอดหนังสือที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง
พูดไม่เก่ง ขี้อาย ตื่นเต้นง่าย ไม่ใช่ปัญหา แค่นำเคล็ดลับ "การฟังเชิงรุก" ไปใช้ แล้วคุณจะทำให้คนคล้อยตามได้ แม้ว่าจะยังไม่ทันพูดอะไรออกมาสักคำ
ผู้เขียน Yuka Tanimoto (ยุกะ ทะนิโมะโตะ 谷本 有香)
ผู้แปล วีรวรรณ จารุโรจน์จินดา
 
ราคา : 250 บาท
จำนวนหน้า : 296 หน้า
หมวด : จิตวิทยาพัฒนาตนเอง
เคยสงสัยไหม...ทำไมบางครั้งเวลาพยายามโน้มน้าวใจคน ยิ่งเราพูดมากเท่าไหร่ ผลลัพธ์กลับดูแย่ลงเท่านั้น? แล้วถ้าไม่พูดชักแม่น้ำทั้งห้า ยังมีวิธีอื่นที่ทำให้คนคล้อยตามได้อีกหรือ? หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ มาร่วมเรียนรู้เทคนิค "การฟังเชิงรุก" ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชาวญี่ปุ่น เพียงนำไปใช้ แล้วคุณจะโน้มน้าวใจคนได้อย่างง่ายดาย โดยที่ยังไม่ทันพูดอะไรสักคำ ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเป็นลูกค้า หัวหน้า คนรัก ลูก หรือใครก็ตาม!
 
บทที่ 1 เทคนิคการฟังเชิงรุก
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
- เตรียมตัว
- ลงสนามจริง
- ติดตามผล
คนที่พูดไม่เก่งจะกังวลกับ การพูด ของตัวเองมากเกินไป
สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ฟัง เรื่องที่อีกฝ่ายพูด
ไม่ว่าใครก็อยากให้คนอื่นสนใจฟังเรื่องที่ตัวเองพูด
การสนทนาแบบญี่ปุ่นต้องเริ่มจากการ ตั้งใจฟัง
ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า คิคุ มี 2 ความหมาย 1.การตั้งใจฟัง และ 2.การถาม
สิ่งสำคัญ คือ ต้องตั้งใจฟัง และถามให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เริ่มจาก ตั้งใจฟัง และตามด้วย ถาม
การฟังเชิงรุก ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนซึ่งช่วยให้คุณทำทุกอย่างผ่านฉลุย
ข้อดี 4 อย่างทึ่ได้เมื่อใช้ เทคนิคการฟังเชิงรุก
บทที่ 2 ทักษะการเตรียมตัว
เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ ทักษะการเตรียมตัว 14 ทักษะ
- ตั้งเป้าหมาย
- กำหนดเป้าหมายรอง
- คำนึงถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออีกฝ่าย
- วางแผนว่าต้องค้นหาข้อมูลอะไร
- บอกการนัดหมายให้ทุกฝ่ายรับรู้
- พุ่งเป้าไปยังคนใกล้ชิดของอีกฝ่าย
- ค้นหาแต่ข้อมูลที่จำเป็นต่อเป้าหมาย
- ค้นหาข้อมูลเชิงลึก
- หาจุดแข็งจากจุดร่วมและจุดต่าง
- ตั้ง คำถามที่มีคุณภาพ
- คาดเดาความคิดของอีกฝ่าย
- นำคลิกของตัวเองมาใช้ตั้งคำถาม
- นำคำถามมาสรุปเป็นบทสนทนา
- คิดคำถามตอนตี 5
บทที่ 3 การ "ตั้งใจฟัง" และ "ถาม"
15 ทักษะตั้งใจฟัง
- ต้อนรับด้วยบรรยากาศที่ทำให้พูดคุยได้อย่างสบายใจที่สุด
- เมื่อต้องไปพบอีกฝ่าย จงทำให้เขาเห็นว่าคุณให้เกียรติ
- จิตนาการภาพตัวเองกับอีกฝ่ายพูดคุยกกันสนุกสนาน
- เมื่อพบกันครั้งแรกให้ทักทายด้วยการแสดงความดีใจมากกว่าปกติ
- พูดเกริ่นนำให้อีกฝ่ายรู้สึกผ่อนคลาย หรือ ตื่นเต้นที่จะได้พูดคุยกัน
- จำชื่อให้ได้ภายใน 10 วินาที แล้วเรียกชื่อเขาบ่อยๆ
- มองหาจุดที่เหมือนกัน
- ควบคุมความรู้สึกไม่ชอบเอาไว้ให้ได้
- ถ้ากระตือรือร้น และแน่วแน่ ก็จะแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในตัวเอง
- เผชิญหน้าด้วย ความจริงใจ
- มีปฏิกิริยาตอบกลับตอนที่อีกฝ่ายพูดถึงประเด็นสำคัญ
- สบตาพอประมาณ
- แสดงความรู้สีกให้อีกฝ่ายรับรู้ แม้ว่าจะนั่งฟังอยู่ท่ามกลางคนจำนวนมาก
- ใช้ประโยคและท่าทาง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม
- พูดปิดการสนทนาได้อย่างน่าประทับใจ
- ให้หาจังหวะและปรับประโยค ให้หาจังหวะ และปรับประโยคคำถามให้เหมาะสม
15 ทักษะการถาม
- ใช้คำถามที่ดูไม่เป็นคำถาม
- ถ้ายังไม่คุ้นชินกับอีกฝ่ายให้ถามว่า และยังไงต่อ ซ้ำๆ
- วิธีถามกลับ เพื่อควบคุมทิศทางของการสนทนาอย่างเป็นธรรมชาติ
- วิธีเปลี่ยนเรื่องพูด เพื่อเปลี่ยนจังหวะของการสนทนาหรือเปลี่ยนหัวข้อ
- ตั้งคำถามและคอยสังเกตปฏิกิริยาที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยของอีกฝ่าย
- เวลาจะถามคำถามยากๆให้เรียบเรียงประโยคใหม่ หรือเตรียมตัวเลือกไว้ 2 อย่าง
- เวลาจะถามคำถามที่อีกฝ่ายไม่อยากตอบ ให้ถามจากมุมมองที่ต่างออกไป
- ถามเรื่องสมัยเด็กเมื่อการคุยเริ่มกร่อย
- ถ่ายทอดความคิดเห็น หรือความรู้สึกด้วยประโยคคำถาม
- ใช้คำถามที่แสดงถึงความสามารถของตัวเอง เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกว่า คนนี้เก่งใช้ได้
- ถามโดยสวมบทเป็นตำรวจดีกับตำรวจเลว
- ถามโดยสวมบทบาทที่ตัวเองถนัด
- ชวนคุยเรื่องสัมเพเหระ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันมากขึ้น
- แสดงความไม่เห็นด้วย หรือ ตั้งข้อสงสัยบ้างเป็นช่วงไหน
- เพิ่มประโยคประจำตัวให้มากขึ้น เพื่อใช้ในการถ่ายทอดความคิด ได้อย่างราบรื่น
บทที่ 4 สานสัมพันธ์ด้วยการ "ติดตามผล"
4 ทักษะการติดตามผล
ติดตามผล โดยติดต่อไปหาอีกฝ่ายอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากสนทนาจบแล้ว
- กล่าวลาสั้น ก่อนแยกจากกัน
- กำหนดการบ้านให้ตัวเอง เพื่อสร้างโอกาสที่จะได้ติดต่อกับอีกฝ่าย
- เขียน จดหมายขอบคุณ จากความรู้สึกด้วยภาษาของตัวเองแล้วส่งไปให้ทันที
- ทำสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เป็นประโยชน์ให้กับอีกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ
 
สร้างความสัมพันธ์กับคนรู้จัก ไว้ตามโอกาสต่างๆด้วย ระยะห่างที่พอดี
เมื่ออีกฝ่ายเชื่อใจคุณมากขึ้น เขาก็จะเริ่มเข้ามาขอคำปรึกษาจากคุณ
ก้าวไปสู่ชีวิตที่ดียิ่งกว่า
บทที่ 5 วิธีฝึกฝนเทคนิคการฟังเชิงรุก
9 วิธีฝึกฝน เพื่อให้มีเทคนิคการฟังเชิงรุกติดตัว
- นั่งฟังเงียบๆ จนกว่าอีกฝ่ายจะพูดจบ
- มองหาข้อดีของคนที่คุณไม่รู้จักมา 5 ข้อ
- คิดสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ 5 อย่างให้กับคนที่คุณอยากทำงานด้วย
- เขียนเป้าหมายและเรียงลำดับเรื่องที่จะพูดก่อนไปพบกับอีกฝ่าย
- หาวิธีสร้างความสนิทสนมกับคนที่คุณรู้สึกชอบ แล้วลองคิดคำถามดู
- มองในมุมมองที่ต่างคนรอบข้างแล้วยกเหตุผลขึ้นมา 3 ข้อ
- รวบรวมถ้อยคำที่ทำให้อีกฝ่ายจดจำคุณได้
- ระบุประธานและกริยา ให้ประโยคคำถามให้เจน
- ฝึกใช้ 3 ขั้นตอนของเทคนิคการฟังเชิงรุกกับคนใกล้ตัว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา